ยินดีต้อนรับครับ

ขอแนะนำให้ทุกท่าน สมัครสมาชิก เพื่อป้องกันการแอบอ้างชื่อครับ

Mark Mafia

กฎหมายความผิดกับเจ้าของสุนัข
  • ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
    มาตรา 433 ถ้าความเสียหายเกิดขึ้นเพราะสัตว์ ท่านว่าเจ้าของ สัตว์หรือบุคคลผู้รับเลี้ยงรับรักษาไว้แทนเจ้าของ จำต้องใช้ค่าสินไหม ทดแทนให้แก่ฝ่ายที่ต้องเสียหายเพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันเกิด แต่สัตว์นั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวัง อันสมควร แก่การเลี้ยงการรักษาตามชนิดและวิสัยของสัตว์หรือตามพฤติการณ์ อย่างอื่นหรือพิสูจน์ได้ว่าความเสียหายนั้นย่อมจะต้องเกิดมีขึ้นทั้งที่ ได้ใช้ความระมัดระวังถึงเพียงนั้น
    อนึ่ง บุคคลผู้ต้องรับผิดชอบดั่งกล่าวมาในวรรคต้นนั้น จะใช้สิทธิ ไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลผู้ที่เร้าหรือยั่วสัตว์นั้นโดยละเมิด หรือเอาแก่ เจ้าของสัตว์อื่นอันมาเร้าหรือยั่วสัตว์นั้น ๆ ก็ได้
  • เยี่ยมครับ :039:
  • แปลออกมา คือ ถ้าสุนัขไปสร้างความเสียหายให้กับบุคคลภายนอก เช่น เป็นความเสียหายเกี่ยวกับ ร่างกาย ทรัพย์สิน เจ้าของสุนัขต้องรับผิดชอบ ต่อการกระทำของสัตว์เลี้ยงของตน
    กรณี ผู้รับฝากสุนัข ก้อมีควาามผิดเช่นเดียวกัน เพราะเป็นผู้ดูแลสัตว์เลี้ยงแทนเจ้าของ
    ดังนั้นเมื่อ สุนัขได้สร้างความเสียหายแล้ว เจ้าของสุนัข หรือ ผู้รับฝากสุนัข จะต้องจ่ายเงินเป็นค่าเยียวยาผู้เสียหายในขั้นต้น
    กรณีถ้าผู้เสียหายตาย ซึ่งผู้เสียหายเป็นหัวหน้าครอบครัว ต้องดูแลอุปการะเลี้ยงบุตรและพ่อแม่ เจ้าของสุนัขหรือผู้รับฝากสุนัขจะต้องจะต้องจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูแทนผู้เสียหายที่ตายไป จะจ่ายเป็นงวดหรือเป็นเงินครั้งเดียวจบก้อได้ โดยคำนวณจากรายได้ของผู้เสียหาย ที่อุปการะเลี้ยงดูบุตร ถ้าพูดง่ายๆคือ ต้องดูแลจนกว่าลูกผู้ตายจะเรียนจบมีงานทำ หรือ เลี้ยงดูพ่อแม่ของผู้ตาย จนกว่า พ่อแม่ของเค้าจะตายไป
    แต่ถ้าเจ้าของสุนัขหรือผู้รับฝากสุนัขได้ใช้การดูแลสุนัขอย่างดีแล้ว เจ้าของสุนัขหรือผู้รับฝากสุนัขไม่ต้องรับผิด แต่การดูแลอย่างดีแล้ว เป็นแบบนี้ครับ เจ้าของสุนัขจะต้องใส่สายจูงสุนัขและสายจูงนั้นมีความแข็งแรงที่จะเอาสุนัขได้อยู่มัดและจะต้องไม่ปล่อยสายจูงยาวเกินไป ถ้ามีคนอื่นเดินมาในรัศมีนั้นแล้วถูกกัดถือว่าคนที่ถูกสุนัขกัดประมาทเอง เจ้าของสุนัขหรือผู้รับฝากสุนัขไม่ต้องรับผิดครับ
    อีกกรณีเจ้าของสุนัขหรือผู้รับฝากสุนัขไม่ต้องรับผิดอีก กรณีนึงคือ สุนัขถูกเลี้ยงไว้ในบ้าน มีการปิดรั้วหน้าบ้าน มิดชิด กำแพงมีความสูงเพียงพอ แต่ คนอื่นได้เอามือยื่นเข้าไปหรือยื่นหน้าไปใกล้จึงถูกน้ำลายสุนัขจนติดเชื้อ อันนี้ไม่ต้องรับผิดครับ เพราะถือว่าเป็นการยั่วสัตว์เลี้ยงของผู้อื่น
    แต่กรณีสุนัขพิทบลูใช้กับวรรคก่อนไม่ได้ครับ ต้องอยู่ในสายจูงหรืออยู่ในกรงเท่านั้น เพราะพิทบลูกระโดดได้สูง มากคับ เนื่องจากกฎหมายให้คำนึงถึงความสามารถของสัตว์เลี้ยง ด้วยครับ
  • กรณีความผิดของบุคคลภายนอก(แต่ไม่ใช่เจ้าของสุนัขหรือผู้รับฝากสุนัข)งานนี้บุคคลภายนอกจะต้องเสียเงินให้กับเจ้าของสุนัขหรือผู้รับฝากสุนัข ถึงแม้ว่าตนจะถูกสุนัขกัดหรือได้รับความเสียหายก้อตาม ยังไงก้อต้องเสียเงินให้เจ้าของสุนัขหรือผู้รับฝากสุนัขครับ
    ในกรณีดังต่อไปนี้
    ไปยั่วสุนัขของผู้อื่น เช่น ใช้ไม้ ใช้มือ ก้อนหิน หรือท่าทางส่อไปในทางยั่วสุนัข ถือว่า เป็นเรื่องความปลอดภัยและ เป็นการถูกคุกคามจากบุคคลภายนอกเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพของเจ้าของสุนัขคับเนื่องจากสุนัขอาจจะเผลอแว้งกัดเจ้าของสุนัขได้ อันนี้ก้อต้องเสียตังคับ
    กรณีต่อมา บุคคลภายนอกเอาสัตว์เลี้ยงซึ่งสัตว์เลี้ยงจะเปนอารัยก้อได้เช่น แมว หนู จิ้งจกของตนหรือของผู้อื่น ไปยั่วสุนัขของคนอื่น จะโดยตั้งใจหรือไม่ต้องใจก้อตาม กรณีนี้ก้อเสียตังคับ ถือว่า เป็นเรื่องความปลอดภัยและ เป็นการถูกคุกคามจากบุคคลภายนอกเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพของเจ้าของสุนัขคับเนื่องจากสุนัขอาจจะเผลอแว้งกัดเจ้าของสุนัขได้ เหตุผลเดียวกัน
    ผมตีความกฎหมายมาให้อ่านเพื่อให้เข้าใจโดยคร่าวๆ นะครับ พอดีใกล้จะจบแล้ว ผมยินดีที่จะให้คำปรึกษาคับ ถ้าเปนการช่วยผู้ที่เดือดร้อนและเปนผู้เสียหายโดนเอารัดเอาเปรียบ
  • ที่ปรึกษาประจำบอร์ดได้เลยครับท่าน
  • ถ้าใครมีความทรงจำเกี่ยวกับความรัก อยากให้เป็นทำนองที่จดจำฝังใจ ก้อเขียนมาก้อได้นะคับ ผมจะแต่งเป็นเพลงให้ เดี๋ยวส่งให้ทางเฟสบุ๊คคับ ผมชอบแต่งเพลง ครับ
  • ได้เลยครับ ไม่มีปัญหา ผมจะใช้วิชาที่ผมเรียนมาช่วยเหลือ สำหรับผู้ที่ต้องการความรู้ หรือต้องการความช่วยเหลือ ครับ
  • มีอารัยสอบถามเป็นส่วนตัว ก้อติดต่อได้ตามที่อยู่นี้เลยคับ sureenat_18@hotmail.com หรือพิมพ์คำว่า สารคาม อุดร ในช่องที่เขียนว่าค้นหา ก้อได้คับ ผมชื่อ ตั้มครับ
  • เป็นชื่อเฟสบุ๊คนะคับ
    :-D
  • image
    ไฟล์แนบ
    418332_329956197097043_704456957_n.jpg 97K
  • ขอแนะนำตัวหน่อยนะคับหลังตัด
  • อีกรูปตอนผมยาวคับimage
    ไฟล์แนบ
    8039_308400629252600_2075404212_n.jpg 105K
  • เยี่ยมครับ แต่ยังมีพ.ร.บ. บางตัวนนำมาปรับใช้ได้ด้วยนะครับเดี๋ยวจะลองหามาลงดูให้นะครับ
    เพื่อเป็นประโยชน์ครับ
  • มันต้องแบบนี้ เอาความรู้มาแบ่งปันบ้าง สุดยอดไปเลย เยี่ยมมากครับ

