ยินดีต้อนรับครับ

ขอแนะนำให้ทุกท่าน สมัครสมาชิก เพื่อป้องกันการแอบอ้างชื่อครับ

Mark Mafia

วิธีดูแลสุนัขแก่
  • โดยทั่วไป หากเราใช้อายุเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา คนเรานั้นจะถูกเรียกว่าเป็นคนแก่หรือสูงวัยก็เมื่ออายุล่วงเข้า 50 – 60 ปี แค่ถ้าเราไม่ทราบตัวเลขจริงๆ ความแก่หรือความเสื่อมของร่างกายที่ปรากฏให้เห็นเป็นรูปธรรม ก็น่าจะขึ้นอยู่กับการใช้งานและการดูแลรักษาของเจ้าของร่างกาย ซึ่งในแต่ละคนดูอ่อนวัย แกกว่าหรือเท่ากับอายุจริงก็ได้
    ร่างกายที่ถูกใช้งานมานานก็ย่อมจะมีการสึกหรอเสื่อมสภาพและประสิทธิภาพในการทำงานลดน้อยลงไป โอกาสในการเกิดโรคหรือความผิดปกติต่างๆที่อาจจะถึงแก่ชิวิตก็เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัวดังนั้นร่างกายจึงต้องการการดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ หรือเพิ่มเติมจากตอนที่ยังเป็นหนุ่มสาว หรืออยู่ในวัยกลางคนในสุนัขที่อายุมากหรือแก่ชราก็มีความต้องการการเอาใจใส่เป็นพิเศษเช่นเดียวกัน จะต่างกันตรงที่สุนัขไม่มีความสามารถที่จะดูแลตัวเอง เอาใจใส่ตัวเองดได้เหมือนกับคนเรา

    สุนัขที่มีอายุขัยที่สั้นกว่าคนเรามากดังนั้นถ้าเทียบในช่วงเวลาที่เท่ากัน สุนัขจะแก่กว่าคนเรา หรือพูดง่ายๆก็คือแก่เร็วกว่าคนนั่นเอง ถ้านับอายุโดยเฉลี่ยแล้วสุนัขจะแก่เร็วกว่าคนเราประมาณ 7 เท่า สุนัขพันธุ์ใหญ่ที่มีแนวโน้มที่จะแก่เร็วกว่าสุนัขพันธุ์เล็กๆ ลองดูจากตารางเปรียบเทียบอายุ ว่าสุนัขของเราเอง ตัวขนาดนี้ถ้าเทียบอายุกับคนเราแล้วตอนนี้มีอายุเท่าไรกันบ้างแล้ว

    ตารางเปรียบเทียบอายุสุนัข
    http://www.pukpuiclub.com/วิธีดูแลสุนัขแก่/


    เมื่อสุนัขสูงวัยต้องดูแลอะไรบ้าง

    การดูแลสุนัขที่มีอายุมากขึ้นก็เริ่มตั้งแต่เรื่องอาหารการกินกันเลยค่ะ เนื่องจากความต้องการสารอาหารแต่ละชนิดรวมทั้งพลังงานจากอาหารนั่นเอง มีความแตกต่างกันจากสุนัขในวัยอื่นๆ ถ้าให้อาหารสำเร็จรูปที่มีคุณภาพที่ดีอยู่แล้วก็จะสะดวกหน่อยค่ะ เพราะจะมีสูตรอาหารสำหรับสุนัขที่มีอายุมากขึ้นโดยเฉพาะ แต่ถ้าให้เปลี่ยนกันทั้งประเภทและปริมาณอาหาร หลักการง่ายๆก็คล้ายกับคนสูงอายุนั่นเองค่ะ คือ เลี่ยงอาหารรสจัดทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นเค็มจัด มันจัด หวานจัด เลือกอาหารที่ย่อยง่าย ซึ่งจะเป็นผลดีกับระบบย่อยอาหาร และมีกากอาหารมากๆเพื่อช่วยให้ระบบขับถ่ายด้วย เพราะสุนัขที่อายุมากขึ้นจะมีกิจกรรมหรือใช้พลังงานลดลง ดังนั้นถ้ากินในปริมาณเท่าเดิมก็จะมีพลังงานส่วนเกิน ทำให้เกิดโรคความอ้วนตามมา การควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมจะช่วยลดโอกาสในการเกิดโรค หรือความผิดปกติต่างๆอีกมากมายเช่นเดียวกับคนเรา




