ยินดีต้อนรับครับ

ขอแนะนำให้ทุกท่าน สมัครสมาชิก เพื่อป้องกันการแอบอ้างชื่อครับ

Mark Mafia

อยากถามว่าเป็นขี้เรื้อนจะรักษายังไงดีครับ
  • พอดีผมเพิ่งเลี้ยงพิทบูลอ่ะครับและตอนได้มามันก็เป็นขี้เรื้อนแล้ว
    คือเอามันไปหาหมอฉีดยาและได้ยามาทามันก็ดีขึ้น
    แต่ผมอยากรู้ว่ามียาอะไรหรืออาหารอะไรที่จะช่วยให้ขนมันขึ้นได้เหมือนเดิมหรือเปล่าครับ
    และหมอบอกว่ามันจะต้องฉีดยาไปตลอดทุกๆเดือนจริงหรือเปล่าครับ
  • อืม หมาหมอได้ยามาก็ถูกแล้วครับ ใช้เวลาไม่กี่เดือนหรอก เดี๋ยวก็ หาย
  • หมาผมก็เคยเป็นครับ(ขี้เรื้อน)
    ผมพาไปหาหมอก็ไช้เวลาหลายเดือนครับ
    ก็ไม่ดีขึ้นเลยเลยลองไช้วิธีชาวบ้าน.....ชาวบ้านเลยครับ
    เขาบอกว่าไห้ไช้นำมันเครื้องเก่าทาทิ้งไว้ซักพักซักแล้วล้างออก
    ทำทุกวันครับประมาณ1เดือนจะเห็นผลถ้ายังไม่หายก็ไช้วิธียี้เลยครับ
    ไชนำนอไม้ดองราดตรงที่เป็นขี้เรื้อนทิ้งไว้นาน...นานนะครับมันจะแซบน่อย
    นะครับมันจะไปกัดเนื้อที่ตายเพื่อไห้ทรางแซวเนื้อขึนมาไหม่ครับไช้เวลา1เดือนเหมือนกันครับ
    แต่ลองไช้นำมันเครืองเก่าก่อนนะครับ
  • เรื้อน demodex ใช้เวลานานในการรักษา อาจจะมากกว่า 1 เดือน ครับ
    เรื้อน sarcoptes ใช้เวลารักาไม่นาน นานสุดไม่เกิน 1 เดือน ฉีดยาไอเวอร์เมกติน สัปดาห์ละ 1 ครั้งที่ ขนาด 400 ไมโครกรัม/สุนัขหนัก 1 กก. ใต้ผิวหนัง สัปดาห์ละ 1 ครั้ง

    เรื้อน demodex ทำลายรากขนด้วยโอกาสขนไม่ขึ้นมีครับ
    ส่วนเรื้อน sarcoptes ส่วนใหญ่ไม่ทำลายรากขน ถ้าหายแล้ว มีโอกาสขนขึ้นใหม่ครับ

    ส่วนยาทาที่ผิวหนังควรเป็นตัวยา amitraze หรือผงกำมะถันที่มีส่วนผสมของ salicylic acid จะช่วยได้มากครับ

    หมอ พิทบูล
  • โรคเรื้อนเปียก หรือโรคเรื้อนในรูขุมขน
    เป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากไร เป็นปรสิตภายนอกที่อาศัยในรูขุมขนของสุนัข
    ปรกติแล้วไรขี้เรื้อนเปียกสามารถขูดพบได้ในหมาตัวที่ปรกติ
    เพียงแต่โอกาสที่เจอนั้นน้อย และไม่อยู่ภาวะที่ก่อให้เกิดรอยโรคได้
    กลไกในการเกิดที่ว่านี้ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด เท่าที่ค้นคว้าในปัจจุบันระบุว่า
    หมาตัวที่ป่วยเป็นโรคนี้ มีความผิดปรกติของ เม็ดเลือดขาวชนิด T - cell และยังมีระดับของอินเตอร์ลิวคิน-2
    ต่ำกว่า หมาปรกติ เจ้าสารอินเตอร์ลิวคิน-2 เป็นสารชีวเคมีที่ร่างกายของสุนัขมีอยู่ทุกตัว
    มันทำหน้าที่กระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาทางภูมิคุ้มกัน เพราะเมื่อสารนี้หลั่งออกมาจะเกิดการกระตุ้น
    ให้มีการเพิ่มจำนวน เซลล์ภูมิ คุ้มกัน เพิ่มระดับการทำงาน เพิ่มการสร้างภูมิคุ้มกัน
    แต่ถ้าสารที่ว่านี้ลดต่ำลงเมื่อใด เจ้าไรขี้เรื้อนในรูขุมขนจะเริ่มเพิ่มจำนวนขึ้น และตัวมันเองยังเป็นตัวการสำคัญ
    ที่จะผลิตสารชีวเคมีซึ่งทำให้เกิดปัญหาการ กดเซลล์ภูมิคุ้มกันด้วย คราวนี้เลยมีช่องทางให้เจ้าเชื้อโรค
    คือแบคทีเรียเข้ามาร่วมก่อความเสียหายด้วย สุนัขตัวที่ป่วยเป็นโรคเรื้อนเนื้อตัวจึงเละตุ้มเป๊ะ ในพื้นที่เกิดรอยโรค