    ไม่ใช่มาถึงก็ตั้งกระทู้ ถาม ถาม ถาม แล้วก็ถาม ฮิ้วๆๆๆๆ
  • ขอขอบคุณ ทุกๆท่านเช่นกันครับ เพราะผมก้อเป็นคนรักพิทบลูเช่นเดียวกัน
    สาเหตุที่ผม เอากฎหมายมาแปลเป็น ภาษา ให้เข้าใจอย่างง่ายๆ เพราะ ต้องการให้คนเลี้ยงสุนัข เข้าใจการเลี้ยงสุนัขแบบไหนที่กฎหมายกำหนดว่าถูกต้อง แล้วถ้าเลี้ยงอีกแบบนึงมันผิด เช่นปล่อยให้สุนัขออกมานอกบ้านโดยไม่มีสายจูง และไม่มีเจ้าของสุนัขดูแล อันนี้ก้อผิดคับ ถือว่าคุณไม่ได้ใช้ความระมัดระวัง อันสมควร แก่การเลี้ยงสุนัข จะอ้างว่ามันหนีออกจากบ้านไปนานแล้วถ้าตราบใดที่ไม่มีคนเอาสุนัขของคุณไปอุปการะเลี้ยงดู ในตอนที่มันหาย คุณก้อยังคงเป็นเจ้าของสุนัข อยู่ดี และการที่ปล่อยให้มันหายไปนาน ถ้ามีผู้ยืนยันว่าคุณเป็นเจ้าของสุนัข งานนี้ ถ้ามีผู้เสียหายหลายคนมาร้องทุกข์ ได้จ่ายเงินเคลียกับเจ้าทุกข์เป็นหางว่าวแน่ครับ
  • ดีครับ อะไรที่เป็นประโยชน์ก็เอามาลงให้อ่านกัน ความรู้ยิ่งให้ยิ่งรู้ครับ
  • ได้เลยครับพี่มาร์ค แต่บลูลี่มะนาวของผมคงไม่ได้ลงแล้วนะครับโดนขโมยพอดีขังไว้ในกรงข้างตอนโดครับพอล็อคไว้แต่ไม่ได้ใส่ลูกกุญแจ แต่งานลากไปร่วมด้วยแน่นอนครับ
  • :063: :063: :063: :015:
  • ช่วงนี้ หงุดหงิดง่ายมาก เช้ามาเปิดคอมเจอแต่คำถามงี่เง่า ประเภท เอาง่ายเข้าว่า ไม่คิดจะช่วยเหลือตัวเอง มันเล่นเอากาแฟหมดรสชาดไปเลย พอเจอกระทู้แบบนี้แล้วรู้สึกดีใจ มันเหมือนมีคนกำลังมาช่วยสร้างต่อยอดให้สังคมเราเติบโตขึ้น แต่พวกมาตามกระแส พวกนี้เข้ามาแล้วรู้สึกว่าเป็นภาระอย่างไรก็ไม่รู้ ช่วงเห่อก็ถามนั่นถามนี่ แต่พอเบื่อ แม่งเป็นคนละคนเลย จะทิ้งหมาอย่างเดียวอ้างเหตุผลสารพัด ตอนนี้ใครมาแนวเอาง่ายเข้าว่าจะพยายามไม่คุยด้วยอีกแล้ว รู้สึกเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์

    ขอบคุณที่พยายามเอาสิ่งดีๆมาแบ่งปันนะครับ
  • ขอเพิ่มเติมครับ
    ตาม มาตรา 433 วรรคท้าย "อนึ่ง บุคคลผู้ต้องรับผิดชอบดั่งกล่าวมาในวรรคต้นนั้น จะใช้สิทธิ ไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลผู้ที่เร้าหรือยั่วสัตว์นั้นโดยละเมิด หรือเอาแก่ เจ้าของสัตว์อื่นอันมาเร้าหรือยั่วสัตว์นั้น ๆ ก็ได้"

