ยินดีต้อนรับครับ

ขอแนะนำให้ทุกท่าน สมัครสมาชิก เพื่อป้องกันการแอบอ้างชื่อครับ

Mark Mafia

สะโพกหลวมควรทำยังไงคับ
  • พี่คับที่เค้าเรียกว่าสโพกหลวมนอกจากว่ายน้ำแล้วเราควรทำอยางไรคับและนานขนาดไหนคับมันจึงจะหายเจ็บและมันจะเล่นกิจกรรมได้
  • ส่ายเอวเย๊อะๆ.....
  • ขอโทษนะครับต้องการสาระจริงๆ

    ขอบคุนคันคุนmai-soy
  • คิดว่าคงเป็นอาการของโรคข้อสะโพกวิการ

    ผมขออนุญาตินำความรู้จากบอร์ด เยอรมัน เชพเพรด มาแบ่งปันเพื่อนๆนะครับ

    ขอบคุณ และขอโทษ ป้าวิ ด้วยครับ ที่นำข้อความมาโดยไม่ได้ขออนุญาติ คงไม่ว่ากันนะครับ

    โรคข้อสะโพกวิการ (Hip Dysplasia)คืออะไร

    ข้อสะโพก อยู่ที่บริเวณขาหลังมีลักษณะกลมอยู่ในเบ้ากระดูกอีกชั้นหนึ่ง ส่วนที่มีลักษณะกลมนี้คือ ส่วนหัว ของกระดูกโคนขา
    ในขณะที่ เบ้าที่ครอบ นั้นเป็นส่วนของ กระดูกเชิงกราน
    โดยทั่วไปแล้ว กระดูกกลมนี้จะหมุนได้อย่างเป็นอิสระ ภายในเบ้ากระดูก โดยมีเอ็นเข้ามายึดกับข้อกระดูกเหล่านี้อีกที เพื่อความแข็งแรง
    บริเวณที่กระดูกทั้งสองส่วนมาสัมผัสกันเราเรียกว่า Articular surface ซึ่งจะมีลักษณะที่เรียบและถูกห่อหุ้มไว้ด้วยเนื้อเยื่อนุ่มๆ
    ในสุนัขทั่วไปส่วนต่างๆเหล่านี้จะทำงานร่วมกันเพื่อการเคลื่อนไหวที่ดีและราบเรียบ

    โรคข้อสะโพกวิการ(Hip Dysplasia หรือเรียกสั้นๆว่า hip)เป็นผลมาจากความผิดปกติของข้อสะโพกในสุนัขวัยเด็ก
    ซึ่งอาจเป็นกับขาข้างเดียวหรือทั้งสองขาก็ได้ โดยส่วนใหญ่แล้วลูกสุนัขเกิดมาจะมีข้อสะโพกที่เป็นปกติ
    แต่เนื่องจากพันธุกรรม และจากสาเหตุอื่นๆ ทำให้เนื้อเยื่อที่หุ้มข้อต่อเหล่านี้ผิดปกติไป เมื่อลูกสุนัขเริ่มโตขึ้น
    ที่สำคัญที่สุดคือ กระดูกไม่กลับเข้าที่ เมื่อมีการเคลื่อนไหว ทำให้บริเวณ Articular surface ไม่เกิดการสัมผัสกันของกระดูกทั้งสอง
    ซึ่งเรียกลักษณะนี้ว่า Subluxation และนี่คือสาเหตุทั้งหมดของโรคนี้

    [size=11pt]อาการของโรคข้อสะโพกวิการ[/size]

    สุนัขทุกอายุ เมื่อเป็นโรคนี้ จะสามารถเห็นอาการที่แสดงออกมา
    ในกรณีที่อาการรุนแรง ลูกสุนัขที่อายุ 5เดือนจะเริ่มแสดงอาการปวด หรือมีอาการไม่ดี ในขณะออกกำลังกาย หรือหลังจากนั้น
    และอาการจะยิ่งแย่ขึ้นเรื่อยๆจนไม่สามารถที่จะเดินได้ อย่างไรก็ตามส่วนใหญ่จะยังไม่มีอาการ จนสุนัขอายุ 1ปีขึ้นไปแล้ว