    อาการของโรคเรื้อนเปียกมีหลายรูปแบบ เริ่มทำความเข้าใจกันก่อนดีกว่า

    อาการเรื้อนเปียกแบบเฉพาะที่ มักพบที่บริเวณแก้ม เหนือคิ้ว ขาหน้า โดยหมามีขนร่วง ผิวหนังแดง คันและเกา
    มีแผลอักเสบเป็นตุ่มแดงๆ เล็กๆ ตามปรกติแล้วรอยโรคจะเกิดขึ้นเอง และจะหายไปเองได้ภายใน 3-8 สัปดาห์
    แต่ถ้ามีอาการอักเสบมีตุ่มหนองด้วยต้องรีบพาสุนัขมารับยารักษาอย่างต่อ เนื่องจนกว่าจะหาย
    ตามปรกติแล้วมีสุนัขประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ที่มีโอกาสป่วยเป็นโรคเรื้อนเปียกแบบเฉพาะที่
    แล้วพัฒนาเป็นแบบกระจายตัวทั่ว เจ้าของควรหมั่นพาสุนัขของท่านไปตรวจรักษาตามที่สัตว แพทย์แนะนำ

    อาการเรื้อนเปียกแบบกระจายเป็นบริเวณกว้าง มักพบว่าหมาตัวที่เป็นมีการอักเสบของผิวหนังรุนแรงมาก
    มีขนร่วง มีตุ่มหนองแตกออก เป็นแผลคันเกา รอยโรคพบได้ตั้งแต่ส่วนของใบหน้า ลำตัว ขา และเท้า
    เรียกว่ามีอาการอักเสบของรูขุมขนจนมีเลือดออก มีหนองไหลแตกออกมาจากตุ่มที่ติดเชื้อนั้นล่ะครับ
    รอยโรคที่เป็นแล้วถือว่ารุนแรงและรักษาได้ยาก คือ เมื่อเป็นทั่วตัวแล้ว เกิดการอักเสบมากที่ผิวหนังส่วนของเท้า
    สุนัขที่ป่วยเป็นโรคเรื้อนเปียกที่ลามลงไปถึงที่เท้า นั้นมีอาการเท้าบวม เป็นตุ่มเลือดแตกออกกระจายไปทั่วเท้า
    ซึ่งสัตว์จะทรมาน เจ็บปวดมากทีเดียว การตรวจวินิจฉัย โรคเรื้อนเปียกจำเป็นต้องพาสุนัขไปตรวจ
    เพื่อให้คุณหมอขูดเอาผิวหนังส่วนที่ลึกถึงชั้นรูขุมขนไปตรวจ เมื่อเก็บตัวอย่างผิวหนังได้
    สัตวแพทย์จะใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องตรวจดูตัวอย่างของผิวหนังซึ่ง อาจจะเป็น หนองหรือเลือด
    เวลาพบว่าสุนัขป่วยเป็นโรคเรื้อนเปียกมักสังเกตเห็นตัวเรื้อนในตัวอย่างของ ผิหนัง ว่ามีมากมายหลายตัว
    และกำลังอยู่ในภาวะที่เพิ่มจำนวนขึ้น เช่น พบตัวเรื้อนตัวแก่ ตัวอ่อน พบไข่
    อย่างนี้ล่ะที่เรียกว่ากำลังสร้างปัญหาสุขภาพให้ สุนัขอย่าง มาก

    การรักษา โรคนี้เป็นโรคผิวหนังที่ต้องใช้เวลารักษานานมาก ยิ่งในรายที่เป็นแบบกระจายไปทั่วตัว
    บางรายอาจต้องให้ยานานกว่า3-8เดือนและต้องได้รับการตรวจเป็นระยะ อย่างเช่น
    สุนัขตัวที่ป่วยเป็นโรคเรื้อนเปียกแบบกระจายไปทั่วตัว และเป็นที่ฝ่าเท้านั้น ใช้เวลารักษานาน
    และต้องให้ยาอย่างต่อเนื่อง ท่านอาจถามต่อว่าโรคนี้หายขาดไหม แต่เดิมเชื่อกันว่า รักษาไม่หาย