    บุคคลภายนอกไม่ใช่เสียเงินให้กับเจ้าของสัตว์หรือผู้รับเลี้ยงครับ แต่เป็นกรณีที่เจ้าของหรือผู้รับเลี้ยงสัตว์ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปก่อน แล้วใช้สิทธิไล้เบี้ย มาฟ้องบุคคลภายนอกตามจำนวนค่าสินไหมที่ตนออกไป ซึ่งในความเป็นจริงแล้วหากมีกรณีดังกล่าวเกิดขึ้น เจ้าของหรือผู้รับเลี่้ยงสัตว์จะไม่ใช้สิทธิไล่เบี้ยครับ เพราะต้องเสียค่าขึ้นศาล เค้าใช้วิธีขอให้ศาลเรียกเค้ามาเป็นจำเลยร่วม เหมือนเราฟ้องคนขับรถยนต์ที่มีประกัน เค้าจะเรียกบริษัทประกันเข้ามาเป็นจำเลยร่วมเลย คนขับรถจะได้ไม่ต้องไปฟ้องเป็นคดีใหม่
  • เหตุผลในวรรคท้าย คือผมจะไม่ไล่ลึกขนาดนั้นครับ เพราะคนที่ไม่ได้เรียนกฎหมาย จะเข้าใจยาก แต่ผมจะให้เจ้าของที่เลี้ยงสุนัขเข้าใจว่า กรณีในวรรคท้ายมันเป็นความผิดของบุคคลภายนอก คือเจ้าของสัตว์เลี้ยงไม่ต้องเสียตังให้บุคคลภายนอกเลย ถ้าผมช่วยผมจะไม่ให้เสียเงินแม้แต่แดงเดียวเลยครับ ให้บุคลภายนอกไปฟ้องศาลเองเมื่อได้มีการขอหมายศาลเรียกเจ้าของสุนัขไปชี้แจงคำกล่าวหา ถ้าขึ้นศาลให้เจ้าของสุนัขอ้างเหตุผลว่า บุคคลภายนอกนั้นได้กระทำการไปยั่วสุนัขเอง เช่น ใช้ไม้ ใช้มือ ก้อนหิน หรือท่าทางส่อไปในทางยั่วสุนัข หรือ บุคคลภายนอกเอาสัตว์เลี้ยงซึ่งสัตว์เลี้ยงจะเปนอารัยก้อได้เช่น แมว หนู จิ้งจกของตนหรือของผู้อื่น มาเร้าหรือยั่วสุนัข จะเรียกค่าสินไหมทดแทนจากเจ้าของสุนัขหรือผู้รับเลี้ยงสุนัขไม่ได้ เห็นไหมคับวิธีนี้เจ้าของสุนัขหรือผู้รับเลี้ยงสุนัขไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลและไม่ต้องจ่ายตังให้ด้วย คือเราไม่จ่ายตั้งแต่แรกเลยอยากได้ไปฟ้องเอง แถมยังได้ค่าเดินทางในการมาขึ้นศาลอีกด้วย ถือว่าเป็นค่าเสียเวลาในการทำมาหากิน เพราะถ้าให้เหตุผลแบบที่ว่านั้นสำหรับคนที่รักสุนัข จะเสียเปรียบนะครับ เจตนาของผมจะขอชี้แจงแบบนี้คับ :-D

    ขอขอบคุณมากนะครับ การที่ตีความแบบนั้นก้อถูกคับแต่ตามหลักปฎิบัติแล้วมันสามารถหลีกเลี่ยงไม่ต้องกระทำตามก้อได้ มันเป็นเรื่องหนามหยอกเราก้อเอาหนามบ่งครับ ที่ทนายเค้าใช้แก้เผ็ดฝ่ายตรงข้ามในการช่วยลูกความ ผมดีใจนะคับเป้นเปนการพัฒนาฝีมือผมไปในตัวด้วย ขอขอบคุณ ด้วยความเคารพอย่างสูง
  • นี่ล่ะครับเหตุผลทำไมบุคลภายนอกต้องเสียเงินตามวรรคท้าย เพราะ เจ็บตัวแล้วตัวเองยังต้องเสียตังให้เจ้าของสุนัขอีก เพราะเป็นเงินค่าเดินทางในการมาขึ้นศาล ไม่ต่ำกว่าหมื่นห้าค่าน้ำมันผมว่าเค้าให้คำนวณระยะที่เดินทางมาศาล เจ้าของสุนัขจะโกหกยังไงก้อได้ว่าพักอยู่ไหน แก้เผ็ดคืน เจ้าของสุนัขจะได้เงินในส่วนนี้ล่ะครับ
  • บุคคลภายนอกในความหมายของท่านใช่ผู้เสียหายหรือไม่ จากที่อ่านมาข้างบนเหมือนเป็นผู้เสียหายนะ ถ้าใช่ผู้เสียหายฟ้องศาลไม่ได้อยู่แล้วเพราะใช้สิทธิไม่สุจริต ตาม 433 วรรคท้าย บุคคลผู้ที่เร้าหรือยั่วสัตว์นั้นโดยละเมิด คืนคนอื่นที่ไม่ใช่ผู้เสียหาย เช่น นาย ก มายั่วหมาของเรา แล้วหมาของเราไปกัดนาย A เราต้องรับผิดต่อนาย A แต่เราสามารถไล่เบี้ยจากนาย ก ได้เท่าค่าสินไหมทดแทนที่เราจ่ายให้นาย A
  • ที่ผมบอกว่าบุคคลภายนอกต้องเสียตังขอโทษนะครับที่ชี้แจงยังไม่ละเอียดดีพอ หากเกิดการฟ้องกันเกิดขึ้นแล้วเจ้าของสุนัขไม่ผิด ผมจะไม่ให้เจ้าของไล่เบี้ยในเงินเล็กน้อยที่จ่ายไปให้กับคนที่มาฟ้องลูกความของผมครับ
    เพราะ ผมจะทบต้นทบดอกฟ้องหมิ่นประมาทตามกฎหมายอาญา 326 ด้วยครับ เพราะ ตอนฟ้องคดีแพ่งเค้าต้องกล่าวหาลูกความผมต่างๆนาๆเมื่อศาลตัดสินว่าไม่ใช่ความผิดของเจ้าของสุนัขเป็นความผิดของโจทก์เอง คำที่เค้ากล่าวหาในคดีแพ่งผมจะขอสำนวน มาฟ้องกลับในคดีอาญาคับ เพราะมากล่าวหาว่าลูกความผมไม่ดูแลสุนัขให้ดี ทำให้ชาวบ้านชาวช่องเค้าดูหมิ่น และเหยียดหยาม ว่าเป็นคนไม่มีความรับผิดชอบ เลี้ยงไว้เพื่อเป็นภาระของสังคม
  • ไม่ใช่คับ
  • การตีความของท่านในวรรคท้ายนั้นถูกแล้ว จะผมใช้วิธีชี้แจงแก้ลำให้กับเจ้าของสุนัขคับ
  • เพื่อไม่ให้เสียเงินโดยไม่รู้เหตุผล
  • อย่าใช้วิธี นาย ก หรือ นาย เอ ครับ คนอ่านจะสับสน
  • มาดูกรณีนี้กันดีกว่า ท่านช่วยดูให้หน่อยผมคิดถูกไหม
    สุนัขวิ่งตัดหน้ารถเจ้าของสุนัขยังไปเรียกให้เจ้าของรถเสียเงิน กรณีหากประนีประนอมกันไม่ได้เกิดขึ้นโรงขึ้นศาลถ้าเจ้าของรถฟ้องกลับมาตรา433 วรรคแลก กับเจ้าของสุนัข งานนี้คดีพลิกเลยนะคับ เพราะ ทนายความฝ่ายประกันภัยรถยนต์เค้าเช็คบิลไม่ปล่อยแน่ ที่ผมบอกแบบนี้เป็นการสร้างวินัยให้เจ้าของสุนัขครับเป็นวิธีให้เจ้าของสุนัขรู้จักเอาใจใส่สุนัข สุนัขที่เลี้ยงจะได้ไม่ตาย เพราะสุนัขมันไม่รู้จักกฎจราจร มันเลยสอบใบขับขี่ไม่ได้อ่ะคับ
  • ท่านมีการวินิจฉัยเป็นอย่างอื่นไหมคับ เพราะคดีของคู่กรณีคดีสัตว์เลี้ยงนั้นจะต้องมีแพ้และชนะ
  • กรณีของท่าน เข้า 433 วรรคแรก แน่นอนครับ กรณีหมิ่นประมาณ ระวังมาตรา 331 ไว้ด้วยครับ :015:
  • ผมว่าตามปกติตามพฤติกรรมของสุนัขคนที่มายั่วสุนัข สุนัขมันจะไม่กัดคนอื่นที่ไม่ได้ยั่วมันหรอกคับมันก้อจำได้อยู่นะคับว่าใครทำอะไรกับมันไว้แต่สุนัขมันจะกัดไอ้คนที่มายั่วมันให้โมโหนั่นล่ะคับ

    ผมคิดว่ากรณีที่ผมตีความวรรคสอง น่าจะใช้ได้กับกรณีที่เจ้าของสุนัขเป็นผู้เสียหายเสียเอง
    มันน่าจะตีได้สองประเด็นนะผมว่า

    ประเด็นแรก บุคคลผู้ตองรับผิดตามวรรคหนึ่งก้อคือ เจ้าของสุนัขนี่ล่ะ เพราะเป็นผู้ที่ต้องรับผิดชอบในกรณีสุนัขไปก่อความเสียหาย แต่เจ้าของสุนัขดันเป็นผู้เสียหายเสียเองโดยถูกละเมิดจากบุคคลภายนอกมาก่อเหตุสร้างความเสียหายให้กับเจ้าของสุนัข เช่น บุคคลภายนอกผู้ก่อเหตุไปยั่วสุนัขพอสุนัขมันจะกัดคนที่ก่อเหตุดันจับตัวเจ้าของสุนัขไว้เป็นโล่กำบัง สุนัขมันเลยกัดโดนเจ้าของโดยพลาดไปพอเจ้าของสุนัขโดนกัดค่ารักษาพยายาล ค่าเสียหายต่างๆที่เกิดจากสุนัขกัด
    ผมว่าค่าใช้จ่ายที่เสียไปสามารถเรียกคืนจากคนที่เป้นต้นเหตุได้นะคับถึงแม้เจ้าของสุนัขจะเป็นบุคคลผู้ต้องรับผิดแต่กรณีนี้เจ้าของสุนัขเป็นผู้เสียหายโดยถูกละเมิดก่อน อีกกรณีนึงบุคคลภายนอกเอาสุนัขของตัวเองไปยั่วให้สุนัขของเรามากัดกันโดยที่เรามิได้ยินยอมให้กระทำเช่นนั้นเราสามารถเรียกค่าเสียหายในการรักษาสุนัขของเราที่โดนกัดได้นะคับ

    ประเด็นสอง บุคคลผู้ต้องรับผิดก้อคือเจ้าของสุนัขนี่ล่ะเค้าไปรับผิดตามวรรคแรกเลยจ่ายตังไปให้ผู้เสียหาย แต่เค้ามาพิสูจน์ว่าเค้าไม่ผิด ซึ่งเค้าหาตัวผู้ก่อเหตุได้ จึงไปขอตังที่ตนเสียไปให้กับผู้เสียหายจากผู้ก่อเหตุ แต่ต้องไปฟ้องศาลเป็นอีกคดีนึง กฏหมายเค้าให้โอกาสแก้ตัว คับ แต่ส่วนมากถ้าเจ้าของรับผิดแล้วเค้าก้อจะปล่อยให้เรื่องมันยาวจบไปเลยยิ่งเร็วยิ่งดี


  • สิ่งที่ท่านกล่าวมาถูกต้องคับ เจ้าของสุนัขหรือผู้รับฝากสุนัขจะต้องรับผิดในสิ่งที่สุนัขได้ก่อขึ้นถือว่าเจ้าของสุนัขหรือผู้รับฝากสุนัขเป็นบุคคลผู้ต้องรับผิด ในกรณีสุนัขอยู่ในความดูแลของคนใดคนหนึ่งเมื่อเจ้าของสุนัขหรือผู้รับฝากสุนัขที่เสียเงินจ่ายค่าเสียหายไปแล้วหากมีข้อพิสูจน์ได้ว่าไม่ใช่ความผิดของตน ที่สุนัขทำเช่นนั้นเกิดขึ้นจากบุคคลภายนอกเป็นผู้ก่อเหตุเจ้าของสุนัขสามารถไปฟ้องไล่เอาเงินคืนกับผู้ที่เป็นต้นเหตุในวงเงินที่เจ้าของสุนัขได้จ่ายให้ผู้เสียหายได้ใช่ไหมคับนี่ล่ะครับคือเหตุผลทำไมบุคคลภายนอกผู้ก่อเหตุจะต้องเสียเงินให้เจ้าของสุนัขเพราะเจ้าของสุนัขได้แสดงหลักฐานว่าตนไม่ได้ผิดเหตุเกิดขึ้นจากบุคคลคนนั้น เนื่องจากเจ้าของสุนัขได้จ่ายตังให้ผู้เสียหายไปแล้วเจ้าของสุนัขจึงไปไล่เอาเงินคืนจากบุคคลผู้ก่อเหตุในส่วนที่ตนเสียไปคับเพราะสาเหตุไม่ได้เกิดจากความผิดของเจ้าของสุนัข ขอขอบคุณท่านมากเลยนะครับที่ให้เนื้อหากับผมทำให้ผมเข้าใจและตีความได้อย่างลึกซึ้งมากขึ้น คับ ด้วยความเคารพอย่างสูง


    แต่ตามมาตรา433วรรคท้าย ใช้วิธีนี้แก้คืนใช่ไหมครับถือว่าเป็นการช่วยคนรักสุนัขคือ กฎหมายเค้ายังให้โอกาสผู้เป็นเจ้าของสุนัขพิสูจน์ว่าหากตนไม่ผิดให้หาตัวต้นเหตุมาพิสูจน์เมื่อมีกรณีดังกล่าวเกิดขึ้นจริง หากขึ้นโรงขึ้นศาลให้ใช้วิธีขอให้ศาลเรียกคนที่เป็นต้นเหตุเข้าเป็นจำเลยร่วมในคดีเพื่อให้คนที่เป็นต้นเหตุเสียเงินแก่ผู้เสียหายเจ้าของสุนัขจะได้ไม่ไม่ต้องจ่ายตัง จะได้ไม่ต้องไปไล่เงินคืนจากต้นเหตุให้เสียเวลาเสียค่าขึ้นศาลหากใช้สิทธิการไล่เบี้ยตาม433วรรคสองมันไม่คุ้ม เมื่อคดีชี้ขาดแล้วบุคคลภายนอกผู้ก่อเหตุที่ผิดจะต้องจ่ายเงินให้เจ้าของสุนัขและผู้เสียหายในส่วนเป็นเงินค่าเดินทางในการมาศาลด้วย กรณีศาลปกครองญาติผมได้หมื่นห้าครับ ต่อนะคับถ้าเจ้าของสุนัขบอกว่าบ้านอยู่ไกลยิ่งได้เงินเยอะถือว่าเป็นค่าเยียวที่เจ้าของสุนัขที่เสียความรู้สึกนะครับ
  • แต่ข้อมูล (เจ้าของสุนัข) (นาย เอ คนถูกหมากัด) (นาย ก คนยั่วสุนัข)ที่ท่านให้มา ผมให้เป็นสองกรณีครับ
    นาย ก มายั่วสุนัขที่มีเจ้าของสุนัขดูแลอยู่ แล้วสุนัขไปกัดนาย A แต่นาย เอ ดันมาเรียกค่าเสียหายเอากับเจ้าของสุนัข

    ในกรณีสุนัขไม่ได้หลุดจากสายจูงก้อคือสุนัขอยู่ในสายจูงนั่นแหละคับ ถือว่าเจ้าของสุนัขได้ใช้ความระมัดระวัง อันสมควร แก่การเลี้ยงการรักษาสุนัข ต่อให้เจ้าของสุนัขสั่งห้ามนาย ก ไม่ให้กระทำเช่นนั้นได้ความเสียหายที่สุนัขไปกัด นาย เอ นั้นย่อมจะต้องเกิดขึ้นทั้งที่เจ้าของสุนัขได้ใส่สายจูงสุนัขแล้วแม้ได้ใช้ความระมัดระวังถึงเพียงนั้นเพื่อไม่ให้สุนัขไปสร้างความเสียหาย นาย เอ ก้อเดินมาหาสุนัขอยู่ดี นายเอจึงโดนสุนัขกัด มาตรา 433 วรรคแรกช่วงท้ายแล้ว ซึ่งนายเอ ควรจะทิ้งระยะห่างระหว่างสุนัขกับตัวเองเพื่อป้องกัดไม่ให้สุนัขกัด