    อาการ ที่พบเห็นได้บ่อยคือ สุนัขเดินหรือวิ่งแบบกระเผลก พยายามหลีกเลี่ยงการใช้กำลังจากขาหลัง หรือมีการวิ่งแบบกระโดด(สองขา)คล้ายกระต่าย
    สุนัขจะค่อยลดกิจกรรมในแต่ละวันลง โดยจะนอนเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งจะยิ่งทำให้กล้ามเนื้อขาลีบ จนถึงต้องการความช่วยเหลือในเวลาจะลุกยืน
    เจ้าของสุนัขส่วนใหญ่ มักจะคิดว่าเกิดจากการที่สุนัขมีอายุมากขึ้น แต่ถ้าได้มีการรักษาสุนัขจะมีอาการที่ดีขึ้นกว่าเดิมมาก

    [size=11pt]สุนัขที่มีโอกาสเป็นโรคข้อสะโพก[/size]

    โรคนี้สามารถพบได้ทั้งใน สุนัข แมว และคน สำหรับสุนัข จะพบในพันธุ์ใหญ่เป็นส่วนใหญ่ และอาจเกิดขึ้นกับสุนัขขนาดกลาง
    ส่วนสุนัขพันธุ์เล็กมักจะไม่ค่อยพบ และโดยส่วนใหญ่ยังพบในสุนัขพันธุ์แท้มากกว่าพันธุ์ผสม
    สุนัขที่พบว่าเป็นโรคนี้กันเยอะได้แก่ เยอรมันเชพเพอด ลาบราดอร์ ร็อตไวเลอร์ เกรดเดน โกลเด้นส์ และเซนต์เบอร์นาด
    ส่วนสุนัขพันธุ์ เกรย์ฮาว และโบซอยส์ แทบจะไม่เป็นโรคนี้เลย ยังมีสุนัขอีกหลายพันธุ์ที่ยังไม่ได้กล่าวถึงไว้

    [size=11pt]อะไรคือ ปัจจัยเสี่ยง ที่ทำให้เกิดโรคนี้[/size]

    พันธุกรรมมีส่วนสำคัญกับโรคนี้ ถ้าพ่อแม่พันธุ์เป็นโรคนี้อยู่ ลูกสุนัขจะมีโอกาสสูงมากที่จะเป็น
    นักวิจัยบางคนคิดว่า พันธุกรรมมีส่วนแค่ 25% ความจริงในเรื่องนี้ยังค่อนข้างคลุมเคลือ แต่ถ้าไม่มีพาหะของโรคสุนัขก็จะไม่เป็นโรคนี้
    เราสามารถลดความเสี่ยงได้ โดยการพิจารณาการผสมพันธุ์ แต่ยังไรก็ตามไม่สามารถลดได้ 100%
    เพราะ ลูกสุนัขที่เกิดจากพ่อแม่พันธุ์ที่เป็นโรค จะไม่เป็นโรคนี้ครบทุกตัวในครอก แต่จะมีสุนัขบางตัวจากครอกนี้ เป็นพาหะต่อไปยังการผสมครั้งอื่นๆ

    โภชนาการ เป็นอีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยงของโรคนี้ นั่นก็คือ ความอ้วนผิดปกติ เพราะจะทำให้ข้อสะโพกทำงานหนักขึ้น ถือเป็นความเสี่ยงที่สูงมากในการเกิดโรค
    ยังมีการศึกษาถึง ระดับโปรตีนและแคลเซียม ถึงความสัมพันธ์ต่อโรคข้อสะโพก โดยพบว่า
    โอกาสในการเกิดโรคจะสูงขึ้น ถ้ามีปริมาณโปรตีน และแคลเซียมที่มาก
    แต่ อย่างไรก็ตามยังไม่มีการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างอาหารสุนัขที่มี โปรตีน ไขมัน และแคลเซียมมากกับอาหารที่มีสารอาหารเหล่านี้อยู่น้อย
    รวมถึงอาหารสำหรับลูกสุนัขทั่วไปกับอาหารสำหรับลูกสุนัขพันธุ์ใหญ่เท่านั้น

