ยินดีต้อนรับครับ

ขอแนะนำให้ทุกท่าน สมัครสมาชิก เพื่อป้องกันการแอบอ้างชื่อครับ

Mark Mafia

คัมภีร์พิตบูล บทที่ 2
  • บทที่ 2

    ย้อนรอยพิตบูล

    ผู้เขียนคิดว่าพิตบูลสืบเชื้อสายมาจาก กลุ่มสุนัขล่าสัตว์ ( KILLER HOUNDS) โดยเชื่อว่ามันมีบรรพบุรุษร่วมกันเมื่อหลายหมื่นปีมาแล้ว ตั้งแต่สมัยที่มนุษย์เริ่มเลี้ยงสุนัขกลุ่มนี้ไว้ล่าสัตว์ในยุคแรกๆ อย่างไรก็ตามในยุคนั้นยังไม่มีการรู้จักคัดเลือกผสมพันธุ์สุนัข เพื่อให้ได้สายพันธุ์ต่างๆหลากหลายสายพันธุ์เท่าปัจจุบันนี้ สุนัขตัวใดที่ไม่มีความสามารถในการล่าก็จะถูกคัดออกไป สุนัขที่มีกระบอกปากยาว,มีความฉลาดหลักแหลม,ขายาว,รูปร่างเพรียวและมีความคล่องแคล่ว จะมีคุณสมบัติเป็นนักล่าที่ดี จะถูกคัดเลือกไว้เลี้ยงและเพาะพันธุ์ต่อไป
    จนกระทั่งถึงยุคที่มนุษย์เริ่มรู้จักการเพาะปลูกเลี้ยงสัตว์ และมีเทคโนโลยีมากขึ้น ความจำเป็นในการใช้สุนัขเหล่านี้ในการล่าสัตว์ก็ค่อยๆหมดไป จะเหลืออยู่ก็เป็นเพียงสันทนาการในการล่าสัตว์ เพื่อใช้เป็นกีฬาสนุกๆเท่านั้น สุนัขเหล่านี้จึงถูกเก็บไว้ในคอกหรือถูกล่ามไว้เพื่อไม่ให้เป็นอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงอื่น อย่างไรก็ตามมีชาวไร่ ชาวนาบางพวกที่เลี้ยงสุนัข BULL DOG ตัวเล็กๆไว้คอยกำจัดศัตรูพืชไร่และปศุสัตว์
  • โดยเฉพาะชาวไอริช ชอบเรียกพวกมันว่า BULL DOG
    เมื่อเวลาผ่านไป กลุ่มสุนัข HOUNDS ที่วิ่งได้เร็วกว่ากลุ่ม KILLER HOUNDS ได้ถูกนำมาใช้ในกีฬาล่าสัตว์มากขึ้น เนื่องจากพวกมันมีประสาทการมองเห็นที่ดีกว่า และมีความเร็วในการวิ่งไล่กวดเหยื่อ และมีความว่องไวกว่าในกลุ่ม KILLER HOUNDS
    ในความเห็นของผู้เขียน เห็นว่าการต่อสู้ของสุนัขน่าจะมีมานานกว่าที่หลายคนคิด ในระยะแรกพวกเขาจะใช้ KILLER HOUNDS (ในกลุ่ม BULL DOG) ในการต่อสู้กับหมีและวัวกระทิง ต่อมาเมื่อจำนวนหมีหายากขึ้น เนื่องจากการที่ถูกล่ามากขึ้นและป่าที่อยู่อาศัยถูกทำลาย จึงใช้สุนัขพวกนี้มาสู้กับวัวกระทิง(BULL)แทน พวกมันจึงได้รับการเรียกขานว่า ? BULL DOG? ตั้งแต่นั้นมา ในขณะที่ชาวไร่ ชาวนายังคงใช้ BULL DOG ที่พวกเขาเรียกว่า TERRIER ไว้คอยกำจัดศัตรูพืชไร่และปศุสัตว์ในฟาร์มเช่นเดิม
    ผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับการแบ่งกลุ่มสุนัขเป็นกลุ่มต่างๆของ AKC ( AMERICAN KENNEL CLUB)ที่แบ่งสุนัขตามรูปร่างลักษณะและการใช้ประโยชน์สุนัข เพราะมีปัญหาหลายประการคือ บางสายพันธุ์สามารถอยู่ในกลุ่มต่างๆมากกว่า 1 กลุ่ม เช่น ?พิตบูล? สามารถเป็นสุนัขล่าสัตว์,สุนัขทำงาน(WORKING DOG),สุนัขอารักขา(GUARD DOG) และเป็นกลุ่มกำจัดสัตว์เล็กๆ(TERRIER) ได้ การจัดให้มันอยู่ในกลุ่ม TERRIER เพียงอย่างเดียว คงไม่ถูกต้องเท่าใดนัก