    นาย เอ จึงไม่มีสิทธิจะเรียกเงินค่าเสียหายนั้นจากเจ้าของสุนัข เพราะเจ้าของสุนัขไม่ได้เป็นผู้สั่งสุนัขให้ทำเช่นนั้นเหตุเกิดเพราะนาย ก เจ้าของสุนัขจึงไม่มีความผิด ไม่ต้องเสียเงินถือว่าการใส่สายจูงจนทำให้สุนัขไม่สามารถเดินไปไหนตามอำเพอใจได้และสายจูงนั้นมิได้ขาด ถือว่าเจ้าของสุนัขได้ใช้ความระมัดระวัง อันสมควร แก่การเลี้ยงการรักษาสุนัขแล้ว ตาม 433 วรรคแรกช่วงท้าย ซึ่งตามปกติตามพฤติกรรมของเจ้าของสุนัขการที่จะจูงสุนัขไปหาคนอื่นจะทิ้งระยะห่างไว้ เพื่อไม่ให้สุนัขไปถึงตัวคนนั้นครับ
    (ไอ้สองคนนั้นมันเดินมาหาสุนัข อยากหาเรื่องใส่ตัวเองไปเคลียกันเอาเองนะคับ)
  • กรณีต่อมาสุนัขไม่ได้อยู่ในสายจูง งานนี้ นาย ก ยั่วสุนัขแล้วสุนัขกัด นาย เอ แต่ไม่ได้กัดนาย ก แสดงว่าสุนัขมันเชื่อฟังคำสั่ง ของ นาย ก ถือว่านาย ก เป็นผู้รับเลี้ยงดูสุนัขไว้แทนเจ้าของเลยคับ
    เพราะการที่เจ้าของสุนัขมิใด้ห้าม นาย ก ในกรณีใดๆ แสดงว่าเจ้าของสุนัขได้แสดงเจตนาโดยการนิ่ง ให้นาย ก เป็นผู้ดูแลสุนัขแทนเจ้าของสุนัขเมื่อนาย ก ยั่วสุนัข แต่สุนัขไม่ได้กัดนาย ก ถือว่าการกระทำของนาย ก เป็นการเรียกสุนัขให้มาหาตน จึงเป็นการตอบรับยอมเป็นผู้ดูแลสุนัขไว้แทนเจ้าของโดยปริยายคับเมื่อสุนัขมีการเคลื่อนไหวแล้วถือว่าสุนัขได้เปลี่ยนความดูแลอยู่ในการควบคุมของนาย ก ผู้ดูแลสุนัขไว้แทนเจ้าของ ถือว่าเป็นการเรียกสุนัขไปจากเจ้าของสุนัขโดยเจ้าของสุนัขอนุญาติให้สิทธินาย ก เป็นผู้ดูแลสุนัขแทนเจ้าของสุนัขโดยปริยายคับ
    เมื่อนาย ก ยั่วสุนัข แล้วสุนัขมันกัดนายเอ นาย ก ผู้รับเลี้ยงดูสุนัขไว้แทนเจ้าของ ต้องเสียเงินให้กับ นาย เอ ครับ นาย เอ จะเรียกค่าเสียหายจากเจ้าของสุนัขไม่ได้คับ เพราะเจ้าของสุนัขได้อนุญาติให้สิทธินาย ก เป็นผู้ดูแลสุนัขแทนเจ้าของสุนัขโดยปริยายคับและนาย ก ยังไม่บอกกล่าวว่าจะส่งสุนัขคืนให้กับเจ้าของสุนัข เอา มาตรา4 มาอ้างคับ
  • ความผิดในทางอาญา เมื่อ นาย ก ตกเป็นผู้รับเลี้ยงดูสุนัขไว้แทนเจ้าของโดยปริยายแล้ว
    การที่นาย ก ยั่วสุนัขแต่สุนัขมันไปกัด นาย เอ จึงถือว่าเป็นวิธีการออกคำสั่งสุนัข ของ นาย ก โดยยั่วสุนัขให้โมโหเพื่อให้ไปกัด นาย เอ การที่ นาย ก ยั่วสุนัขจึงเป็นการใช้สุนัขให้กระทำความผิดแทนตน ตาม อาญา 84 วรรค 1 เป็นเหตุให้ นาย เอ เกิดอันตรายแก่ร่างกายเพราะถูกสนัขกัดตาม อาญา 295เป็นความผิดเกี่ยวกับร่างกาย เพราะผู้ที่ถูกใช้ให้กระทำความผิด ตามอาญา 84 วรรคแรกไม่ได้ระบุว่าใช้คน หรือ สัตว์เลี้ยง ผมว่ามาตรานี้ใช้ได้
    ดังนั้น การที่ นาย ก ยั่วสุนัขให้สุนัขมันไปกัด นาย เอ ถือได้ว่า นาย ก กระทำความผิด ฐาน ใช้ให้ทำร้ายร่างกายผู้อื่นโดยเจตนา 295ประกอบ84 วรรค 1และ 59 วรรค 2 เพราะนาย ก ย่อมเล็งเห็นผลของการยั่วสุนัขนั้นว่าสุนัขจะต้องโมโหกัดคนที่เข้ามาใกล้อย่างแน่นอน


    กรณี นาย เอ ผู้ถูกสุนัขกัด จะเรียกค่าเสียหายกับ เจ้าของสุนัขหรือผู้รับเลี้ยงสุนัขไว้แทนเจ้าของนั้นถ้าอยู่ด้วยกันทั้งคู่
    กรณีนี้ถ้าสุนัขอยู่ในสายจูงขึ้นอยู่กับว่าสายจูงสุนัขอยู่ในมือเจ้าของสุนัขหรือผู้รับเลี้ยงสุนัขไว้แทนเจ้าของ
    อยู่ในมือคนไหนคนนั้นล่ะคับรับผิด

  • ในการสิ้นหน้าที่ในการเป็นผู้รับเลี้ยงสุนัขไว้แทนเจ้าของนั้นผู้รับเลี้ยงสุนัขไว้แทนเจ้าของจะต้องส่งสุนัขให้ถึงมือเจ้าของสุนัข เช่น ถ้าสุนัขถูกใส่สายจูง ให้ส่งสายจูงให้เจ้าของสุนัขเป็นผู้ถือครับ เพราะสายจูงเป็นสิ่งที่เจ้าของสุนัขหรือผู้รับเลี้ยงสุนัขไว้แทนเจ้าของใช้ควบคุมดูแลสุนัขให้เดินหรือหยุดคับผม

    เรียนกฎหมายมันก้อเหนื่อยนะครับท่าน ถ้าเป็นทนายความก้อต้องคิดวิธีแก้คำกล่าวหากัน ถ้าผมเรียนจบแล้วไปเป็นทนายความผมบอกได้เลยโคตรเหนื่อยเมื่อยสมอง ขอน้ำอัดลมซักขวดได้ไหมคับพี่ โอ้ยเหนื่อยจัง
    ผมจึงคิดว่า ผมจะไปรับราชการดีท่าน ผมดีใจนะครับที่ทุกๆท่านจะมาชี้แจงความเห็นกฎหมายเกี่ยวกับปัญหาสัตว์เลี้ยง
    การให้ความรู้กับผู้เลี้ยงสัตว์ผมขอให้เกิดอานิสงส์เป็นบุญกุศลแก่ทุกๆท่านครับ
    ขอขอบคุณครับ ด้วยความเคารพอย่างสูง
  • กรณี 331 อาญา ทีเด็ดเลยทีเดียวจริงๆเลยครับท่าน แต่ว่าถ้าคู่กรณีออกนอกประเด็นเป็นการหมิ่นประมาท ซึ่งไม่เกี่ยวกับเนื้อหาคดี งานนี้ผมขอรอด กรณี331 นะคับ เผื่อ เผลอ อิๆๆสนุกจิงๆคับขอขอบคุณท่านมาก
  • ความผิดอาญาที่ผมชี้แจงไปประเด็นนาย ก รบกวนท่านช่วยวินิจฉัยเพิ่มเติมด้วยนะคับ
  • ขอคั่น ด้วยคลิปนี้ ร่วมกับการพิจารณาทางกฎหมาย