    เมื่อสุนัขมีอายุประมาณ 6-7 ปี ควรนำสุนัขไปพบหมอเพื่อตรวจสุขภาพปีละ 2 ครั้ง การตรวจสุขภาพปีละ 2 ครั้ง การตรวจสุขภาพนอกจากจะตรวจร่างกายขั้นพื้นฐานแล้ว ควรจะตรวจอย่างอื่นเพิ่มด้วย ได้แก่ ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ และอุจจาระ เป็นต้น ฟังดูแล้วการไปพบหมอปีละ 2 ครั้งอาจจะเยอะนะคะ แต่ถ้าลองย้อนกลับไปดูข้อมูลในตอนเกี่ยวกับอายุขัย และความแก่ชราของสุนัขเมื่อเทียบกับคนแล้วจะเห็นว่าสุนัขแก่เร็วกว่าคนเราถึง 7 เท่า ดังนั้นการพบหมอทุก 6 เดือน ก็เทียบได้กับคนเราไปพบหมอทุก 3-4 ปี การที่เราตรวจสุขภาพเขาอย่างสม่ำเสอมนี้ จะช่วยบอกได้ว่ามีโรคหรือความผิดปกติอะไรเกิดขึ้นตั้งแต่ระยะเริ่มแรกเพื่อที่จะทำการรักษาได้อย่างทันการ

    พฤติกรรมของสุนัขก็เป็นอีกอย่างหนึ่งที่จะเป็นตัวช่วยบอกเราได้ว่ามีความผิดปกติขึ้นกับสุนัข พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปอาจจะเป็นอาการ หรือสัญญาณเริ่มแรกของโรค หรือความผิดปกติ อย่างเช่น หงุดหงิดมากขึ้น สุนัขบางตัวอาจจะปลีกตัวไม่เล่น ไม่สนใจใคร หลับไม่สนิท อุจจาระ หรือปัสสาวะไม่เป็นที่เป็นทางอย่างที่เคย เป็นต้นนอกจากี้พฤติกรรมบางอย่างยังช่วยบ่งชี้ถึงโรค หรือความผิดปกติบางอย่างได้อย่างเด่นชัดอีกด้วย เช่น โรคข้ออักเสบ สุนัขจะมีอาการเดินเกร็งๆเจ็บปวด ไม่ค่อยอยากจะเดิน กระโดด ลุกนั่ง ไม่ขึ้นบันได หรือ เปลี่ยนอิริยาบถด้วยความยากลำบาก โรคผิวหนังบางอย่างมักจะเกิดเมื่ออายุมากขึ้นเนื่องจากกลไกการทำงานต่างๆของร่างกายเปลี่ยนไปการกินน้ำมากขึ้น ปัสสาวะมากขึ้นและบ่อยขึ้นกินอาหารน้อยลง ช่วยบ่งชี้ว่าอาจจะมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับไต เป็นต้น

    สุขภาพในช่องปากก็เป็นอีกเรื่องที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ ปัญหาในช่องปากเองก็มักจะมากขึ้นตามอายุ เราสามารถสังเกตความผิดปกติได้จากสุนัขมีน้ำลายไหลมากผิดปกติ มีเลือดออกในช่องปาก ปากเหม็นเหงือกมีการอักเสบย บวมแดง ซึ่งถ้าเกิดอย่างรุนแรงก็จะทำให้สุนัขพาลไม่อยากกินอาหารไปเลยก็ได้ และที่สำคัญไม่น้อยไปกว่ากันคือการติดเชื้อในช่องปากนั้นสามารถลุกลามไปที่หัวใจ ตับ ไต โดยผ่านไปทางกระแสเลือดได้ด้วย

    อีกอย่างที่พบเห็นได้บ่อยก็ได้แก่ การมองเห็น สายตาฝ้าฟาง ขุ่นมัว การเดินชนสิ่งของ เฟอร์นิเจอร์ เป็นสิ่งที่เจ้าของสังเกตพบได้ ในกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขให้มองเห็นได้เลย ก็ควรจัดการที่อยู่อาศัยไม่ให้เกิดอันตรายกับเขา ไม่ควรเปลี่ยนแปลงหรือจัดบ้านใหม่บ่อยๆโดยไม่จำเป็น เพราะเขาจะได้เรียนรู้และจดจำโดยใช้การได้ยินและดมกลิ่นแทนการมองเห็น

    การดูแลสุนัขสูงวัยคงจะไม่ยากเกินไป เราอาจจะต้องให้เวลาเขาเพิ่มขึ้นอีกสักนิด ในขณะที่สิ่งที่เราได้กลับมาคือเวลาที่เขาจะสามารถมีชีวิตอยู่กับเราได้นานขึ้น ที่สำคัญเป็นการอยู่ที่มีความสุขไม่เจ็บป่วยทรมาน แต่การที่เขาจะเป็นสุนัขสูงวัยที่มีสุขภาพดีได้ คงไม่ใช่การดูแลที่ดีในตอนที่เขามีอายุมากแล้วเท่านั้น คงต้องเริ่มตั้งแต่แรกที่เรานำเขาเข้ามาเป็นสมาชิกของครอบครัว ซึ่งจัดเป็นพื้นฐานที่ดีในการเป็นสุนัขที่มีสุภาพดีไปจนตลอดอายุขัย
  • หลายกระทู้แล้วคับตั้งกระทู้ติดๆเลย ระวังโดนด่านะคับ
  • กระทู้ดีมีประโยชน์คงไม่มีใครว่าหรอกครับ เป็นกำลังใจให้ครับ
  • ทฤษฎี 20% ปฏิบัติ 80% :063::063: