ยินดีต้อนรับครับ

ขอแนะนำให้ทุกท่าน สมัครสมาชิก เพื่อป้องกันการแอบอ้างชื่อครับ

Mark Mafia

โรคสำคัญที่พบสุนัข
  • โรคสำคัญที่พบสุนัข

    โรคติดเชื้อไวรัสสำคัญๆ ที่เป็นปัญหาต่อสุขภาพของสุนัขในประเทศไทย มี 5 ชนิด ดังนี้

    1. โรคไข้หัดสุนัข
    สาเหตุ
    - เกิดจากเชื้อ Canine Distemper Virus
    - ถูกทำลายได้ง่ายด้วยความร้อน 50-60 องศาเซลเซียส, ความแห้ง, ผงซักฟอก, น้ำยาที่ละลายไขมันต่างๆ, น้ำยาฆ่าเชื้อทั่วๆ ไป, น้ำยาที่ใช้ทำความสะอาด
    การติดต่อ
    - เชื้อนี้ สามารถติดต่อระหว่างสัตว์ในกลุ่ม Canivore หลายชนิด เช่น สุนัขป่า สุนัขจิ้งจอก
    - ในแมวสามารถติดเชื้อได้ แต่ไม่แสดงอาการ
    - ติดต่อได้ทางอุจจาระ น้ำลาย ปัสสาวะ น้ำมูก น้ำตา
    - การติดต่อที่สำคัญจะผ่านทางอากาศ และการหายใจ
    อาการของโรค
    - ในช่วง 4-7 วันแรก มีไข้สูง
    - 7-14 วันต่อมา อุณหภูมิลดลง
    - เยื่อตาอักเสบ
    - ทอนซิลอักเสบ
    - ในรายที่ไม่รุนแรง อาจมีอาการกระวนกระวาย ร่างกายขาดน้ำ กินอาหารลดลง น้ำหนักตัวลด มีไข้
    - ในรายที่มีอาการรุนแรงขึ้น จะแสดงอาการที่ชัดเจนมากขึ้น เช่น มีน้ำมูกและขี้ตา ไอ หายใจลำบาก ท้องเสีย อาเจียน
    - ในรายที่เป็นมากขึ้น จะมีอาการเด่นชัดที่พบบ่อยในโรคนี้ เช่น มีน้ำมูกใสในช่วงแรกที่เป็นโรค ในช่วงหลังน้ำมูกจะข้น เป็นหนอง, มีขี้ตาขุ่น อาจพบการอักเสบของกระจกตา เกิดแผลหลุมที่กระจกตา, หายใจลำบากและไอ หากมีการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วยจะมีอาการปอดบวมแทรก, มีตุ่มหนองใต้ท้อง, บริเวณจมูกและฝ่าเท้าจะหนาตัวขึ้น หรือที่เรียกว่า ?hard pad?, อาเจียน ท้องเสีย, มีอาการทางประสาท เช่นชัก อัมพาต

    2. โรคตับอักเสบติดต่อในสุนัข
    สาเหตุ
    - เกิดจากเชื้อ Canine Adenovirus-1 หรือ CAV-1
    - มีชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมได้นานหลายวัน หรือเป็นเดือนขึ้นกับอุณหภูมิและความชื้น
    - ถูกทำลายได้ด้วยความร้อน 56 องศาเซลเชียส, สารประกอบไอโอดีน, ฟินอล, NaOH (โซเดียมไฮดรอกไซด์), กลุ่มควอเทอร์นารี่แอมโมเนียม
    การติดต่อ
    - เชื้อ CAV-1 จะออกมากับปัสสาวะของสัตว์ป่วย และแพร่กระจายได้
    - ลูกสัตว์ติดจากแม่ขณะคลอด
    - ติดต่อทางรกส่งผลให้ลูกแรกเกิดอ่อนแอ และตายภายในไม่กี่วันหลังจากคลอด
    - แม่สุนัขที่เป็นโรคนี้จะเป็นพาหะของโรคได้
    อาการของโรค
    - ในลูกสุนัขจะแสดงอาการอ่อนแอ หมดแรง และตายอย่างรวดเร็ว
    - ต่อมทอนซิลขยายใหญ่
    - ไอ และปอดอาจมีเสียงผิดปรกติ เหมือนกับในรายของภาวะปอดบวม
    - อาเจียน และอาจมีท้องเสีย
    - ช่องท้องส่วนหน้ามีอาการเจ็บ
    - คลำช่องท้อง พบลักษณะตับโต และอาจมีท้องมาน
    - อาจพบจุดเลือดออก
    - การบวมน้ำที่กระจกตา
    - อาจพบว่ามีอาการทางระบบประสาท ซึมมาก โซเซ ชัก หมดสติ
  • 3. โรคลำไส้อักเสบติดต่อในสุนัข
    สาเหตุ
    - เกิดจากเชื้อไวรัส Canine Parvovirus type 2 (CPV-2) ซึ่งเป็นไวรัสที่ทนทานมาก
    การติดต่อ
    - เชื้อสามารถอยู่นอกร่างกายสัตว์ได้นานเป็นเดือนหรือปี
    - ติดเชื้อโดยการกินเชื้อเข้าไป
    อาการของโรค
    - ทำให้เกิดอาการอาเจียนและท้องเสีย
    - มีไข้สูงถึง 104-105 องศาฟาเรนไฮด์ หรือไม่มีไข้
    - อาเจียนเป็นฟองใสๆ หรือเป็นเมือกขาวขุ่นหรือปนเลือด, ซึม, เบื่ออาหาร
    - ถ่ายอุจจาระเหลวเป็นน้ำหรือวุ้นเหมือนเจลลาติน สีแดงน้ำตาล (เลือด) มีกลิ่นเหม็นคาวเฉพาะของโรคนี้
    - ร่างกายขาดน้ำ และน้ำหนักลด
    วิธีป้องกัน
    - โดยใช้ไฮเตอร์ (น้ำยาฟอกขาว) ล้างพื้นเป็นประจำ ป้องกันได้ เพราะไฮเตอร์มีฤทธิ์ฆ่าไวรัสตัวนี้ได้
    4. โรคหลอดลมอักเสบติดต่อในสุนัข
    สาเหตุ
    - เกิดจากไวรัส Canine Parainfluenza Virus (CPIV)
    Canine Distemper Virus (CDV)
    Canine Adeno Virus (CAV-1)
    Canine Adeno Virus (CAV-2)
    - เกิดจากแบคทีเรีย Burdetella Hronchiseptica
    Mycoplasma
    อาการของโรค
    - ไอเรื้อรัง
    - พบการตีบตัวของหลอดลม และเกิดการอักเสบที่ระบบทางเดินหายใจส่วนต่างๆ
    - ทำให้ตายได้
    - ลูกสุนัขเกิดภาวะปอดบวมตามมา

