ยินดีต้อนรับครับ

ขอแนะนำให้ทุกท่าน สมัครสมาชิก เพื่อป้องกันการแอบอ้างชื่อครับ

Mark Mafia

ถามหมอพิทบูล โรคหัดเยอรมัน
  • โรคหัดเยอรมัน จากคนสามารถ ติดต่อไปยังสุนัขได้รึปล่าวครับ
  • โรค ร้ายที่ควรระวัง !!
    ไข้หัดสุนัข (Canine Distemper)สาเหตุ เชื้อไวรัส Canine Distemper virus หรือ CDV RNA Virus Paramyxovirus
    การติดต่อ สามารถติดต่อทางระบบหายใจ จะติดทางน้ำมูก ขี้ตา น้ำลาย โดยหายใจเข้า
    ไปหรือ หรือจากการสัมผัส
    อาการของโรค
    แบบเฉียบพลัน
    -หลังได้รับเชื้อ จะมีไข้สูง เบื่ออาหาร เยื่อตาอักเสบ อาการดังกล่าวจะหายไปและจะกลับมาโดยสุนัขจะซึม เบื่ออาหาร จมูกแห้ง มีน้ำมูกและขี้ตาขุ่นเป็นหนอง ไอ คล้ายอาการของหวัด ปอดบวม อาเจียน ท้องเสีย กล้ามเนื้อกระตุก ชัก ขาหลังเป็นอัมพาตและตายไปในที่สุด
    แบบเรื้อรัง
    -ฝ่าเท้าจะหนา ผอม ไม่ตอบสนองต่อการรักษาและมักจะตายในเวลาต่อมา แต่ในสุนัขบางตัวที่ไม่ตาย จะใช้เวลารักษาหรือพักฟื้นนาน
    ป้องกัน (Prophylaxis)
    -ใช้สารช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันโรคให้สุนัขได้ทันที เช่น แอนติซีรัม หรือแอนติซีรัมเข้มข้น
    -ใช้สารที่ช่วยกระตุ้นให้ร่างกายเพิ่มภูมิคุ้มกันโรคห ลังได้รับสารเช่น วัคซีนรวมที่มี 3 ชนิดขึ้นไป ปัจจุบันใช้วัคซีนเชื้อเป็นชนิดรวมกับโรคอื่น ทำให้สะดวกขึ้น
    -หากในสุนัขที่ไม่ทราบประวัติหรืออายุเกิน 3 เดือนแล้ว ควรทำวัคซีนหนึ่งครั้งในช่วงระยะปีแรก ส่วนลูกสุนัขที่เกิดจากแม่ที่ไม่ทราบโปรแกรมและยังอา ยุต่ำกว่า 3 เดือน ควรให้วัคซีน อย่างน้อย 2 ครั้งหลังหย่านม 1 ครั้ง และเมื่อลูกสุนัขอายุ 12-16 สัปดาห์อีกครั้งหนึ่ง
    การรักษา
    -ให้ยาป้องกันการแทรกซ้อนของโรคอื่น เช่น ปอดบวม โดยใช้ยา Antibiotic + Sulfaonamidus
    -การชักแก้ไขโดยกินยาฟีโนบาบิตอล ในขนาด 3 mg/kg ทุก 6-8 ชั่วโมง ติดต่อกันไม่เกิน 4 ครั้ง แล้วควบคุมอาการชักด้วยยา พริมิโนหรือมัยโซลิน 50 mg/kg ต่อวัน โดยให้กินทุก 6-8 ชั่วโมง ติดต่อกัน 1 สัปดาห์ หรือจนหาย
    -ให้ Vitamin ชนิดละลายน้ำและให้อาหารที่มีโปรตีนสูง หากสัตว์กินไม่ได้ สามารถฉีดเข้าหลอดเลือดดำได้
    หมายเหตุ โรคนี้พบมากในช่วงฤดูฝนต่อกับฤดูหนาว
  • ต่อๆๆๆ

    โรคไข้หัดสุนัข เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นคนละชนิดกับไข้หัดในเด็กหรือหัดเยอรมันในคน และไม่ติดตนสบายใจได้ กล่าวกันว่าโรคนี้เป็นโรคที่ทำให้สุนัขมีอัตราตายสูง ฟังดูหน้าตกใจ ที่จริงแล้วสุนัขมีอัตราติดเชื้อสูง แต่ไม่แสดงอาการป่วย ซึ่งขึ้นกับสายพันธุ์ของเชื้อไวรัส และสุนัขบางตัวมีภูมิคุ้มกันต่อโรคนี้สูง โรคนี้พบมากในลูกสุนัขช่วงอายุระหว่าง 3-6 เดือน ซึ่งเป็นภูมิคุ้มกันที่ได้รับจากแม่ลดลง
    เชื้อไวรัสไข้หัดสุนัขมีหลายสายพันธุ์ บางสายพันธุ์เป็นชนิดที่ไม่แสดงอาการ บางสายพันธุ์ทำให้เกิดโรคอย่างเฉียบพลันมีโอกาสเกิดส มองอักเสบได้ ทำให้สัตว์ตายสูง บางสายพันธุ์ทำให้สุนัขผอมแห้ง ทรุดโทรมลงเรื่อย ๆ และมีอัตราตายสูง แต่ไม่พบอาการทางประสาท อย่างไรก็ตามทุกสายพันธุ์มีผลกดภูมิคุ้มกันของสุนัข
    เชื้อไวรัสไข้หัดสุนัขไม่ทนต่อความร้อน อุณหภูมิ 50-60 องศาเซลเซียส สามารถทำลายเชื้อได้ ความแห้ง ผงซักฟอก น้ำยาที่ละลายไขมันต่าง ๆ ตลอดจนน้ำยาฆ่าเชื้อทั่วไปที่ใช้ทำความสะอาดพื้นคอก กรง ชามอาหาร สามารถทำลายเชื้อได้ที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส ไวรัสจะอยู่ได้ 1 ชั่วโมง

    การติดต่อและผลที่เกิดกับร่างกาย
    สุนัขป่วยติดโรคโดยการหายใจเอาเชื้อเข้าไป อาจโดยจมูกต่อจมูกสัมผัสกัน หรือละอองไวรัสจากปากหรือจมูกสัตว์ป่วยเข้าไปทางจมูก ปากหรือเยื่อตา เชื้อเพิ่มจำนวนและผ่านหลอดน้ำเหลืองสู่ต่อมน้ำเหลือ งต่าง ๆ ในวันที่ 2-4 หลังจากรับเชื้อ ต่อมาต่อมน้ำเหลืองจะถูกทำลายพร้อมกับไวรัสเพิ่มจำนว น ในวันที่ 4-6 สัตว์จะมีไข้สูง หลังจากนั้นเชื้อไวรัสจะเข้าสู่เยื่อบุอวัยวะต่าง ๆ และเนื้อเยื่อสมองส่วนกลางในวันที่ 8-9 หลังจากรับเชื้อโดยการแพร่ไปทางกระแสเลือด ถ้าสัตว์ที่ร่างกายมีภูมิคุ้มกันสูง จะป้องกันไวรัสไม่ให้เข้าไปในเยื่อบุอวัยวะต่าง ๆ และยับยั้งการแพร่ของไวรัสและอาการป่วยจะหายไปในวันท ี่ 14 แต่ถ้าสัตว์ป่วยไม่มีภูมิคุ้มกันในระดับที่สูงพอ ไวรัสจะกระจายเข้าสู่เซลล์บุต่าง ๆ ของทางเดินอาหาร ทางเดินหายใจ ทางเดินระบบสืบพันธุ์และขับถ่าย ตลอดจนผิวหนังและต่อมต่าง ๆ ซึ่งจะแสดงอาการต่าง ๆ ให้เห็น ในขณะเดียวกันภูมิคุ้มกันภายในร่างกายจะค่อย ๆ สูงขึ้นช้า และอาจทำให้สัตว์หายป่วยได้ ถ้าสายพันธุ์ของไวรัสที่สัตว์ได้รับไม่รุนแรงมากหรือ ไม่มีโรคอื่นแทรกซ้อน อย่างไรก็ตามมีโอกาสที่ไวรัสจะยังคงอยู่ในเนื้อเยื่อ ที่สำคัญบางส่วนเช่น ในม่านตา ในเซลล์ประสาท และฝ่าเท้า ซึ่งจะเป็นสาเหตุของอาการทางประสาทในระยะต่อมา

