ยินดีต้อนรับครับ

ขอแนะนำให้ทุกท่าน สมัครสมาชิก เพื่อป้องกันการแอบอ้างชื่อครับ

Mark Mafia

ผู้รู้อธิบายทีครับ
  • ผมเคยได้ยินว่าสุนัขขาเสียไม่เอาทำพัน สุนัขข้อสะโพกเสียไม่เอาผสม โรคพวกนี้คืออะไรครับ

    เกิดจากอะไร ?

    รักษาได้ไหม?

    แล้วจะดูยังไงให้รู้ว่าขาสะโพกเสียไม่เสีย?

    แล้วสุดท้ายถ้ามันเป็น จะมีผลเสียอะไรบ้างครับ?


    ด้อยประสบการจริงๆ ขอบคุณเปนอย่างสุงครับ
  • เรื่องขา ไม่สันทัดนะครับ

    แต่เรื่องข้อสะโพกเสีย พอรู้ คือ เรื่องมีอยู่ว่า สะโพกเสียหรือสะโพกห่าง มันเป็นแล้วรักษาไม่หาย และยังสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ จึงไม่นิยมนำมาเป็นพ่อหรือแม่พันธุ์
  • ......โรคนี้เป็นโรคที่เกิดเนื่องจากกรรมพันธุ์ หรือเนื่องจากการเลี้ยงดูที่ให้สารอาหารไม่ถูกสัดส่วนกับการเจริญเติบโตของสุนัข โดยเฉพาะสุนัขพันธ์ใหญ่ที่ผู้เลี้ยงยังมีความเข้าใจว่าต้องให้แคลเซียมมากๆ เพื่อสร้างกระดูก แต่แคลเซียมที่ให้มักเกินความพอดีทำให้เกิดปัญหาโรคข้อสะโพกห่างตามมาโรคนี้เป็นอาการเสื่อมหรือผิดรูปของข้อสะโพก หรือเนื่องจากการเคลื่อนของข้อสะโพกซึ่งจะมีทั้งข้อสะโพกเคลื่อนมากหรือเคลื่อนน้อย ในรายที่เป็นมานาน เมื่อฉายภาพรังสีจะพบว่ามีแคลเซียมมาเกาะที่บริเวณข้อสะโพกมากทำให้ข้อสะโพกและบริเวณรอบๆข้อสะโพกเสื่อม โรคนี้จะพบในสุนัขพันธ์ใหญ่มากกว่าพันธ์เล็กเช่น เยอมันเชพเพอร์ด โกลเด้นทรีทรีฟเวอร์ ร๊อตไวเลอร์ เซนต์เบอร์นาร์ด ลาบราดอร์รีทรีฟเวอร์ เป็นต้น โดยอาการจะแสดงออกตั้งแต่ยัง
    เป็นลูกสุนัข
    ....สุนัขที่เป็นโรคนี้จะแสดงอาการเจ็บปวดเวลาเดิน ลุกขึ้น หรือนั่งลง มักไม่ค่อยยอมเดินหรือวิ่งเนื่องจากเจ็บ เมื่อถ่ายภาพรังสีในสุนัขที่เป็นระยะแรกจะพบว่ามีการเคลื่อนหรือผิดรูปของสะโพก เช่น หัวกระดูกขาที่ต่อกับสะโพกไม่กลมเหมือนสุนัขปกติ อาจแบน ป้าน หรือหัวกระดูกเป็นเหลี่ยมบางรายกระดูกไม่อยู่ในเบ้า เบ้ากระดูกตื้น เป็นต้น อาการเจ็บเกิดเนื่องจากกระดูกที่ผิดไปจากปกติ ทำให้เกิดการเสียดสีเวลาเดินมากกว่าปกติ จึงมีอาการอักเสบและเจ็บ สุนัขบางรายจะลดอาการเจ็บโดยการกระโดดแทนการเดินหรือวิ่ง ถ้าเดินหรือวิ่งมากเกินไปสุนัขจะเจ็บปวดมากและไม่ยอมลุกขึ้นหรือเดินในวันต่อมา ในรายที่เป็นมานานกระดูกอ่อนและข้อจะเกิดอาการเสื่อมอย่างรุนแรง และมีแคลเซียมมาเกาะที่บริเวณกระดูกและข้อ
    .......การรักษามักให้ยาควบคุมอาการเจ็บปวดเพื่อลดอาการเสื่อมของกระดูกและข้อ เมื่อยาแก้ปวดไม่ได้ผลต้องทำการผ่าตัด ซึ่งมีวิธีการทำได้หลายวิธี ที่นิยมในเมืองไทยคือการตัดหัวกระดูก และการผ่าตัดกล้ามเนื้อ เราจะกล่าวถึงการตัดกล้ามเนื้อในที่นี้ กระดูกขาและกระดูกเชิงกรานจะมีกล้ามเนื้อเล็กๆ ที่ทำหน้าที่ยึดให้เบ้ากระดูกแนบกับหัวกระดูก เมื่อกระดูกเคลื่อนหรือผิดรูปไป จะทำให้กล้ามเนื้อตึงมากกว่าปกติ กระดูกจึงเสียดสีกันมากขึ้น การตัดกล้ามเนื้อชิ้นนี้เพื่อให้กระดูกกับเบ้าห่างกันมากขึ้นจึงช่วยลดอาการเจ็บปวดลงได้ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะร่วมกับการรักษาทางยาจะเห็นผลได้ชัดเจนว่าสุนัขมีอาการเจ็บปวดลดลงอย่างมาก สามารถลุกเดิน วิ่ง หรือเล่นได้มากกว่าที่เคย แผลผ่าตัดจะอยู่ด้านในของต้นขามีขนาดยาวไม่เกิน 2-3 นิ้ว สุนัขจะไม่ค่อยแสดงอาการเจ็บปวดภายหลังการผ่าตัด มักเดินหรือวิ่งภายหลังการผ่าตัดแล้ว 1 ? 2 วัน การดูแลแผลผ่าตัดไม่ยุ่งยาก
    ....สนับสนุนข้อมูลโดย : โรงพยาบาลสัตว์ เอ็น พี ถนน แฮปปี้แลนด์
  • ข้อมูลสุดยอดดดดดดด
  • ขอบตุณค่ะ