    เพลงประกอบ ตรงดี Monster You Made Me โดยPop Evil
  • ตาม ปอ. ม.84 "ผู้ใดก่อให้ผู้อื่น..." ดังนั้น กฎหมายใช้คำว่าผู้อื่น จึงต้องเป็นคนเท่านั้น และจะผิดฐานผู้ใช้ได้ต้องเป็นกรณีมีบุคคลผู้ทูกใช้กระทำความผิดตามที่ใช้โดยผู้ถูกใช้มีเจตนาที่จะกระทำความผิดนั้นด้วย ดังนั้นประเด็นของท่าน นาย ก ไม่เป็นผู้ใช้ครับ เพราะไม่มีผู้ถูกใช้ แต่นาย ก เป็นผู้กระทำความผิด โดยใช้สุนัขเป็นเครื่องมือ ตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 527/2538 , ฎีกาที่5318/2549 ครับ

    ยั่วสุนัขแล้วสุนัขไปกัด นาย เอ น่าจะเข้า ปอ. ม.300 มากกว่า เพราะสุนัขที่ยั่ว นาย ก คงไม่สามารถสั่งให้ไปกัดนาย เอ ได้ สุนัขอาจไปกัดคนอื่นได้ แต่หากนาย ก สั่งสุนัขให้ไปกัดนาย เอ แล้วสุนัขไปกัดนาย เอ จึงเข้า 295 ครับ

    ประเด็น ปอ. 331 หากนำข้อความในคำฟ้องคดีก่อน มาฟ้องฐานหมิ่นประมาทเป็นคดีนี้ ไม่ผิดครับ ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2212/2536 , ฎีกาที่ 3963/2529 , ฎีกาที่ 1590/2521 , ฎีกาที่ 563 - 565/2508

    เรื่องค่าเดินทางไปศาลนั้นอย่าไปหวังดีกว่าครับ เนื่องจากเราเป็นจำเลยจึงไม่ได้ค่าเดินทาง เว้นแต่กรณีที่ฝ่ายโจทก์ขอเลื่อนคดี ศาลอาจสั่งให้ฝ่ายโจทก์จ่ายค่าเดินทาง ค่าเช่าที่พัก ของทนาย ตัวความ ตาม วิ.แพ่ง ม. 40
    ส่วนเป็นพยานตามหมายเรียกของศาลในคดีแพ่ง และคดีอาญา ประเทศไทย ให้ค่าป่วยการ ไม่เกิน 400 ครับ ค่าเดินทางและค่าเช่าที่พักตามที่ศาลเห็นสมควร ตามตาราง 4 ท้าย ป.วิ.แพ่ง ในความเป็นจริงพวกตำรวจส่วนใหญ่ได้ค่าป่วยการ 300-350 ค่าเดินทางและค่าเช่าที่พัก ไม่มี พยานหมายส่วนใหญ่ศาลก็ไม่ค่อยให้เดินทางและค่าเช่าที่พัก

    เริ่มจะกลายเป็นบอร์ดกฎหมายแล้ว







  • เยี่ยมครับกระทู้นี้ดีมากๆครับ :063:
  • ขอบคุณมากครับ ทุกๆท่าน ที่มีความคิดเห็นดีๆต่างๆ ผมประทับใจมาเลยคับ ที่คนรักสุนัข ต่างให้ความคิดเห็นแม้จะออกมาทางกฎหมายคำว่ากฎหมายอ่านแล้วดูเครียดเน๊าะผมก้อหาวิธีเลี่ยงๆอยู่เหมือนกัน ผมอยากให้เรามองว่ามันเป็นกฎระเบียบฝึกให้เจ้าของสุนัขมีวินัยในการดูแลเอาใจใส่สุนัขมากขึ้นดีกว่าคับ คนที่ไม่ใช่เจ้าของสุนัขจะได้ไม่เจ็บตัวและเจ้าของสุนัขจะได้มีความสุขในการนำสุนัขตัวโปรดออกไปเดินเล่นตามสถานที่สาธารณะ ทำให้คนอื่นที่เดินผ่านรู้สึกปลอดภัยเวลาเห็นเจ้าของสุนัขใส่สายจูงสุนัข ทำให้เกิดอันตรายน้อยลงและเป็นการลดปัญหาสังคมอีกด้วย :-D
  • ต้องนำสุนัขที่เลี้ยงอยู่ทั้งหมดไปจดทะเบียนที่สำนักงานเขตในท้องที่ หรือที่กองสัตวแพทย์สาธารณสุข สำนักอนามัย ภายใน 120 วัน นับแต่วันที่สุนัขเกิด หรือภายใน 30 วัน

    นับแต่วันที่นำสุนัขมาเลี้ยงในเขตกรุงเทพฯ หากกรณีที่ไม่สะดวกที่จะนำสุนัขมาจดทะเบียน หรือกรณีที่เลี้ยงสุนัขหลายตัวให้นำใบรับรองซึ่งออกโดยสัตวแพทย์คลีนิคต่างๆ ซึ่งจะระบุรูปพรรณสัณฐานของสุนัข และชื่อเจ้าของที่แท้จริงรวมทั้งที่อยู่อย่างชัดเจน มาขึ้นทะเบียนแทนได้

    ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ที่รับเรื่องจะออก "บัตรประจำตัวสุนัข" ซึ่งมีความสำคัญ เพราะต่อไปทุกครั้งที่นำสุนัขออกจากบ้านจะต้องพกบัตรประจำตัวสุนัขติดตัวไว้ ตลอด

    ส่วน กรณีมีการย้ายที่อยู่ของสุนัข สุนัขตาย สุนัขหาย บัตรประจำตัวสุนัขหาย หรือเปลี่ยนเจ้าของจะต้องแจ้งต่อหน่วยงานที่รับผิดชอบในการขึ้นทะเบียนภายใน 30 วัน เพื่อได้ออกบัตรประจำตัวสุนัขใหม่ หรือไขรายละเอียดที่อยู่ให้ถูกต้องได้ เพราะการขึ้นทะเบียนสุนัข เรื่องฐานข้อมูลที่ถูกต้องจึงเป็นเรื่องสำคัญ