    ปัจจุบันยารักษามีประสิทธิภาพดีขึ้น สุนัขป่วยเป็นเรื้อนเปียกแบบกระจายทั่วตัวมีโอกาสหาย ขาดได้
    จะมีในบางรายเท่านั้นที่ต้องให้ยาควบคุมไปตลอด และมีโอกาสกลับมาเป็นได้อีกหลังจากหยุดให้ยา
    เมื่อสุนัขรับยาจนไม่มีอาการผิดปรกติอะไรแล้ว ต้องพาสุนัขมาขูดผิวหนังตรวจซ้ำอีกครั้ง
    ว่ามีตัวเรื้อนเปียกอีกหรือไม่ในรอยโรคเดิม ซึ่งต้องขูดตรวจอย่างน้อย 5 จุดของร่างกายเพื่อให้ผลยืนยันได้อย่างชัดเจน
    ถ้าขูดผิวหนังตรวจแล้วไม่พบ หลังจากที่หยุดยานานกว่า 2 เดือนนั่นแสดงว่าสุนัขหายจากโรคนี้แล้ว
    อย่างไรก็ตาม สุนัขตัวที่ป่วยเป็นโรคเรื้อนเปียกเจ้าของต้องหมั่นพ าไปตรวจร่างกาย
    แต่ถ้าเริ่มมีตุ่มคล้ายสิวขึ้นแบบกระจายตัว ขนเริ่มร่วง และสุนัขคันเกาต้องรีบพาไปพบสัตวแพทย์ทันที

    เรื่องการรักษาตามความเชื่อแบบแปลกๆ ที่เคยได้ยินมา เช่น
    นำกำมะถันทาทั้งตัวสุนัขหรือบริเวณที่เป็นรอยโรค
    ในรายที่เป็นเรื้อนเปียกแบบรุนแรงกระจายทั่วตัวไม่ควรใช้แล้ว
    ควรพาไปให้สัตวแพทย์รักษาด้วยยาแผนปัจจุบันดีกว่า
    บางรายหนักยิ่งกว่าใช้น้ำมันเครื่องทาตัวหมาบ้าง นำน้ำหน่อไม้ดองมาอาบให้บ้าง
    ไม่ควรใช้ครับโรคนี้ควรได้รับการรักษาอย่างถูกต้องเท่านั้น
    ที่สำคัญโรคนี้เป็นแล้วหายช้าอยู่แล้ว การรักษาตามความเชื่อที่ผิดๆ อย่างนี้คงส่งผลไม่ดีแน่

    คัดลอกมาจาก "เรื่องน่ารู้ของหมาๆภาคขี้เรื้อน" คะ
  • เพื่อความต่อเนื่องต้องมาคุยถึงโรคเรื้อนแห้งกันต่อ
    จะได้เข้าใจว่าลักษณะของโรคทั้งสองประเภทนั้นมันแตกต่างกันอย่างไรและแค่ไหน
    สาเหตุของโรคเรื้อนแห้ง เกิดจากสุนัขป่วยติดเชื้อปรสิตภายนอก เป็นตัวไรเล็กๆ
    อาศัยอยู่บนผิวหนังชั้นหนังกำพร้า ไม่ได้อาศัยลงลึกไปกว่านั้น เจ้าไรที่ว่านี้มีขนาดเล็กมาก
    ทั้งยังสามารถสืบพันธุ์ ออกไข่ให้ลูกให้หลานได้อีกมากมาย
    ปัญหาที่มักถามกันมากก็คือ ติดโรคนี้ได้อย่างไร ทั้งๆ ที่เลี้ยงอยู่แต่ในบ้าน
    เหตุที่ว่าเกิดได้จากการเล่น สัมผัสและคลุกคลีกับตัวที่ป่วยเข้าจนเกิดการถ่ายทอด
    เจ้าไรตัวนี้ต่อกันไป ที่สำคัญอีกประการคือเรื่องของสภาพแวดล้อมในบ้านเมืองของเรา
    มีสุนัขจรจัดเยอะ เรียกว่าเดินไปตรอกไหน ซอกไหน ซอยไหนมีอันต้องได้เจอ
    นี่เองแหละที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดการแพร่กระจายของโรค ได้เร็วและต่อเนื่อง