    5. โรคพิษสุนัขบ้า
    สาเหตุ
    - เกิดจากเชื้อ Rabies Virus
    - สัตว์เลือดอุ่นทุกชนิด ง่ายต่อการเป็นโรค
    - ระยะฟักตัว 3-8 สัปดาห์ ถึง 6 เดือน ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของการติดเชื้อ ลักษณะ และขนาดของบาดแผล
    - พบว่าสัตว์ที่เป็นโรคมีจำนวนไวรัสไตเตอร์ในต่อมน้ำลาย หรือในน้ำลายสูงกว่าในสมอง
    การติดต่อของโรค
    - โอกาสติดเชื้อจากสัตว์ป่วยโดยการถูกกัด เลียโดยเชื้อที่ถูกขับผ่านทางน้ำลาย ทางแผลฉีกขาดที่ผิวหนัง หรือเยื่อเมือกของตา จมูก ปาก หรืออวัยะเพศ การติดเชื้อทางลมหายใจ หรือการสูดละอองไวรัสจากอุจจาระ ปัสสาวะในที่แออัด หรือการแพร่โรคทางรกและน้ำนม
    อาการของโรค
    - แบ่งเป็น 3 ระยะคือ
    5.1 ระยะเริ่มต้น ใช้เวลา 2-3 วัน
    - สุนัขจะมีนิสัยเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
    - ม่านตาขยายกว้าง
    - ไล่งับอากาศ หรือ โงกหลับ
    - ชอบหลบตามมุมมืด
    5.2 ระยะตื่นเต้น ใช้เวลาประมาณ 1-7 วัน
    - สุนัขจะมีอาการตื่นเต้น กระวนกระวาย ดุร้าย กัดทุกอย่างที่ขวางหน้า
    - ขากรรไกรล่างห้อย น้ำลายไหลมาก เนื่องจากอัมพาตของกล้ามเนื้อที่ใช้เคี้ยวและกลืน ลิ้นห้อย
    - เสียงเห่าหอนผิดปรกติ เกิดจากอัมพาตของกล้ามเนื้อกล่องเสียง
    - สุนัขจะลำตัวแข็ง หางตก ขาหลังเริ่มอ่อนเปลี้ย ซึ่งเป็นอาการที่เริ่มเข้าสู่ระยะอัมพาต
    5.3 ระยะอัมพาต
    - สุนัขมีอาการอ่อนเพลีย
    - เกิดอัมพาต โดยจะเริ่มจากส่วนท้ายของลำตัวแล้วไปยังส่วนหัวอย่างรวดเร็ว
    - ตายเนื่องจากระบบหายใจเป็นอัมพาต ภายใน 2-4 วัน
    ข้อควรแนะนำสำหรับผู้ที่สัมผัส หรือถูกสัตว์ที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้ากัด
    - รีบล้างแผลด้วยน้ำและสบู่ หรือยาฆ่าเชื้อ
    - ทำความสะอาดซ้ำด้วยแอลกอฮอล์ 70 %
    - กักขังสัตว์เพื่อดูอาการ อย่างน้อย 10 วัน
    - ปรึกษาแพทย์ เพื่อฉีดยาป้องกันบาดทะยักและวัคซีน

    โรคสำคัญอื่นๆ ที่พบบ่อยในสุนัข

    โรคพยาธิหนอนหัวใจสุนัข (Heartworm Disease)
    ? เป็นโรคที่พบบ่อยในสุนัข
    ? เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการหอบหายใจแรงในแมว
    ? สาเหตุเกิดจาก Dirofilaria Immitis โดยมียุงเป็นพาหะ
    วงจรชีวิตพยาธิหนอนหัวใจ
    ? Microfilaria อาจผ่านจากสุนัขตัวหนึ่งไปสู่อีกตัวหนึ่ง โดยผ่านทางการให้เลือดได้
    ? สามารถผ่านจากแม่สู่ลูกได้ โดยทางรกในระหว่างตั้งครรภ์
    ? ลูกสุนัขอายุน้อยกว่า 6 เดือนอาจพบ Microfilaria ในกระแสเลือดได้
    ? พยาธิหนอนหัวใจตัวแก่ สามารถมีอายุได้ 5-9 ปี
    อาการของโรค
    ? สุนัขที่เลี้ยงอยู่นอกบ้าน มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้มากกว่าสุนัขที่เลี้ยงภายในบ้าน
    ? สุนัขแสดงอาการไอ หายใจลำบาก หอบ หายใจเร็ว เหงือกมีสีคล้ำ และน้ำหนักตัวลดลง
    ? กรณีที่สุนัขป่วยมานาน จะแสดงอาการของโรคหัวใจ ได้แก่ เกิดท้องมาน หมดสติเป็นครั้งคราว บางรายพบเลือดกำเดาไหลร่วมด้วย
    ? หากเป็นนานขึ้นเรื่อยๆ สุนัขจะมีม้ามโต ตับโต และโลหิตจาง
    ? ในรายที่เป็นแบบรุนแรงเฉียบพลันจะมีอาการอ่อนเพลีย เหงือกซีด หอบหายใจแรง ปัสสาวะมีสีแดง โลหิตจาง และสุนัขอาจตายได้ภายในเวลา 24-72 ชั่วโมง
    การตรวจวินิจฉัย
    ? สัตว์แพทย์จะทำการตรวจเบื้องต้น โดยการเจาะเก็บตัวอย่างเลือดมาตรวจหาตัวอ่อน โดยการส่องดูจากกล้องจุลทรรศน์ เรียกว่า วิธี Fresh Blood Smear
    ? หากสุนัขได้รับการฉีดยาควบคุมโรคพยาธิหนอนหัวใจมาโดยตลอด เมื่อส่องกล้องดูตัวอย่างเลือดจะไม่พบตัวอ่อน
    ? ใช้วิธีการ X-Ray ดูขนาดของหัวใจซึ่งจะเห็นขนาดของหัวใจที่ขยายใหญ่ และบางรายจะเห็นเส้นเลือดแดงที่ไปเลี้ยงปอดมีขนาดใหญ่กว่าปรกติชัดเจน
    ระดับความรุนแรงของโรค
    ? สุนัขไม่แสดงอาการหรือความผิดปรกติใด ไม่พบการเปลี่ยนแปลงของภาพ X-Ray เมื่อมีพยาธิอยู่เพียงเล็กน้อย
    ? สุนัขมีอาการไอ ความสามารถในการออกกำลังการลดลง มีการเปลี่ยนแปลงของหัวใจจากภาพ X-Ray ไม่มาก
    ? สุนัขมีอาการไอ ความสามารถในการออกกำลังกายลดลงอย่างมาก เหนื่อยง่าย หมดสติ บางรายมีอาการท้องมาน ภาพ X-Ray พบความเปลี่ยนแปลงของหัวใจอย่างมาก
    ? สุนัขมีอาการคล้ายระดับที่ 3 แต่เกิดอาการแบบเฉียบพลัน ปัสสาวะมีสีแดง มีอาการของภาวะหัวใจล้มเหลวเนื่องจากมีพยาธิจำนวนมากอุดตันที่เส้นเลือดดำใหญ่
    การรักษา มี 2 ขั้น คือ
    ? ขั้นแรก การกำจัดพยาธิตัวแก่ด้วยยาหรือการผ่าตัด
    ? ขั้นที่สอง การกำจัด Microfilaria โดยการใช้ยา
    การป้องกันพยาธิหนอนหัวใจ
    ? ใช้ยาในการกำจัดตัวอ่อนของพยาธิ
    ? ฉีดยาเข้าชั้นใต้ผิวหนัง โดยเริ่มโปรแกรมที่อายุ 3 เดือน หลังจากนั้นกระตุ้นซ้ำทุก 2 เดือน หรือควบคุมโดยใช้ยากินทุก 1 เดือน หรือตามที่สัตวแพทย์แนะนำ
    ? แมวสามารถติดพยาธิหนอนหัวใจได้ แต่ตัวพยาธิจะมีอายุอยู่ในร่างกายแมวได้ไม่นาน และไม่สามารถสร้างตัวอ่อนออกสู่กระแสเลือดได้
  • ขอบคุณครับ
  • อาหารสมองดีแท้ๆ