ยินดีต้อนรับครับ

ขอแนะนำให้ทุกท่าน สมัครสมาชิก เพื่อป้องกันการแอบอ้างชื่อครับ

Mark Mafia

การปฐมพยาบาลสัตว์เลี้ยง
  • พอดีได้มีโอกาสเข้ารับฟังการบรรยายและสาธิต "การช่วยเหลือสัตว์เลี้ยงและการปฐมพยาบาลสัตว์ในภาะวะฉุกเฉิน" โดยสมาคมไทยอาสาสมัครสุนัขกู้ภัย ร่วมกับโรงพยาบาลสัตว์เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน เลยขอนำภาพและความรู้ที่ได้จากการบรรรยายมาลงไว้ จะได้เป็นแนวทางในการช่วยเหลือสุนัขของแต่ละคนต่อไป

    image
    image
    image
    ไฟล์แนบ
    IMG_2288.jpg 177K
    IMG_2282.jpg 248K
    IMG_2285.jpg 175K
  • image
    image

    หัวข้อในการบรรยาย
    image
    ไฟล์แนบ
    IMG_2273.jpg 144K
    IMG_2274.jpg 149K
    IMG_2275.jpg 123K
  • image
    image
    ไฟล์แนบ
    IMG_2277.jpg 148K
    IMG_2278.jpg 137K
  • image
    ไฟล์แนบ
    IMG_2279.jpg 132K
  • เมื่อสุนัขกินสารพิษเข้าไป วิธีที่คุณหมอแนะนำว่าทำได้รวดเร็วและง่ายคือให้นำเกลือโปะลงไปที่โคนลิ้นของสุนัขโดยตรงเลย เพราะการทำน้ำเกลือจะต้องเสียเวลาในการทำให้ความเข้มข้นของเกลือถึงจุดอิ่มตัว หรือ การใช้ไข่ขาวกรอกอาจทำให้สุนัขสำลักไข่ขาวลงปอดได้
    image
    ไฟล์แนบ
    IMG_2281.jpg 132K
  • image

    เมื่อสุนัขถูกงูเห่า งูจงอางกัด อย่าให้สุนัขหลับ ถ้าสุนัขหยุดหายใจให้ผายปอดไปเรื่อยๆและนำส่งโรงพยาบาล
    image
    ไฟล์แนบ
    IMG_2289.jpg 144K
    IMG_2290.jpg 119K
  • image

    -หาจุดที่สุนัขถูกกัดหรือถูกต่อย ถ้าแผลบวมหน่อยๆให้ยาแก้แพ้ คลอร์เฟนิรามีน,แอนตี้ฮีสตามีน ยาจะส่งผลหลังทาน20-30นาที
    -ถ้าสุนัขถูกต่อต่อยให้พาไปหาหมอ เพราะทำให้แพ้ได้มากกว่าผึ้งและแมลงอื่นๆ
    -ยาพาราเซตามอลห้ามใช้ในแมว แต่สามารถใช้กับสุนัขได้ สุนัขไม่สามารถรับโดสของยาพาราเซตามอลได้มากเท่ามนุษย์ เช่น ยาพาราเซตามอล 500mg ถ้าใช้ในสุนัข 10kg ให้ใช้เพียง1/5ของเม็ด ถ้าให้ยามากตับจะวายและอย่าให้กินเกิน2วัน ถ้าสุนัขเป็นไข้ให้เริ่มปฐมพยาบาลโดยการเช็ดตัวก่อน
    image
    ไฟล์แนบ
    IMG_2293.jpg 168K
    IMG_2291.jpg 182K
  • image
    ไฟล์แนบ
    IMG_2294.jpg 136K
  • คลิปด้านล่างคือคลิปเสียงขณะที่บรรยายเรื่อง Heat stroke
    www.youtube.com/watch?v=Ajqzed3UluY
    www.youtube.com/watch?v=hwLkTBwnlgQ

    image
    image
    ไฟล์แนบ
    IMG_2296.jpg 158K
    IMG_2297.jpg 140K
  • การบาดเจ็บที่ลูกตา

    ภาพของตาปกติ ภาพด้านขวาที่เห็นเป็นฝ้าขาวๆเพราะเป็นตาของสุนัขที่สูงอายุ
    image

    เพื่อหาตำแหน่งของแผลที่กระจกตาจึงทำการย้อมสีที่ตาของสุนัข เมื่อสุนัขตาอักเสบจะระคายเคืองตาและเริ่มเกา สุนัขจึงต้องใส่คอลล่าและทำการล้างตา
    image

    ตาหลุดตาถลนมี 2 แบบ คือ
    1. ถ้าหลุดแล้วห้อยต่องแต่ง ยังไงก็ต้องตัดทิ้ง
    2. ถ้าปูดออกมาแต่ยังไม่หลุด การปฐมพยาบาลคือให้นำผ้ากอซที่ชุ่มไปด้วย Normal Saline หรือน้ำต้มสุก ปิดตาไว้เพื่อรักษาความชุ่มชื้น เมื่อพาสุนัขไปหาหมอ หมอจะสามารถกดตากลับเข้าที่ได้อย่างเดิม
    image
    ไฟล์แนบ
    IMG_2298.jpg 178K
    IMG_2299.jpg 155K
    IMG_2300.jpg 194K
  • ภาวะท้องกาง

    พบได้ในสุนัขที่มีอายุ , สุนัขที่อกลึก , สุนัขที่ระบบการย่อยไม่ดี
    image

    การปฐมพยาบาลคือพาสุนัขจูงเดิน หรือ จับให้นอนแล้วพลิกไปมาเพื่อให้สุนัขเรอออกมาจึงหาย
    ถ้าสุนัขไม่เรอให้พาไปหาหมอ หมอจะสอดท่อเข้าไป หรือทำการผ่าตัดกระเพาะส่วนที่พับอยู่
    image
    ไฟล์แนบ
    IMG_2301.jpg 174K
    IMG_2302.jpg 158K
  • image
    image
    image

    การปั๊มหัวใจ

    ในกรณีที่อยู่คนเดียวไม่มีผู้ช่วย คุณหมอแนะนำว่า การปั๊มหัวใจสำคัญกว่าการเป่าปาก โดยให้ปั๊มหัวใจ10ครั้งต่อการเป่าปาก1ครั้ง
    image

    ถ้าสุนัขตัวใหญ่
    -กรณีที่อยู่คนเดียวไม่มีผู้ช่วยให้สุนัขนอนตะแคงด้านขวาลง โดนเอาเข่าดันตัวสุนัขไว้(ตามภาพ) ประสานมือและใช้แรงจากทั้งตัวทุ่มลงมา
    -กรณีที่ทำหลายคนแบบหน่วยงาน จะมีผู้ช่วยบีบถุงAmbu bagแทนการเป่าปาก และอีกคนทำการประสานมือปั๊มหัวใจไปพร้อมกันในจังหวะที่บีบถุงAmbu bag (ลมที่เข้าสู่ปอดและจังหวะปั๊มลงไปพร้อมกันนั้นอาจทำให้สุนัขปอดแตกได้)
    image

    การพันขาเพื่อให้เลือดไปเลี้ยงส่วนของขาน้อยลง แรงดันเลือดที่เกิดภายในจึงไปดันที่ช่วงอกแทน เพื่อไปเลี้ยงหัวใจและสมองต่อไป
    image
    ไฟล์แนบ
    IMG_2304.jpg 172K
    IMG_2305.jpg 158K
    IMG_2306.jpg 187K
    IMG_2307.jpg 145K
    IMG_2310.jpg 130K
    IMG_2311.jpg 177K
  • การเคลื่อนย้ายสุนัขบาดเจ็บ

    ถ้าบาดเจ็บที่กระดูกสันหลังหรือส่วนคอเคลื่อน ให้เคลื่อนย้ายอย่างระวังเพราะจะมีผลต่อระบบประสาท อาจทำให้เป็นอัมพาตได้
    image
    image
    image
    image
    ไฟล์แนบ
    IMG_2312.jpg 158K
    IMG_2314.jpg 153K
    IMG_2315.jpg 142K
    IMG_2323.jpg 196K
  • มาต่อที่ส่วนของการสาธิตกันบ้าง เริ่มที่การเช็คปฏิกิริยาการตอบสนองของสุนัข

    ดึงมือเข้าและออกเพื่อเช็คการมองเห็น
    image
    image

    ฉายไฟส่องที่ตาเพื่อดูการตอบสนอง ตาดำจะหดเล็กลงอย่างเห็นได้ชัด
    image

    การตรวจดูสีของเหงือกว่ามีสีซีดหรือปกติ และการคืนตัวของสีที่เหงือกเมื่อใช้นิ้วกดแล้วปล่อย หากสุนัขไม่น่าไว้วางใจคุณหมอแนะนำว่าให้กดไปทั้งขอบปากแล้วรูดขึ้นไปก็ได้เช่นกัน
    image
    ไฟล์แนบ
    IMG_2327.jpg 187K
    IMG_2328.jpg 185K
    IMG_2329.jpg 177K
    IMG_2335.jpg 164K
  • สาธิตจุดที่สามารถเช็คชีพจรของสุนัข และ ตำแหน่งของเส้นเลือดดำใหญ่

    การหาเส้นเลือดดำใหญ่จะหาพบได้ในจุดต่างๆของร่างกายไม่ยากเพราะไม่ได้เข้าไปอยู่ในส่วนลึกของอวัยวะภายในแบบเส้นเลือดแดงใหญ่ และเพราะเส้นเลือดแดงใหญ่มีความสำคัญมากจึงต้องถูกเก็บไว้ภายในของร่างกาย
    image
    image
    image
    โคนหางของสุนัขเป็นอีกจุดหนึ่งที่มีเส้นเลือดดำใหญ่
    image

    เช็คปฏิกิริยาการตอบสนองของสุนัข สุนัขโดยทั่วๆไปเมื่อจับข้อเท้ากดลงกับพื้น เมื่อปล่อยมือมันจะรีบสปริงข้อเท้ากลับสู่ตำแหน่งเดิม
    image
    ไฟล์แนบ
    IMG_2339.jpg 169K
    IMG_2341.jpg 170K
    IMG_2344.jpg 175K
    IMG_2349.jpg 131K
    IMG_2350.jpg 167K
  • สาธิตการปั๊มหัวใจสุนัข(แบบหน่วยงาน)

    คุณหมอแนะนำตำแหน่งของหัวใจสุนัข
    image

    จับให้สุนัขนอนตะแคงข้างขวาลง ประสานมือหลังข้อศอกด้านซ้ายของสุนัข จังหวะที่ปั๊มหัวใจกับจังหวะบีบถุง Ambu bag จะต้องทำพร้อมกัน
    image
    image
    ไฟล์แนบ
    IMG_2347.jpg 197K
    IMG_2352.jpg 188K
    IMG_2354.jpg 175K
  • สาธิตการเข้าเฝือกขาของสุนัข

    แผลที่เกิดต้องอยู่ไม่เกินช่วงข้อศอก เริ่มจากจัดให้ขาด้านที่จะเข้าเฝือกอยู่ด้านบน และเพื่อป้องกันการดิ้นให้นำมือจับขาอีกข้างขึ้น(ตามรูป) ใช้ท่อนแขนกดบริเวณส่วนคอไว้
    image


    เหยียดขาสุนัขให้ตรง ดึงม้วนเทปปิดแผลจากปลายเท้าผ่านขึ้นไปยังส่วนของลำตัว(ไม่ต้องตัดม้วนเทป) เพื่อเป็นแกนในการพันสำลี สำลีจะได้ไม่เคลื่อนไปมา
    image


    พันสำลีแบบแผ่นจากปลายเท้า จนถึงส่วนของข้อศอก
    image
    image
    ไฟล์แนบ
    IMG_2358.jpg 179K
    IMG_2359.jpg 178K
    IMG_2360.jpg 180K
    IMG_2361.jpg 183K
  • พันผ้ากอซปิดทับอีกทีจากปลายเท้า จนถึงส่วนของข้อศอก
    image
    image