    สุนัขที่ป่วยเป็นโรคนี้จะมีอาการคันมาก และเมื่อคันเกาบริเวณที่เป็นรอยโรค
    จะมีชิ้นส่วนของสะเก็ดผิวหนังที่ปลิว กระจายล่วงออกมาจากตัวสุนัข
    หากสุนัขอีกตัวไปนอนทับหรือเกลือกกลิ้งย่อมมีโอกาสจะ ติดเ ชื้อ จนอาจป่วยเป็นโรคเรื้อนแห้งได้
    เนื่องจากเจ้าไรขี้เรื้อนนี้มีชีวิตได้นานกว่า 2 วัน เมื่อหลุดร่วงจากผิวหนังของสุนัขตัวที่ป่วยยิ่งเพิ่ม
    โอกาสที่จะ ไปติดต่อกับ สุนัขตัวอื่นได้มากขึ้น เพราะฉะนั้นถึงแม้ท่านไม่ได้พาสัตว์เลี้ยงออกไปนอกบ้ าน
    แต่ถ้าสุนัขของเราชอบนอนใกล้รั้วบ้าน และหากรอบๆ บ้านมีสุนัขจรจัดตัวที่ป่วยเป็นโรคขี้เรื้อนแห้งอาศัยอยู่
    ย่อมมีโอกาสติดโรคได้เช่นกัน

    อาการของสุนัขตัวที่ป่วยเป็นโรคขี้เรื้อนแห้ง เริ่มต้นจะมีอาการคันตัว คันที่ขอบใบหูทั้งสองข้าง
    และคันที่ศอกด้านข้าง ถ้าสังเกตให้ดีจะพบเม็ดตุ่มแดงๆ ขึ้นที่ผิวหนัง บริเวณที่เห็นชัดเจนมักเป็นที่ท้อง
    หรือบริเวณขาหนีบ และบั้นท้าย จากนั้นจะเริ่มมีอาการคันรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ
    กระทั่งขนบนตัวสัตว์เริ่มร่วง ตำแหน่งที่พบชัดเจน คือที่ขอบใบหูสองข้าง และศอกด้านข้าง
    ผิวหนังบริเวณดังกล่าวเริ่มเป็นสะเก็ดแผลที่หนาตัวขึ ้น เมื่อแผลนั้นเริ่มแตกออกมากขึ้นเรื่อยๆ
    อาการขนร่วงจะค่อยๆ แพร่กระจายไปทั่วตัว ทีนี้สะเก็ดแผลบนผิวหนังจะเริ่มเกิดขึ้นทั่วตัว
    เหมือนกับเจ้าสุนัขหนังกลับที่เราเห็นข้างถนนนั่นล่ะ คือสุนัขที่ป่วยเป็นโรคขี้เรื้อนแห้ง

    การตรวจวินิจฉัย ในเบื้องต้นเราควรสังเกตอาการของสัตว์เลี้ยงของเราเองก่อน
    ซึ่งการทดสอบที่ได้ผลค่อนข้างแม่นยำในการตรวจโรคนี้ เรียกว่า การทำ Pinna-pedal reflex test
    การทดสอบทำได้ง่ายมาก เวลาที่สุนัขป่วยเป็นโรคขี้เรื้อนแห้งจะมีตำแหน่งที่ คันมากๆ อยู่ 2 จุด
    ดังที่กล่าวมา คือที่ปลายใบหูสองข้างนั้น และที่ข้อศอกด้านข้าง
    ถ้าเราจับสุนัขมาทดสอบโดยการเอานิ้วมือขยี้ที่ปลายใบ หูเบาๆ แล้วสุนัขเอาเท้าหลังข้างนั้นเกาที่ศอกด้านนั้น
    ก็น่าสงสัยครับว่าทำไมสุนัขของเราถึงคันได้ เพราะอาการดังกล่าวแสดงว่าสัตว์คันมากที่ปลายใบหู
    และที่ศอกด้วย และโรคผิวหนังที่จะเกิดขึ้นได้มีไม่กี่โรคหรอก ที่สำคัญคือโรคขี้เรื้อนแห้งนี่แหละ
    แต่การที่เราจะสรุปปัญหาการป่วยว่าใช่โรคขี้เรื้อนแห ้งหรือไม่น ั้น
    คงต้องอาศัยองค์ประกอบหลายประการร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นรอยโรคที่ปรากฏ
    การทดสอบทำ Pinna-pedal reflex test การขูดผิวหนังเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจหาตัวไรขี้เรื้อน
    ทุกอย่างจะสอดคล้องกันแม้ว่าการขูดผิวหนังเพื่อหาไรรขี้ี้เรื้อนอาจจะไม่พบ
    เพราะถ้าอยู่ในระยะเริ่มต้นมักจะขูดผิวหนังไม่พบ

