ยินดีต้อนรับครับ

ขอแนะนำให้ทุกท่าน สมัครสมาชิก เพื่อป้องกันการแอบอ้างชื่อครับ

Mark Mafia

ฝากให้พิจารณา
  • พอดีวันนี้ว่าง เลยนั่งหากฏเกี่ยวกับกีฬาการลากน้ำหนัก เสร็จก็นั่งทำความเข้าใจ
    และก็เลยร่างคราวๆ มาให้เพื่อนๆ พิจารณากัน ลองดูนะครับ เห็นด้วยไม่เห็นด้วย
    ก็เสนอกันมาได้นะครับ ทางกรรมการที่เกี่ยวข้องกับพิทบูลในแนวกิจกรรมจะได้
    นำไปพิจารณา ออกกฏเกณฑ์มาตรฐานมาให้พวกเราได้เล่นกัน

    เริ่มกันเลยนะครับ

    กฎกติกการลากน้ำหนัก
    กีฬาการลากน้ำหนักเป็นกีฬาที่จะหาค้นหาสุดยอดความแข็งแรงของสุนัข โดยวัดกัน
    ที่สุนัขที่ลากน้ำหนักได้มากที่สุดในแต่ล่ะรุ่น

    กฏกติกาทั่วไป
    - รางลากก็ใช้ตามที่มาตรฐาดีวันเป็นคนทำขึ้นมา หากมีความลากชันจะต้องเป็นทาง
    ที่ให้สุนัขลากขึ้นเท่านั้น สนามจะต้องมีสิ่งกีดขวางไม่ให้ผู้ชมเข้ามาในสนามลาก
    หากใช้สนามกลางแจ้งควรจะต้องเป็นพื้นแข็งไม่ทรุด หากเป็นสนามในร่มสนามจะต้อมี
    ความฝืดหรือลากบนพรม
    กรรมการต้องมีอย่างน้อย 3 คน คนแรกจะทำหน้ราที่เป็นหัวหน้ากรรมการผู้ถึงมีอำนาจ
    ในการชี้ขาด ส่วนกรรมการอีกสองคนเป็นผู้ร่วมพิจารณา
    ผู้เข้าร่วมแข่งขันทั้งหมดจะต้องดูแลและรับผิดชอบสุนัขของตัวเองตลอดเวลาทั้งก่อน
    และหลังการแข่งขัน หากไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดมีสิทธิจะถูกตัดสิทธิในการแข่งขัน
    สุนัขที่ลงแข่งทุกตัวจะต้องเก็บไว้ในพื้นที่กำหนดให้เท่านั้นและห้ามไม่ให้พาเดินสะเป่สะปะ
    ยกเว้นกรณีการนำสุนัขเข้าสู่สนามแข่งขัน
    สุนัขทุกตัวที่อยู่ในสนามจะต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของเจ้าของและจะต้องอยู่ในสาย
    จูงหรือชุดลาก สายจูงจะปลดออกกได้ก็ต่อเมื่อชุดลากได้ถูกเกี่ยวกับรถลากแล้วเท่านั้น
    ห้ามสุนัขที่เป็นสัดเข้าทำการแข่งขันหรือพามายังสนามแข่งขันทุกกรณี (ไม่มีข้อยกเว้น)
    ห้ามไม่ให้สุนัขที่กำลังตั้งท้องเข้าร่วมการแข่งขันทุกกรณี (ไม่มีข้อยกเว้น)
    ห้ามสุนัขที่ป่วยเข้าร่วมแข่งขันหรือมายังสนามแข่งทุกกรณี (ไม่มีข้อยกเว้น)
    ห้ามสุนัขที่มีจิตประสาทที่ไม่มั่นคง ก้าวร้าวลงแข่งขัน หากพบว่าสุนัขมีอาการดังกล่าวกรรมการ
    มีสิทธิตัดสิทธิ์ไม่ให้ร่วมการแข่งขัน
    ห้ามจับต้องตัวสุนัขเมื่อกรรมการเริ่มจับเวลาในการแข่งขัน รวมถึงห้ามจับต้องรถลากจนกว่า