    อาการของสุนัขที่เป็นโรค
    อาการของโรคไขหัดสุนัขมีหลากหลาย สุนัขที่ติดเชื้ออาจไม่แสดงอาการให้เห็น หรือแสดงอาการไม่รุนแรง ไปจนถึงประเภทรุนแรง และตามด้วยอาการทางประสาทไปจนถึงสุนัขตาย
    อาการที่พบ เช่น ไข้สูง และลดลงมาเป็นปกติในวันที่ 7-14 ระยะต่อมามีน้ำตาใส ๆ และกลายเป็นหนองข้น
    ไม่กินอาหาร บางครั้งอาเจียนเนื่องจากทอนซิลอักเสบ
    มีน้ำมูกใสต่อมากลายเป็นมูกหนอง ระยะต่อมาจะไอและหายใจลำบาก
    ท้องเสียเป็นมูก หรือปนเลือด และอาเจียน
    ตุ่มหนองตามผิวหนัง ฝ่าเท้าแข็งมักพบในรายเรื้อรัง บางรายพบปลายจมูกแข็ง
    ที่ตาพบ แผลหลุมลึกที่กระจกตา สัตว์ป่วยสูญเสียการมองเห็น เนื่องจากประสาทตาอักเสบ
    กล้ามเนื้อกกหูสั่นกระตุก กล้ามเนื้อขากระตุก ขาหลังอ่อนแรง เดินโซเซ เดินวน เดินเอียง ตากรอก ชักแบบเคี้ยวปาก

    จะป้องกันและรักษาโรคนี้ได้อย่างไร
    ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาที่ได้ผล การให้การรักษา เป็นการรักษาตามอาการและเพียงเพื่อบรรเทาอาการลง สัตว์ป่วยบางรายขณะตรวจยังไม่มีอาการทางประสาท แต่อาจมีอาการทางประสาทได้ในเวลาต่อมา
    สุนัขอายุน้อยจะได้รับภูมิคุ้มกันโรคจากแม่ผ่านทางนม น้ำเหลือง และสามารถคุ้มโรคได้จนอายุ 6-8 สัปดาห์ ดังนั้น จึงควรพาสุนัขไปฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคไข้หัดสุนัข ตั้งแต่อายุ 6 สัปดาห์ และสัตวแพทย์จะกำหนดวันที่ต้องฉีดกระตุ้นวัคซีนให้กั บสุนัขของท่าน หลังจากนั้นสุนัขควรได้รับการฉีดวัคซีนซ้ำเป็นประจำท ุกปี
    แม้ไข้หัดสุนัขจะฟังดูน่ากลัว เพราะป่วยแล้วมีโอกาสตายสูง ไม่มีวิธีรักษาเฉพาะ แต่เรามีวิธีป้องกันโรคที่ได้ผล และผู้เลี้ยงสุนัขทุกท่านควรให้ความสำคัญกับการฉีดวั คซีนป้องกันโรคต่าง ๆ ในสุนัขเพราะให้ผลในการป้องกันโรคได้ดี และค่าใช้จ่ายในการป้องกันโรคจะประหยัดกว่าค่ารักษาอ ย่างมาก
  • ขอบคุณ ความรู้อีกหนึ่งอย่าง :063::063:
  • โรคหัดเยอรมันของคนไม่ติดสุนัขครับ ส่วนเชื้อไวรัสหัดสุนัข สามารถทำให้ตาคนเราอักเสบได้ (เป็นเฉพาะที่ครับ) แต่ไม่ทำให้คนเราป่วยเหมือนสุนัขครับ จึงถือว่าไม่ติดคนและก่อให้เกิดโรครุนแรง

    รายละเอียดมีดังนี้ครับ

    โรคหัดเยอรมัน (Rubella)


    เป็นโรคไข้ออกผื่นชนิดหนึ่ง ซึ่งมีอาการไม่รุนแรงในเด็กแต่เป็นโรคที่มีความสำคัญ เพราะถ้าสตรีมีครรภ์เป็นโรคหัดเยอรมันในระยะ 3-4 เดือนแรก เชื้อไวรัสจะผ่านไปยังทารกในครรภ์ ทำให้เกิดความพิการทางหู ตา หัวใจ และสมอง โรคหัดเยอรมันสามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน



    สาเหตุ

    ไวรัส Rubella เป็น RNA ไวรัส ซึ่งจัดอยู่ในตระกูล Togaviridae และในกลุ่ม Rubivirus



    ระบาดวิทยา

    โรคหัดเยอรมันติดต่อกันได้โดยการสัมผัสโดยตรง เชื้อที่อยู่ใน nasopharynx ออกมาทางการไอ จาม เข้าสู่ทางระบบการหายใจ ประมาณร้อยละ 20-50 ของผู้ติดเชื้อจะไม่มีอาการ ระยะที่ติดต่อกันได้มากคือ 2-3 วัน ก่อนมีผื่นขึ้นไปจนถึง 7 วันหลังผื่นขึ้น สำหรับทารกที่ติดเชื้อตั้งแต่ในครรภ์ (Congenital rubella) เชื้อไวรัสจะอยู่ในลำคอและขับถ่ายออกมาทางปัสสาวะได้นานถึง 1 ปี จึงนับเป็นแหล่งแพร่โรคที่สำคัญ

    ในระยะก่อนที่จะมีวัคซีน โรคหัดเยอรมันมักจะเกิดการระบาดเป็นระยะๆ ทุก 6-9 ปี และส่วนใหญ่จะเป็นกับเด็ก ผู้ใหญ่ที่ไม่มีภูมิคุ้มกันเป็นได้และรุนแรงมากกว่าเด็ก และที่สำคัญคือถ้าเป็นในหญิงมีครรภ์ จะทำให้ลูกเป็น Congenital rubella ได้ตั้งแต่ร้อยละ 25-40 ทั้งนี้แล้วแต่ระยะของการตั้งครรภ์

    ระยะฟักตัวของโรคระหว่าง 14-21 วัน เฉลี่ย 16-18 วัน



    อาการและอาการแสดง

    1) ในเด็กโต จะเริ่มด้วยต่อมน้ำเหลืองที่หลังหู ท้ายทอย และด้านหลังของลำคอโต และเจ็บเล็กน้อย เด็กโตจะรู้สึกไม่สบาย ปวดหัว ไข้ต่ำๆ มีอาการคล้ายเป็นหวัด เจ็บคอร่วมด้วย 1-5 วัน ประมาณวันที่ 3 ผื่นจะขึ้นเป็นสีชมพูจางๆ กระจายอยู่ห่างๆ เป็นแบบ Macular rash เริ่มขึ้นที่หน้าแล้วลามไปทั่วตัวอย่างรวดเร็วภายใน 24 ชั่วโมง ผื่นเห็นชัดเจนบริเวณแขนขา และจะหายไปในเวลา 1-2 วัน และสีผิวหนังจะกลับเป็นปกติ ถ้าเป็นในผู้ใหญ่จะมีไข้สูงกว่าในเด็ก บางรายอาจมีอาการปวดข้อหรือข้ออักเสบร่วมด้วย โดยเฉพาะในผู้หญิง

    2) Congenital rubella อาการแตกต่างกันแล้วแต่ระยะที่แม่ติดเชื้อ ถ้าแม่เป็นในระยะ ตั้งครรภ์ 1-4 สัปดาห์ จะพบทารกมีความพิการได้ถึงร้อยละ 30-50 สัปดาห์ที่ 5-8 พบได้ร้อยละ 25 และสัปดาห์ที่ 9-12 พบพิการได้ร้อยละ 8 ความพิการที่พบได้บ่อยคือ ความพิการทางตา (พบเป็น ต้อกระจก ตาเล็ก ต้อหิน) ความพิการที่หัวใจ หูหนวก ความผิดปกติทางสมอง สมองและหัวเล็ก แรกเกิดจะพบมีตับ ม้ามโต มีอาการตัวเหลือง มีจ้ำเลือดตามตัว และเกล็ดเลือดต่ำ อาการผิดปกติเหล่านี้พบได้ในความรุนแรงต่างกัน และอาจพบได้หลายอย่างร่วมกัน