    ยุคแรก ?พิตบูล? ถูกนำเข้าจากฝั่งยุโรปไปที่อเมริกา ก่อนสงครามกลางเมืองของอเมริกา น่าจะถูกนำไปช่วง ค.ศ.1845-1851 โดยชาวไอริชที่อพยพหนีความอดอยากจากแผ่นดินเกิด ไปตั้งรกรากในอเมริกา ต่อมาเมื่อชาวไอริชเหล่านั้นมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นในอเมริกา ก็มีการชักชวนชาวไอริชอพยพไปอยู่ที่อเมริกากันมากขึ้น พิตบูลก็ถูกนำเข้าไปในอเมริกาโดยชาวไอริชมากขึ้นเรื่อยๆ โดยพวกเขาเรียกมันว่า ?PIT TERRIER? ในช่วงแรกก็มีการเลี้ยงในกลุ่มชาวไอริชก่อน ต่อมาเมื่อพวกเขาย้ายถิ่นฐานไปตามที่ต่างๆในอเมริกาและประเทศเพื่อนบ้าน พิตบูลก็ถูกนำติดตัวไปเลี้ยงและแพร่กระจายไปเรื่อยๆตามคนที่ย้ายถิ่นไปด้วย ในระยะแรกพบว่ามีการเลี้ยงพิตบูลหนาแน่นแถบ NEW ENGLANDก่อน ต่อมาก็แพร่หลายไปทางใต้ และทางตะวันตกมากขึ้นเรื่อยๆ จวบจน ค.ศ.1898 BENNETT เริ่มก่อตั้ง UKC (UNITED KENNEL CLUB) จึงขนานนามพวกมันใหม่ว่า AMERICAN PIT BULL TERRIER (APBT) เพื่อแยกสายพันธุ์พวกมันจาก ENGLISH BULL TERRIER ค.ศ.1935 มีกลุ่มผู้เลี้ยงสุนัขบางกลุ่มร้องเรียน AKC เรื่องชื่อของ APBT ว่า คำว่า BULL TERRIER ไปซ้ำกับคำว่า BULL TERRIER ของสุนัขพันธุ์ BOSTON BULL TERRIER ซึ่ง AKC เองก็ไม่ต้องการให้ใช้ชื่อนี้ ซึ่งถ้าใช้ชื่อนี้ เครดิตการตั้งชื่อก็จะเป็นของ UKC ทาง AKC จึงเลี่ยงไปใช้ชื่อเป็น YANKEE TERRIER หรือ STAFFORDSHIRE TERRIER แทน และถูก AKC จัดให้อยู่ในกลุ่ม TERRIER แต่นั้นมา(น่าสังเกตุว่าทาง AKC อิจฉา UKC อยู่เหมือนกัน..ความเห็นของผู้เรียบเรียงเอง)
    ในขณะที่ทางยุโรป ในอังกฤษ BRDTISH KENNEL CLUB เรียก STAFFORDSHIRE BULL TERRIER คล้อยตาม AKC โดยผู้เขียนเห็นว่า STAFFORDSHIRE BULL TERRIER ของอังกฤษนั้น ถูกนำเข้าจากอังกฤษไปในช่วงหลัง คือตอนกลางทศวรรษ 1950 ซึ่งน่าจะเป็นคนละสายพันธุ์กับสายพันธุ์เริ่มแรกที่ชาวไอริชนำเข้าไปในอเมริกา โดยผู้เขียนเห็นว่าเป็นคนละสายพันธุ์กันและมีมาตรฐานสายพันธุ์ที่แตกต่างกัน (ความเห็นผู้เรียบเรียง สายพันธุ์ APBT เริ่มถูกนำเข้าไปในอเมริกาตั้งแต่ ค.ศ.1845 แต่ STAFFORDSHIRE BULL TERRIER ถูกนำเข้าไปในอเมริกา ค.ศ.1950 จะเห็นว่าระยะเวลาห่างกันเป็นร้อยปี ดังนั้นอาจเป็นคนละสายพันธุ์กันจริงตามที่ผู้เขียนอ้าง หรือในระยะเวลาร้อยปีที่ APBT อยู่ในอเมริกา คนอเมริกาเองซึ่งชาตินิยมมากน่าจะปรับปรุงสายพันธุ์จนเป็นคนละสายพันธุ์และคนละมาตรฐานสายพันธุ์แล้วก็ได้)