    การรักษาโรคขี้เรื้อนแห้ง สามารถทำได้หลายวิธี ที่นิยมกระทำ คือ
    การให้ยาโดยการฉีดเพื่อรักษา ซึ่งได้ผลดีแต่ก็ต้องทำซ้ำทุกๆ 10-14 วันครั้ง
    จนกว่าสุนัขจะหายสนิท ในกรณีที่เราเลี้ยงสุนัขไว้หลายตัว
    เราต้องพาสัตว์เลี้ยงทุกตัวมารับการรักษาด้วย เพราะโรคนี้ติดต่อได้ง่ายและติดต่อได้ไวมาก
    ถ้าเราไม่สนใจนำสุนัขมารับการรักษาพร้อมๆ กันจะทำให้เกิดปัญหาการป่วยวนเวียนอยู่ในฝูงสุนัข
    เพราะเมื่อตัวที่เป็นหาย ตัวที่ได้รับเชื้อจะเริ่มแสดงอาการอีก
    และถ้ายาเสื่อมฤทธิ์เมื่อไหร่ สุนัขจะเริ่มมีอาการป่วยอีกเช่นกัน
    เจ้าตัวที่ป่วยเป็นโรคขี้เรื้อนแห้งนั้นมีความน่ารัง เกียจอยู่แล้วเพราะสัตว์เองแทบจะไม่มีขนอยู่บนผิวหนังเลย
    บางตัวมีสะเก็ดคัน มีแผลแตกระแหงมากมายบนผิวหนัง มองยังไงก็ไม่น่ารัก ไม่น่าสัมผัส
    จริงๆ แล้วถ้าท่านเจ้าของอุ้มสัตว์เลี้ยงตัวที่ป่วยนั้นมาร ักษา ถึงแม้ว่าจะไม่มีขนเลยแม้แต่เส้นเดียว
    และมีแผลมากมาย แต่เมื่อได้รับการรักษาแล้วสุนัขของเราก็จะกลับมามีผิวหนังและขนดังเดิม
    โรคขี้เรื้อนแห้งนี้รักษาให้หายขาดได้ เพราะฉะนั้นอย่ารังเกียจสุนัข ตัดสินใจรักษาแต่เนิ่นๆ
    ก่อนที่จะเกิดอาการแทรกซ้อนจนทำให้ผิวหนังอักเสบรุนแรงตามมา

    อาการแทรกซ้อนของ สุนัขที่ป่วยเป็นโรคขี้เรื้อนแห้ง อาการที่พบได้
    มักมีมูลเหตุจากการคัน สุนัขบางตัวมีอาการคันเกาหูจนใบหูบวม มีเลือดคั่ง
    ทำให้เราต้องตามมารักษาอาการดังกล่าวอีก หรือบางตัวเอาตัวถูไถกับพื้น เลีย และงับตรงผิวหนัง
    ที่คันทำให้เกิดอาการแผลแดงช้ำรุนแร ง และเป็นไวมาก อย่างที่บอกไว้นั่นล่ะครับ
    โรคขี้เรื้อนแห้งเป็นโรคที่คันสุดๆ จริงๆ

    โรค ขี้เรื้อนแห้งติดคนไหม คำตอบ คือ ติดต่อถึงคนได้ โรคนี้ติดต่อจากการสัมผัสกับสัตว์เลี้ยงที่ป่วย
    เพราะฉะนั้นเมื่อท่านทราบว่าสุนัขของเราป่วยเป็นโรคน ี้ ควรหยุดกอดและคลุกคลีกับสัตว์เลี้ยงไว้ก่อน
    โดยเฉพาะคุณผู้หญิงที่ผิวค่อนข้างบอบบาง ควรหยุดกอดรัด หรืออุ้มเจ้าตัวน้อยเลย
    โรคที่ติดมาสู่คนนั้นจะมีลักษณะเป็นเม็ดตุ่มแดงๆ ขึ้นบนผิวหนัง มีอาการคัน และกระจายออกไปได้
    ซึ่งถ้ามีอาการเช่นนี้ให้รีบไปหาแพทย์เพื่อรับการรัก ษาอย่างทัน ท่วงที


    คัดลอกมาจาก "เรื่องน่ารู้ของหมาๆภาคขี้เรื้อน" คะ