    การวินิจฉัยโรค

    จากการแยกเชื้อไวรัสจากน้ำมูก swab จากคอ จากเลือด ปัสสาวะ และน้ำไขสันหลัง ใน Congenital rubella เชื้อจะอยู่ได้นานเป็นปี โอกาสแยกเชื้อจึงเป็นไปได้สูง การตรวจหาระดับ antibody ในเลือด โดยวิธี HAI ปัจจุบันใช้วิธีตรวจหา IgM antibody โดยวิธี ELISA ในการวินิจฉัยโรค



    การรักษา

    เป็นการรักษาตามอาการ



    การแยกผู้ป่วย

    เด็กที่ติดเชื้อทั่วไป แยกจนครบ 7 วันหลังผื่นขึ้น ใน Congenital rubella อาจมีเชื้ออยู่ได้นานถึง 1 ปี จึงต้องแยกจากเด็กอื่นๆ เป็นเวลา 1 ปี นอกจากว่าจะติดตามตรวจแยกเชื้อไวรัสใน nasopharynx และในปัสสาวะเมื่ออายุ 3-6 เดือนแล้วไม่พบเชื้อไวรัส



    การป้องกัน

    หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วย โดยเฉพาะหญิงมีครรภ์ วิธีที่ดีที่สุดคือให้วัคซีนป้องกันในรูปของวัคซีนหัดเยอรมันอย่างเดียว (R) หรือวัคซีนรวมกับหัดและคางทูม (MMR) โดยให้ 1 ครั้ง ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ภูมิคุ้มกันจะเกิดขึ้นร้อยละ 90 และอยู่ได้นาน ถ้าใช้รวมกับวัคซีนหัด เริ่มเมื่อ 9-12 เดือน และให้ซ้ำเมื่อเข้าเรียนชั้นประถมปีที่ 1




    ไข้หัดสุนัข หรือ canine distemper

    เป็นโรคที่เกิดขึ้นในสัตว์ตระกูลสุนัข ไข้หัดเป็นโรคชนิดที่มีผลต่อประชากรสุนัขในโลกมากที่สุดโรคหนึ่ง. สุนัขที่โตเต็มที่ที่ติดเชื้อนี้มากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์จะตาย ส่วนในลูกสุนัขอัตราการป่วยตายประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ ในสุนัขบางตัวที่ป่วยและมีภูมิต้านทานต่อเชื้อ สุนัขอาจจะไม่ตายจากการติดเชื้อ แต่มักจะมีความผิดปกติ(ตลอดไป) เช่น เกี่ยวกับระบบประสาท เนื่องจากเชื้อไวรัสทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบประสาท รวมทั้งประสาทรับกลิ่น การฟัง หรือแม้กระทั่งเกี่ยวกับการมองเห็น ส่วนอาการที่ทำให้เกิดอัมพาตบางส่วน หรือทั้งตัวพบได้น้อย ส่วนโรคอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปอดชื้นเป็นภาวะที่พบได้บ่อยมาก มักเกิดแทรกซ้อนขึ้นเมื่อสุนัขมีความอ่อนแอจากการติดเชื้อไวรัสไข้หัด ลูกสุนัข หรือสุนัขที่มีอายุน้อยมักจะไวต่อการติดเชื้อ แต่โรคนี้ก็สามารถเกิดขึ้นในสุนัขที่มีอายุมากได้เช่นกัน แต่พบได้น้อยกว่า นั่นหมายความว่าโรคไข้หัดสุนัขพบได้ในสุนัขทุกอายุ แมวเป็นสัตว์ที่ไม่ไวต่อการติดเชื้อไข้หัดสุนัข ส่วนโรค "ไข้หัดแมว หรือ feline distemper" เป็นโรคที่แตกต่างไปจากโรคไข้หัดสุนัข เนื่องจากเกิดจากเชื้อไวรัสต่างชนิดกัน โรคตับอักเสบชนิดติดต่อเป็นอีกโรคหนึ่งที่พบในสุนัข โรคนี้ในบางครั้งสามารถพบได้ว่าสุนัขมีการติดเชื้อพร้อมกับโรคไข้หัดสุนัขได้ ทั้งโรคไข้หัดสุนัขและโรคตับอักเสบติดต่อในสุนัขไม่ติดคน


    หมอ พิทบูล