    สุนัขจะลากเข้าเส้นหรือกรรมการหยุดการจับเวลา ผู้เรียกสามารถใช้เสียงหรือสัญญาณมือใน
    การเรียกให้สุนัขลากได้และเมื่อถึงเส้นกำหนดและกรรมการประกาศหยุดเวลาแล้วผู้เรียกสามารถ
    ให้ของรางวัลกับสุนัขของเค้าได้
    ระหว่างการลากห้ามใช้อุปกรณ์ที่ทำให้เกิดเสียง สายจูง สายรัดปาก หรือสิ่งต่างๆ ที่จะล่อให้
    สุนัขหลอกให้สุนัขเล่้นและดึงรถลาก
    สุนัขที่เข้าร่วมการแข่งขันทุกตัวจะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 9 เดือนขึ้นไปและต้องมีอายุไม่เกิน 8 ปี
    สุนัขที่จะลงแข่งทุกตัวจะต้องมารายงานตัวก่อนล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 นาที หลังจากนั้นถือ
    ว่าสละสิทธิ โดยระหว่างการรายงานตัวกรรมการจะทำการชั่งน้ำหนักสุนัข
    ห้ามใข้ยาหรือสารกระตุ้นใดๆกับสุนัขที่จะลงแข่งขัน
  • การแบ่งรุ่นของสุนัข
    การแข่งขันทุกแบ่งออกเป็น 4 รุ่น ดังนี้
    รุ่นน้ำหนัก 20 – 25 กิโลกรัม (สุนัขต้องมีน้ำหนักไม่เกิน 25 กิโลกรัม ถ้าเกินต้องไปแข่งรุ่นถัดไป)
    รุ่นน้ำหนัก 25 – 30 กิโลกรัม (สุนัขต้องมีน้ำหนักไม่เกิน 30 กิโลกรัม ถ้าเกินต้องไปแข่งรุ่นถัดไป)
    รุ่นน้ำหนัก 30 – 35 กิโลกรัม (สุนัขต้องมีน้ำหนักไม่เกิน 35 กิโลกรัม ถ้าเกินต้องไปแข่งรุ่นถัดไป)
    รุ่นน้ำหนัก 35 กิโลกรัม หรือมากกว่า
    เศษของน้ำหนักตัวจะถูกปัดขึ้นทุกครั้ง ไม่มีข้อยกเว้น
    การชั่งน้ำหนักจะทำการชั่งน้ำหนักร่วมบล็อกก่อนจากนั่นจะหักลบด้วยน้ำหนักบล็อกเพื่อคัดรุ่น
    ให้กับสุนัขที่ร่วมการแข่งขัน
    สุนัขที่ชนะในรุ่นของตนเองไม่สามารถร่วมแข่งในรุ่นอื่นๆ ได้ ยกเว้นแต่ว่าในรุ่นของตนเองไม่มี
    ผู้เข้าร่วมการแข่งขันถึงจะอนุญาตให้นำสุนัขไปลงในรุ่นที่มีน้ำหนักมากกว่าเสมอแต่จะไม่ให้ลง
    แข่งในรุ่นที่ต่ำกว่า
  • อุปกรณ์
    สุนัขที่เข้าร่วมการแข่งขันจะต้องมีชุดลากเป็นของตัวเอง และชุดลากจะต้องอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์
    โดยกรรมการจะเป็นผู้พิจารณา หากชุดลากไม่สมบูรณ์กรรมการมิสิทธิตัดสิทธิในการแข่งขัน สุนัข
    สามารถใส่ปลอกคอได้ แต่ไม่อนุญาตให้ใส่โซ่กระตุก ปลอกคอหนาม หรือปลอกคอไฟฟ้า ระหว่าง
    การแข่งขันหากชุดลากเกิดความเสียหายผู้ลงแข่งจะต้องจัดหาชุดลากมาใหม่หรือจัดการซ่อมชุดลาก
    ให้อยู่ในสภาพที่พร้อมในการลาก หากไม่มีหรือไม่สามารถซ่อมได้ กรรมการมีสิทธิสั่งหยุดการ
    แข่งขันและตัดสิทธิได้