    นำม้วนเทปปิดแผลที่พาดผ่านลำตัวไปตอนต้น ทบกลับลงมาและพันเทปปิดในส่วนปลายของผ้ากอซ
    image
    ไฟล์แนบ
    IMG_2362.jpg 187K
    IMG_2363.jpg 185K
    IMG_2365.jpg 185K
  • นำผ้าพันแผลพันทับผ้ากอซอีกที เริ่มจากปลายเท้าไปจนถึงส่วนของข้อศอกเป็นอันเสร็จสิ้น
    image
    image
    image

    ถ้าจะเข้าเฝือกที่ขาหลังก็ต้องจัดขาของสุนัขให้เหยียดตรงก่อนเช่นกัน
    image
    ไฟล์แนบ
    IMG_2366.jpg 197K
    IMG_2367.jpg 190K
    IMG_2368.jpg 190K
    IMG_2370.jpg 188K
  • สาธิตการพันแผลในส่วนของลำตัว
    image
    ผ้าพันแผลเป็นแบบที่สามารถติดได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องใช้เทปปิดทับ และสามารถม้วนกลับมาเก็บเพื่อใช้ในครั้งต่อๆไปได้
    image
    ไฟล์แนบ
    IMG_2371.jpg 157K
    IMG_2372.jpg 173K
  • เยี่ยมครับ
    ว่าแต่ไม่นอนกันอีกหรอเนี่ย
  • ขอบคุณมากเลยคับท่านตั้ว

    เป็นประโยชน์มากมาย เก็บเป็นข้อมูลโปรดแร้วคับฮ่าๆๆๆ
  • ดูแล้วมีความรู้มากๆๆเลยคับขอบคุณคับ
  • ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆครับ :063:
  • ขอบคุณมากเลยค่ะ
    ว่าแต่ น้องหมาโดนรุม :030:
  • ขอบคุนครับ
  • ขอบคุนครับ
  • ขอบคุนครับ สำหรับกระทู้ดีๆ มีประโยชน์ :063:
  • แนะนำกด รูปดาว ขาวมือหัวข้อกระทู้ครับ
    เอาไว้เวลาจำเป็น จะได้เป็นหัวข้อ สำหรับข้อมูลดีๆ
  • โคตรเท่ห์เลยท่าน ไม่ต้องนั่งจดแผ่นสไลด์ ถ่ายรูปเอาเลย 55 เสียดายจบมหาลัยแล้ว ไม่งั้นได้พกกล้องไปเรียนแน่ๆ อิอิ

    ขอบคุณความรู้ดีๆครับ ^ ^ ขอเซฟเก็บไว้เลยนะ
  • สวัสดีครับ คุณตั้ว นำสาระมานำเสนอให้กับพวกเราอีกแล้ว ขอบคุณมากครับ
  • โย่วพี่ปั๊ป โปเตโต้ ขอบคุณครับกับความรู้ดีๆ
  • เป็นประโยชน์มากครับ ขอบคุณ จขกท ด้วย
  • ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆครับ
  • ขอบคุณสําหรับความรู้ครับผม
  • ขอบคุณครับ ขอเซฟเก็บไว้ด้วยนะครับ :o030:
  • ขอบคุณครับ
  • เยี่ยมครับ มาช่วยกันสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้แบบนี้
  • มี K9 รฟม. ที่ทำงานเราด้วยสิหันมาเลี้ยงPitbull ด้วยกันดีกว่าคับพี่
  • *** Heat stroke เป็นเรื่องที่สำคัญที่อาจเกิดกับผู้เลี้ยงพิทบูลได้ง่าย ผมจึงได้ทำการอัดเสียงขณะบรรยายมาลงไว้ใน Youtube อย่าลืมตามไปฟังกัน ***




    หวังว่าเนื้อหาที่นำมาลงจะมีประโยชน์ต่อผู้เลี้ยงสุนัขทุกท่านครับ


  • สุดยอดจริงๆคุงพี่ ขอบคุณเนื้อหาสาระดีๆจ้ะ
  • ขอบคุณมากครับ เป็นประโยชน์จริงๆ ติดดาวแล้วครับ