    ทุกครั้งที่เจ้าตูบของคุณออกจากบ้าน จะต้องมีเจ้าของติดตามและจะต้องพกบัตรประจำตัวสุนัขไปด้วยทุกครั้ง รวมทั้งจะต้องผูกสายลากจูงตลอดเวลา กรณีที่เป็นสุนัขความคุมพิเศษคือ

    เป็นพันธุ์ดุร้าย เช่น พิทบูลเทอเรีย สเฟฟอร์ดเชอร์บูลเทอเรีย ร็อดไวเลอร์ และฟิล่าบราซิลเรียโร เป็นต้น หรือเป็นสุนัขที่มีประวัติทำร้ายคนมาก่อน จะต้องใส่อุปกรณ์ครอบปากและใช้สายลากจูงมีความยาวไม่เกิน 50 ซม. ตลอดเวลา

    รวมทั้งผู้ติดตามจะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี เพื่อความปลอดภัยของประชาชนทั่วไป

    และเจ้าของจะต้องเก็บทำความสะอาดสิ่งปฏิกูลที่เกิดจากสุนัขของท่าน ทั้งอุจจาระ เศษอาหาร ฯลฯ ทุกครั้งที่ออกมาเดินเพ่นพานนอกบ้าน

    หาก มีการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามที่กฎหมายระบุ ทั้งการขึ้นทะเบียนสุนัข ไม่ความคุมดูแลสุนัขขณะอยู่ในที่สาธารณะ

    มีบทลงโทษปรับตาม พ.ร.บ.สาธารณสุข พ.ศ. 2535 เป็นเงินไม่เกิน 5,000 บาท

    โดยประชาชนทั่วไปที่พบเห็นการฝ่าฝืนสามารถแจ้งเจ้าพนักงานสาธารณสุข เจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือเทศกิจ ให้ดำเนินการปรับได้ทันที แต่จะต้องมีหลักฐานบ่งชี้ชัดเจน เช่น รูปถ่าย เป็นต้น
  • คำถาม เจ้าของสุนัขจะต้องทำอย่างไรในเบื้องต้นเมื่อสุนัขของตนไปกัดคนอื่น และต้องระวางโทษเจ้าของสุนัขนั้นๆ หรือไม่
    คำตอบ เมื่อสุนัขไปกัดผู้อื่น เจ้าของสุนัขต้องแสดงตนและพิสูจน์ว่าสุนัขของตนได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าจากสัตวแพทย์แล้ว และต้องมีใบรับรองการฉีดวัคซีนจากสัตวแพทย์ หากสุนัขของท่านไม่ได้รับการฉีดวัคซีนจะมีความผิดตามกฎหมาย ซึ่งมีโทษปรับไม่เกิน ๒๐๐ บาท และหากสุนัขของท่านดุร้าย โดยท่านปล่อยปละละเลย ให้สัตว์ของท่านออกมานอกบ้านโดยลำพัง ในประการที่อาจทำอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์นั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๑ เดือน หรือปรับไม่เกิน ๑ , ๐๐๐ บาท พร้อมทั้งจำทั้งปรับ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๗๗ อีกด้วย นอกจากนั้นท่านต้องรับผิดชดใช้ทางแพ่งแก่ผู้ได้รับความเสียหายจากการที่สุนัขของท่านไปกระทำละเมิดผู้อื่นด้วย
  • ก่อนอื่นขอเรียนว่ากฎหมายว่าด้วยพิษสุนัขบ้านั้น เป็นกฎหมายที่ต้องการคุ้มครองประชาชนจากการติดโรคพิษสุนัขบ้า และเมื่อพบโรคพิษสุนัขบ้าต้องรีบจำกัด โดยต้องร่วมมือกับทุกฝ่าย ทั้งประชาชนและหน่วยงานของรัฐ โดยเฉพาะกรมปศุสัตว์ และกรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งอย่าลืมว่าโรคนี้ติต่อถึงคนได้ด้วย หัวใจหลักของกฎหมายก็คือทำอย่างไรที่จะให้โรคพิษสุนัขบ้าหมดไปจากประเทศไทย ซึ่งส่วนใหญ่สุนัขเป็นสัตว์ที่แพร่ระบาดโรคพิษสุนัขบ้าได้ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องฉีดว้คซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้แก่สุนัขให้ได้มากที่สุด หากสุนัขทุกตัว ได้รับการฉีดวัคซีนถึง ๑๐๐ % จะทำให้โรคนี้หมดไปจากประเทศไทย สิ่งที่กฎหมายฉบับนี้กำหนดให้ปฏิบัติง่ายๆ ดังนี้
    ๑ . เจ้าของสุนัขทุกตัวต้องนำสุนัขของท่านไปรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และต้องฉีดซึ่งทุกปี โดยต้องเก็บหลักฐานการฉีดวัคซีนไว้ด้วย คือ เหรียญแขวนคอ และใบรับรองการฉีดวัคซีนจากสัตวแพทย์ ไว้เป็นหลักฐาน
    ๒ . หากท่านโอนกรรมสิทธิ์สุนัขให้แก่ผู้อื่น เช่น การขาย หรือการให้ ท่านต้องมอบเหรียญ และใบรับรองการฉีดวัคซีนให้แก่ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ไปด้วย เพื่อต่อเนื่องในการฉีดวัคซีนในครั้งต่อๆ ไป
    ๓ . หากสุนัขของท่านมีอาการผิดปกติ หรือสงสัยว่าจะติดโรคพิษสุนัขบ้า ให้ท่านรับแจ้งแก่ปศุสัตว์จังหวัด หรือเจ้าหน้าที่ของกรมปศุสัตว์ หรือเจ้าพนักงานท้องถิ่น ซึ่งได้แก่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น กทม . เมืองพัทยา อจบ . หรือ อบต . เพื่อจัดการให้สัตวแพทย์ไปทำการควบคุม หรือตรวจสอบว่าสุนัขของท่านเป็นโรคพิษสุนัขบ้าหรือเปล่า ซึ่งก็จะต้องดูประวัติของสุนัขท่านว่าได้รับการฉีดวัคซีนแล้วเมื่อไร หรือไม่ อย่างไร และกรมปศุสัตว์กับกระทรวงสาธารณสุข จะเข้าร่วมมือในการป้องกันและกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าต่อไป
    ๔ . หลักสำคัญคือ หากท่านเลี้ยงสุนัขท่านต้องมีหน้าที่นำสุนัขทุกตัวไปรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า