    อย่างไรก็ตามในอเมริกาเองชื่อ STAFFORDSHIRE BULL TERRIER ก็ไม่เป็นที่ยอมรับของอเมริกันชนส่วนใหญ่ พวกเขาเรียก AMERICAN STAFFORDSHIRE TERRIER แทน (ความเห็นผู้เรียบเรียง : คนอเมริกัน มีความเป็นชาตินิยมมาก) ในเวลาเดียวกันนั้น มีการขอจดทะเบียนของผู้เลี้ยง PIT BULLDOG ในอเมริกาโดยสมาคมที่จัดตั้งโดย GUY MC CORD ในชิคาโก ใช้ชื่อว่า ADBA (AMERICAN DOG BREEDER ASSOCIATION) โดยจดในนาม ? PIT BULL TERRIER? ในระยะแรก ต่อมาต้นทศวรรษที่ 1970 FRANK FERRDS ได้ผลักดันให้ ADBA ใช้ชื่อเรียกใหม่ว่า AMERICAN PIT BULL TERRIER ( APBT ) ได้สำเร็จ เช่นเดียวกับสุนัขพันธุ์อื่นๆ พิตบูลมีช่วงเวลาที่รุ่งโรจน์และโรยรา พวกมันไม่ได้รับความนิยมเป็นอันดับแรกๆ เหมือนสุนัขพันธุ์ที่มีไว้โชว์พันธุ์อื่น
    มีนิตยสารเกี่ยวกับพิตบูลหลายปกที่เริ่มพิมพ์และทยอยปิดตัวลงในเวลาไม่นาน จนกระทั่งวารสาร BLOODLINES JOURNAL โดย UKC ได้ให้ข้อมูลและรายงานผลการกัดสุนัข แม้ว่าจะไม่ค่อยมีรูปภาพ แต่ก็ทนต่อกระแสต่อต้านจากสังคมไม่ไหว จนต้องยกเลิกการรายงานผลการ MATCH ออก ในช่วงกลางทศวรรษที่ 1950
    ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง:BOB ทำให้พิตบูลเป็นที่รู้จักมากในสังคม ต้นทศวรรษที่ 1950 นิตยสาร PIT DOG ได้ออกหนังสือคล้ายกับ BLOODLINES JOURNAL แต่ไม่มีผลการ MATCH แต่เป็นการโชว์รูปการ MATCHแทน ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียแก่วงการเป็นอย่างมาก เพราะถูกประณามจากสังคมและองค์กรต่างๆ จน DOG MAN หลายคนต้องเรียนรู้วิธีเก็บตัวเพื่อไม่ให้ใครรู้จัก จะรู้จักก็เพียงในกลุ่ม DOG MAN ด้วยกันเท่านั้น ทศวรรษที่1970 มีการออกกฎหมาย ห้าม MATCH สุนัขทั่วประเทศ และในปี1975 ศักราชทองของพิตบูลก็มาถึง เมื่อ PIT BULL CLUB ใน SOUTH CALIFORNIA ได้ให้ UKC เป็นสปอนเซอร์ร่วมในการนำพิตบูลมาในงาน DOG SHOWโดย ADBA เห็นด้วย และมีการพิจารณากำหนดมาตรฐานสายพันธุ์และรูปร่างอย่างจริงจัง โดยไม่พิจารณาถึงความสามารถในเกมส์แต่อย่างใด มีการประกวดรูปร่าง ความสวยงามและการแข่งขันลากน้ำหนัก แต่ในปัจจุบัน ADBA กลับให้ความสำคัญกับสุนัขที่มีความสามรถในเกมส์เหมือนในอดีต โดยไม่เพาะพันธุ์สุนัขที่มีรูปร่างสวยงามเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
    แปลโดย นายแพทย์ประสิทธิ์ จ.ขอนแก่น
  • โปรดรอติดตาม บทที่ 3 ต่อไปในคราวหน้า