    การโหลดน้ำหนัก
    รถลากควรจะต้องสามารถรับโหลดน้ำหนักได้อย่างน้อย 1500 กิโลกรม อย่างปลอดภัย
  • การแข่งขัน
    น้ำหนักเริ่มต้นในการแข่งขัน 700 กิโลกรัม (รวมรถลาก) และจะเพิ่มทุกๆ 200 กิโลกรัม
    ทั้งนั้นทั้งนี้ให้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของกรรมการในการแข่งขันในแต่ล่ะสนาม
    ระหว่างการแข่งขันจะต้องมีเพียงสุนัขและผู้เรียกเท่านั้น โดยผู้เรียกจะต้องอยู่ด้านหน้าสุนัข
    ในจุดที่กำหนดให้เท่านั้น ห้ามมิให้บุคคลที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามาบริเวณสนาม ยกเว้น
    กรรมการและเจ้าหน้าที่โหลดน้ำหนัก หยุดรถ ดึงรถกลับไปในตำแหน่งเริ่มต้น
    สุนัขที่เข้าแข่งขันจะต้องลากจากจุดเริ่มต้นไปยังจุดสิ้นสุดและเมื่อรถมาถึงจุดสิ้นสุดกรรมการ
    จะกดหยุดเวลาและจะประกาศเวลาให้ทราบ
    การจับเวลาจะเริ่มจับเมื่อผู้เรียกสุนัขส่งสัญญาณหรือเรียกสุนัขของเค้า
    สุนัขมีเวลา 60 วินาทีในการลากน้ำหนักเข้าสู่เส้นสิ้นสุด ถ้าหากเกินกว่า 60 วินาทีถือว่าไม่ผ่าน
    สุนัขมีโอกาสแก้ตัวได้อีก 1 ครั้ง ที่น้ำหนักเดิม หากไม่สามารถทำได้ในครั้งที่สองถือว่าสิ้นสุด
    การแข่งขัน ให้นับน้ำหนักที่ลากได้ก่อนหน้านี้ กรรมการจะไม่ให้คะแนนในรอบที่สุนัขลากน้ำหนัก
    เกินกว่า 60 วินาที
    กรรมการจะทำการตรวจสอบตำแหน่งของรถลากที่ถูกต้องทุกครั้งก่อนก่อนแข่ง เมื่อถึงเวลาแข่ง
    ห้ามมิให้บุคคลใดจับต้องรถลาก นอกจากการร้องขอจากผู้เรียกสุนัข
    ผู้เรียกน้ำหนักสามารถข้ามน้ำหนักได้ตลอด แต่หากสุนัขไม่สามารถลากในน้ำหนักที่ผู้เรียกลงแข่ง
    ผู้เรียกไม่มีสิทธิให้เจ้าหน้าที่โหลดน้ำหนักออกและให้ถือว่าสุนัขลากได้ที่น้ำหนักสุดท้ายที่สุนัขลาก
    กรรมการมีสิทธิหยุดการแข่งขันได้ทุกกรณี หากพิจารณาแล้วว่าสุนัขอาจได้รับบาดเจ็บหรือบาดเจ็บ
    จากการลาก
    ทุกครั้งที่สุนัขทำการลงแข่งจะมีกรรมการบันทึกเวลารวมถึงน้ำหนักที่สุนัขลากได้ หากในรุ่นเดียวกัน
    มีสุนัขที่ลากได้ในน้ำหนักเท่ากันให้เอาน้ำหนักตัวสุนัขเป็นตัววัด สุนัขตัวใดน้ำหนักน้อยกว่าถือเป็น
    ผู้ชนะในรุ่น
    วัน เวลา และ สภาพอากาศในวันแข่งขันจะมีการรายงานและจดบันทึก โดยจะยึดจากรายงานสภาพ
    อากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา (กรณีการแข่งไม่ได้อยู่ภายในอาคารที่มีการควบคุมอุณหภูมิ)
    ประเภทของพื้นผิว ขนาดของก้อนน้ำหนัก ระยะชัน จะถูกประกาศให้ทราบก่อนการแข่งขันและจะมี
    การจดบันทึกไว้ทุกครั้ง
    กรรมการเป็นผู้มีสิทธิขาดในการตัดสิน ผู้เข้าร่วมการแข่งขันจะต้องเคารพในคำตัดสินของกรรมการ
    หากมีผู้ที่ไม่เห็นด้วยในคำตัดสินของกรรมการ และต้องการประท้วงคำตัดสินจะต้องทำอย่างเป็น
    ทางการทันที ภายใน 30 นาที ก่อนการแข่งขันจะสิ้นสุด (ระหว่างนี้จะหยุดการแข่งขันชั่วคราว)
    โดยผู้ประท้วงจะประท้วงด้วยวาจาก่อนและจากนั้นจะต้องเขียนบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร
    โดยอ้างถึงสาเหตุของการประท้วง
  • การบันทึกตำแหน่งให้กับสุนัขที่เข้าร่วมการแข่งขันการลากน้ำหนัก
    เพื่อให้กีฬาการลากน้ำหนักเป็นที่ยอมรับและเป็นการยกย่องและให้เกรียติกับสุนัขที่
    เข้าร่วมการแข่งขัน สุนัขที่เข้าร่วมการแข่งขันที่เป็นสุนัขที่ลงทะเบียนไว้กับสมาคม ABC
    หากทำการลงแข่งครบจำนวนดังต่อไปนี้ จะได้ระบุตำแหน่งเป็น “สุนัขนักกีฬาลากน้ำหนัก”
    ในใบทะเบียนประวัติและในทะเบียนประวัติออนไลท์
    1. หากลงแข่งขันลากน้ำหนักครบ 12 ครั้ง ทางสมาคม ABC จะออกประกาศตำแหน่ง
    “สุนัขนักกีฬาลากน้ำหนักประเภท 1”
    2. หากลงแข่งขันลากน้ำหนักครบ 18 ครั้ง ทางสมาคม ABC จะออกประกาศตำแหน่ง
    “สุนัขนักกีฬาลากน้ำหนักประเภท 2”
    3. หากลงแข่งขันลากน้ำหนักครบ 24 ครั้ง ทางสมาคม ABC จะออกประกาศตำแหน่ง
    “สุนัขนักกีฬาลากน้ำหนักประเภท 3”