    การออกกำลังกาย เป็นอีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยง โดยพบว่าสุนัขที่มีการออกกำลังกายหักโหม มากเกินไปมักจะเป็นโรคนี้ แต่ในทางกลับกันพบว่าสุนัขที่มีกล้ามเนื้อสมบูรณ์จะไม่ค่อยเป็น
    ดังนั้น การออกกำลังกายให้พอเหมาะ เพื่อให้เกิดกล้ามเนื้อ เช่น การเดิน การวิ่งเหยาะๆ หรือการว่ายน้ำ เป็นการออกกำลังกายที่เหมาะสมที่สุด
    ส่วนการออกกำลังกาย ที่มีผลกระทบกระเทือนต่อกระดูกข้อต่อต่างๆนั้น ควรจะหลีกเลี่ยง เช่น การกระโดด หรือการเล่น frisbee เป็นต้น
  • ต่ออีกนิด เอาให้จบเลยครับ

    [size=11pt]โรคข้อสะโพกสามารถรักษาโดยการผ่าตัดได้หรือไม่[/size]

    ในปัจจุบันมีการผ่าตัดรักษาอยู่หลายวิธีขึ้นอยู่กับอายุสุนัขและความรุนแรงของโรคดังนี้
    1. Triple Pelvic Osteotomy (TPO) เป็นการรักษาสำหรับสุนัขที่มีอายุน้อยกว่า 10เดือน และข้อต่อยังไม่ถูกทำลายไปมาก
    2. Total Hip Replacement วิธีนี้เป็นวิธีรักษาที่ดีที่สุดซึ่งสุนัขที่จะรักษาได้ต้องมีการพัฒนา ของกระดูกที่สมบูรณ์แล้วและสุนัขต้องมีน้ำหนักไม่น้อยกว่า 20ปอนด์ โดยต้องใช้เวลารักษาและพักฟื้นนานถึง 3เดือน ค่าใช้จ่ายในการรักษาแพงมากแต่ใด้ผลการรักษาที่ดีมาก
    3. Femoral Head and Neck Excision เป็นการรักษาสุนัขที่ไม่สามารถรักษาด้วยวิธีที่ 2ได้ เพื่อผลที่ดีที่สุดสุนัขไม่ควรมีน้ำหนักเกิน 45ปอนด์ แต่อย่างไรก็ตามสุนัขพันธุ์ใหญ่ก็อาจรักษาด้วยวิธีการนี้
    4. Junenile Pubic Symphysiodesis เป็นวิธีการรักษาใหม่ ใช้รักษาสุนัขที่มีอายุไม่เกิน 20สัปดาห์
    5. Pectineal Myectomy ในปัจจุบันการรักษาด้วยวิธีนี้ไม่ค่อยได้รับความนิยมเพราะมีโอกาสที่สุนัขจะกลับมาเป็นโรคนี้ใหม่

    [size=11pt]โรคข้อสะโพกสามารถรักษาโดยการใช้ยาได้หรือไม่[/size]

    ในช่วงหลายปีมานี้ได้มีการพัฒนาตัวยาสำหรับโรคข้อสะโพกขึ้นมามาก
    แต่สาเหตุของโรคนี้เกิดจากพันธุกรรมเป็นหลักไม่มีตัวยาใดป้องกันการเกิดโรคนี้ได้
    การออกกำลังกายที่เหมาะสม การโภชนาการที่ดี อาหารเสริมต่างๆ หรือยาบรรเทาอาการปวด อาจช่วยแค่ยืดเวลาของการเกิดโรคเท่านั้น
    ความนิยมในการนำยามารักษาเพียงเพราะว่าค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดมีราคาสูงมาก เจ้าของจึงมักเลือกวิธีนี้

    สัตว์แพทย์ส่วนใหญ่จะแนะนำวิธีต่างๆข้างล่างนี้ควบคู่ไปกับการใช้ยาเพื่อลดอาการปวดและไม่เพิ่มความรุนแรงของโรค

    1. การควบคุมน้ำหนัก ควรควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์ที่หมอแนะนำ
    2. การออกกำลังกาย จะช่วยสร้างกล้ามเนื้อและจำกัดการเสื่อมของข้อกระดูกได้ดี การเดิน การว่ายน้ำ การจ๊อกกิ้งเป็นวิธีการที่ดี แต่ควรจะขึ้นอยู่กับอาการของสุนัขแต่ละตัว
    จำไว้ว่าควรออกกำลังกายทุก วัน การออกกำลังกายเพียงอาทิตย์ละหน อาจจะเป็นอันตรายมากกว่าดี ควรปรึกษาหมอสำหรับรูปแบบการออกกำลังกายของสุนัขคุณ
    3. ควรจัดเตรียมที่นอนที่ดีและอบอุ่น อากาศเย็นจะทำให้สุนัขมีอาการที่แย่ลง ควรทำให้สุนัขอบอุ่นเช่น สวมเสื้อให้ หรือ ปรับอุณหภูมิในบ้านให้อบอุ่น ควรจัดหาฟูกนอนที่ดีเพื่อลดแรงกดที่มีต่อข้อกระดูกและยังช่วยให้สุนัขลุก ขึ้นได้ง่าย
    4. การนวดและการบำบัดทางกายภาพ คุณหมอสามารถสอนการบำบัดและการนวดเพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดให้คุณได้ จำไว้ว่าสุนัขของคุณกำลังปวด ควรเริ่มนวดอย่างช้าๆนิ่มนวลเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับสุนัขของคุณ
    5. ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมหนักๆในแต่ละวัน เช่น สุนัขพันธุ์ใหญ่ควรหาแท่นวางชามข้าว ชามน้ำให้มีความสูงที่เหมาะสมเพื่อสุนัขไม่ต้องก้มลงไปกิน
    6. การให้อาหารเสริมต่างๆ ปรึกษาคุณหมอถึงอาหารเสริมในการรักษา

    [size=11pt]ป้องกันโรคข้อสะโพกได้อย่างไร[/size]

    มีอยู่สิ่งหนึ่งที่นักวิจัยลงความเห็นร่วมกันนั่นคือ การเลือกหรือการพิจารณาการผสมพันธุ์ที่ดี
    ยังมีอีกหลายข้อมูลที่ยังรอการศึกษาในอนาคต แต่ในขณะนี้เราต้องยึดกับสิ่งที่เรารู้และมั่นใจ
    นั่นคือการ เลือกพ่อแม่พันธุ์ ที่มีข้อสะโพกที่ดีในการผสมพันธุ์
    ถึงแม้จะไม่สามารถรับประกันได้ 100% แต่ก็ลดความเสี่ยงลงไปได้มาก

    รวมถึงผู้ที่กำลังเลือกซื้อลูกสุนัขต้องมีการพิจารณาถึงพ่อแม่พันธุ์ด้วย

    **อ้างอิงข้อมูลจาก Pet education.com

    thxby14004
  • ถ้ามีปัญหาเรื่องข้อสะโพก ไม่แนะนำให้ทำกิจกรรมหนักนะคะ

    นอกจากการว่ายน้ำแล้ว แนะนำให้ทานยาบำรุงข้อ+ยาเพิ่มน้ำเลี้ยงไขข้อ เป็นยากลุ่ม Glucosamine+Chondroitin

    พยายามควบคุมน้ำหนักไม่ให้มากจนเกินไป อาจต้องดูจากฟิล์มx-ray อีกที ว่าข้อสะโพกที่หลวมนั้นอยู่ในระดับไหน

    จำเป็นต้องผ่าตัดหรือไม่ ยังไงเป็นกำลังใจให้ในการรักษานะคะ


    ฝาก hi5 ของคลินิกด้วยนะคะ
    http://doctorpetloverclinic.hi5.com/ มีคุณหมอเข้ามาตอบทุกวันค่ะ ขอบคุณค่ะ
  • ขอโทษครับ ขอโทษอย่างแรง....
    แค่อยากจะบอกว่ารักษา แล้วทำกายบริหารครับ......
    อย่าโกรธกันนะ นะ..
  • ถ้า "สะโพกหลวม" หมายถึง หมอได้วิเคราะห์ฟิล์มเอ็กซเรย์แล้ว
    หมอ ระบุว่า หัวกระดูกขาท่อนบน ไม่เข้ารูปพอดี อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง ในเบ้ากระดูก
    นั่นคือ หัวกระดูก หรือ เบ้ากระดูก ผิดรูป เช่นหัวกระดูกไม่กลม เรียบ หรือเบ้ากระดูกไม่ลึกพอ
    และอื่นๆอีกมากมาย ฯลฯ ที่ทำให้หมาเคลื่อนไหวได้ยากลำบากมากขึ้น และเจ็บปวด

    การดูแล รักษา มีรายละเอียดค่อนข้างมากมาย ที่เจ้าของต้องระวัง
    เพราะ เราไม่สามารถ รักษารูปร่างที่ผิดปกติ ของหัวกระดูก และเบ้ากระดูกได้
    ยกเว้นการผ่าตัด ใส่ข้อเทียม หรือ ผ่าตัดแบบอื่นๆ

    เป้าหมายของการรักษา คือการ ทำให้กล้ามเนื้อเส้นเอ็นรอบข้อสะโพกแข็งแรง
    เพื่อให้สามารถพยุง ส่วนข้อต่อ และรองรับน้ำหนัก และมีความยืดหยุ่นพอสมควรที่จะเคลื่อนไหวได้สะดวก

    การว่ายน้ำ เป็นวิธีหนึ่ง ในการช่วยให้กล้ามเนื้อ เส้นเอ็นรอบข้อ แข็งแรง
    แต่เจ้าของ ต้องระวังที่จะไม่ให้หมาว่ายน้ำในช่วงที่เขามีอาการอักเสบ และปวดข้อ
    เพราะจะทำให้หมายิ่งอ่อนล้า และอาจจะอักเสบมากขึ้น จนไม่อยากลุกเดินเลย

    การดูแลทั่วไป ควรให้หมาอยู่บนพื้นที่มีความยืดหยุ่น เช่น พื้นดิน สนามหญ้า ไม่ควรอยู่บนพื้นแข็ง หรือ ลื่น
    ควบคุมน้ำหนัก ให้ เหมาะสม อย่าให้อ้วน หรือมีน้ำหนักมากเกินไป และไม่ควรทำกิจกรรมที่หนักเกินกำลัง

    ถ้าหมาอายุยังน้อย ต่ำกว่า 1 ปี ควรเสริมสร้างกล้ามเนื้อเส้นเอ็น
    ด้วยการว่ายน้ำ และ เดิน วิ่ง บนพื้นดินหรือสนามหญ้า พอสมควรเท่านั้น
    ไม่ควรให้วิ่งบนลู่วิ่ง เพราะอาจจะใช้เวลานาน หรือใช้ความเร็วไม่เหมาะสม จะเป็นอันตรายต่อข้อต่อต่างๆ

    มียาช่วยลดอักเสบและปวดข้อ สำหรับหมาโดยเฉพาะอยู่หลายอย่าง บางครั้งต้องให้กินเป็นระยะสั้นเพื่อระงับปวด
    แต่ไม่ควรกินต่อเนื่องยาวนาน เพราะอาจมีผลข้างเคียง ที่เป็นอันตรายต่อระบบอื่นในร่างกาย

    อาหารเสริมบำรุง ประเภท กลูโคซามีน คอนดรอยติน จะช่วยได้มาก โดยไม่มีผลข้างเคียง
    สำหรับหมาที่เลี้ยงอยู่ เป็นหมาขนาดใหญ่ หลายตัวมีอาการของโรคนี้
    ได้ให้ยา บำรุงกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นเกี่ยวพันรอบข้อ และช่วยกระตุ้นน้ำหล่อเลี้ยงบริเวณข้อต่อ สำหรับใช้กับม้า

    หมาจะเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น โดยไม่เจ็บปวดและอักเสบ สามารถกินได้ต่อเนื่องยาวนานโดยไม่มีผลข้างเคียงทางลบ
    จากประสบการณ์ ได้ใช้ยาสำหรับม้านี้ มานาน กับหมาของตัวเองหลายๆตัว ได้ผลดีมาก
    และได้แนะนำให้คนเลี้ยงหมาที่มีปัญหาเรื่องข้อสะโพก ทดลองใช้ก็ได้ผลดีทุกราย