    การเก็บคะแนนสะสม
    การเก็บคะแนนสะสม ผู้ที่ชนะอันดับที่ 1 อันดับที่ 2 และอันดับที่ 3 จะได้รับคะแนนสะสม
    ดังต่อไปนี้
    ที่ 1 ได้ 10 คะแนน
    ที่ 2 ได้ 7 คะแนน
    ที่ 3 ได้ 4 คะแนน
    สุนัขที่ลากน้ำหนักได้มากที่สุดในแต่ล่ะสนามแข่งขัน (แยกเพศผู้-เมีย) จะได้รับการบวก
    คะแนนเพิ่มให้อีก 15 คะแนน (เอาน้ำหนักที่ที่ลากได้มากที่สุด หารกับน้ำหนักตัว)

    และหากสุนัขที่เก็บคะแนนสะสมได้ครบดังต่อไปนี้จะได้รับถ้วยรางวัลอันทรงเกรียติ รวมถึง
    การประกาศเกรียติยศดังนี้
    สำหรับสุนัขที่ได้รับคะแนนสะสมครบ 100 คะแนน จะได้รับตำแหน่งแชมป์ลากน้ำหนัก
    สำหรับสุนัขที่ได้รับคะแนนสะสมครบ 200 คะแนน จะได้รับตำแหน่งแกรนด์แชมป์ลากน้ำหนัก
    สำหรับสุนัขที่ได้รับคะแนนสะสมครบ 300 คะแนน จะได้รับตำแหน่งซุปเปอร์แกรน์แชมป์ลากน้ำหนัก
  • ควรมีรุ่นต่ำกว่า 20 โลด้วย

    การคิดคะแนนควรมีการบวดแต้มเพิ่มตามจำนวนสุนัขที่ลงแข่งด้วย เช้นมีสุนัข 10 ตัว ตัวที่ได้ที่หนึ่ง จะได้ 10+9= 19 คะแนนในสนามนี้ และถ้าได้ แมกเวท บวกอีก 10 ได้แมกเวทเปอรปอนด์บวกอีก 10 รวมเป็น 39 คะแนน

    เราควรมีการจัดลำดับสุนัขมือหนึ่งหนึ่ง มือสอง ตามคะแนนสะสม เลียนแบบการจัดอันดับนักกอฟล์ หรือนักเทนนิส ดีไหม คนจะได้ส่งลงแข่งบ่อยๆ
  • ขอแสดงความคิดเห็นด้วยครับ
    *****เมื่อพาสุนัขเข้าสนามและเมื่อเกี่ยวตะขอเตรียมลาก ช่วงนี้ น่าจะให้เวลาพี่เลี้ยงกับสุนัข สัก 20-30 วินาที เพื่อเตรียมตัวในการเรียก สร้างความสัมพันธ์ก่อนการลาก
    เหตุผล
    1 อาจจะมีสุนัขบางตัวที่ตื่นสนาม จะไม่ยอมเดิน หากมีการสร้างความสัมพันธ์ สุนัขอาจจะหายตื่นสนามได้
    2 เมื่อสนุขตื่นสนาม(ไม่เดิน) พี่เลี้ยงก็ยังไม่มีความพร้อมที่จะบอกกรรมการ การลากก็จะไม่เกิด ทำให้เสียเวลาในส่วนนี้ไป
    ** น่าจะกำหนดว่า หากเกี่ยวสายเตรียมลากแล้ว ท่านต้องบอกความพร้อมกับกรรมการภายในเวลาที่กำหนด และต้องสั่งลากเท่านั้น
  • ผู้เรียกน้ำหนักสามารถข้ามน้ำหนักได้ตลอด แต่หากสุนัขไม่สามารถลากในน้ำหนักที่ผู้เรียกลงแข่ง
    ผู้เรียกไม่มีสิทธิให้เจ้าหน้าที่โหลดน้ำหนักออกและให้ถือว่าสุนัขลากได้ที่น้ำหนักสุดท้ายที่สุนัขลาก
    ***ด้วยความเคารพ ผมขออนุญาตสมมุติ
    หากมีสุนัขมาร่วมแข่งขัน 10 ตัว ทุกคนตั้งเป้าว่าหมาฉันจะลากที่ 1,000 กก.
    และทุกคนก็เริมน้ำหนักที่ 1,000 กก. ปรากฏว่า ทุกตัวลากผ่าน
    และทุกคนตั้งเป้า รอบต่อไป 2,000 กก. ปรากฏว่าลากไม่ผ่านสักตัว

    *** งานนี้ ผู้ชมได้ดู การลาก 2 เที่ยว ซึ่งน่าจะใช้เวลาไม่ถึง 40 นาที งานก็คงจบ

    ผมมองว่า การที่จะวัดความแข่งแกร่ง อดทน ของพิทบูล มันน่าจะลากสัก 5-6 เที่ยว
  • มันต้องลองดูครับ :-D

    การให้โอกาส และพยายามเอื้อประโยชน์ให้สุนัขได้แสดงความสามารถ ผมว่ามันดีกว่าการตั้งกติกาไว้ตึงเกินจนไม่มีความยืดหยุน เพราะจากกิจกรรมที่ควรจะผ่อนคลายมันจะกลายเป็นความซีเรียสมากเกินไปครับ อย่าลืมว่าสุนัขเขาทำทุกอย่างไปตามสัญชาตญาน เขาไม่ใช่มนุษย์ เขาไม่รู้หรอกว่าอะไรคือกติกา อะไรคือผิด อะไรคือถูก ดังนั้นเราอย่าไปคาดหวังว่าเขาต้องทำทุกอย่างได้ตรงตามความต้องการเราได้ทุกข้อครับ
  • ขอบคุณพี่มุ สำหรับข้อมูลที่ไม่เคยรู้เลยครับ...
    ขออนุญาติเซฟ ครับ
  • ว่าไงว่ากันครับ น้อมรับเสมอ เคารพ กติกาเสมอครับ :-D