ยินดีต้อนรับครับ

ขอแนะนำให้ทุกท่าน สมัครสมาชิก เพื่อป้องกันการแอบอ้างชื่อครับ

Mark Mafia

การฝึกสุนัข
  • การฝึกสุนัข ไห้ลากของกับกระโดดกัดเชือกฝึกยังไง พอมีวิธีง่ายๆๆไหมคร๊าฟ
    เผอิญว่าพึ่งหัดเลี้ยงอ่างับ
    ไม่รุ้การฝึกสักเท่าไหร่
    ช่วยบอกทีน๊าคร๊าฟ
    ขอบคุนล่วงหน้านะครัฟ
  • ข้อแนะนำการฝึกลากน้ำหนัก จาก เว็บบอร์ด www.pitbullzone.com
    อายุสุนัขกับการออกกำลังกาย
    ? อายุต่ำกว่า 1 ปี ให้ฝึกคำสั่งเบื้องต้นก่อนเช่น ชิด นั่ง หมอบ คอย { ถ้ามีเวลา } และหรือ ให้ใส่ชุดลากฯ หรือชุดรัดอก ให้เคยชิน แต่อาจจะต้องเปลี่ยนบ่อยเพราะสุนัขจะโตขึ้น
    ? อายุ 1 ปี ขึ้นไปฝึกให้รู้จักคำสั่งลากฯ และฝึกด้วยน้ำหนักเบาๆ { คือ สุนัขเดินลากแบบสบายๆ ไม่ใช่ออกแรงจนตัวเกร็ง } และระยะทางไม่ควรเกิน 10 เมตร
    ? อายุ 1.6 ปี ฝึกอย่างจริงจัง แต่น้ำหนักยังไม่เต็มที่ { ลากแบบตัวเกร็ง แต่ไปได้เรื่อยๆ ไม่ใช่ตะกุย แล้วตะกุยอีก ก็ยังไม่ขยับ แบบนี้หนักเกินไปครับ }
    ? อายุ 2 ปี ขึ้นไป ฝึกได้เต็มที่ครับ
    การเตรียมตัวก่อนการฝึก
    ? เล่นกับสุนัข
    เพื่อสร้างความผูกพัน คุ้นเคย และเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ระหว่างเจ้าของหรือผู้ฝึก กับสุนัข
    ? การสัมผัสกับสุนัข
    เพื่อแสดงความรักที่มีต่อสุนัข โดยการ โอบ กอด ตบไหล่เบาๆ
    ? การฝึกเบื้องต้น
    คือการฝึก ชิด นั่ง หมอบ คอย ฯ ถ้าสุนัขผ่านการฝึกเหล่านี้มา จะทำให้การฝึกลากฯ ง่ายยิ่งขึ้น เพราะสุนัขเชื่อฟังเจ้าของ แต่ถ้าไม่เคยฝึกมาก่อน ก็ไม่เป็นไร แต่อย่างน้อยๆ ก็ควรจะเรียกสุนัขมาหาได้ ....ถ้าเรียกแล้วสุนัขเฉย { หมาเมิน } ก็...ต้องบอกว่า คงจะเหนื่อยมากๆๆๆๆในการฝึกสุนัขตัวนี้ลากฯ

    การฝึกลากน้ำหนักเบื้องต้น
    1.การสร้างความคุ้นเคย
    โดยการใส่ชุดลากฯเปล่าๆแล้วจูงเดินเล่น สัก20 30นาที ในช่วงเช้า และเย็น สักประมาณ 2-3 วัน หรือมากกว่า โดยต้องสังเกตุสุนัขว่า ไม่กลัวและเริ่มคุ้นเคยกับชุดลากฯแล้ว

    2.การทำให้ดู
    โดยธรรมชาติของสุนัขแล้ว เค้าจะถือว่าเจ้าของคือจ่าฝูง ดั่งคำกล่าวที่ว่า " เจ้าของมีนิสัยยังงัย สุนัขก็จะมีนิสัยคล้ายกัน " หรือ " อยากรู้ว่าเจ้าของสุนัขมีนิสัยอย่างไร ให้ดูที่สุนัข " นั่นเอง
    หลังจากมีอุปกรณ์การฝึกแล้ว { ล้อยาง หรือโซ่ } ให้ผู้ฝึก ลากให้สุนัขดูก่อน สักวันนึง เพื่อสุนัขจะได้รู้ว่า สิ่งที่ผู้ฝึกลากอยู่นี่ไม่มีอันตราย ไม่ใช่อยู่ๆเอามาให้ลากเลย สุนัขจะตกใจได้

    3.การเล่นก่อนและหลังการฝึกลากฯ
    ก่อนฝึกต้องปล่อยให้สุนัขทำธุระส่วนตัวให้เสร็จก่อน และเล่นกับเค้าสักพัก เมื่อฝึกเสร็จแล้วก็เล่นกับเค้าอีกสักหน่อยเพื่อเป็นการให้รางวัล และผ่อนคลาย

    4. การเริ่มฝึกลากฯ
    เตรียมอุปกรณ์โดยน้ำหนักของอุปกณ์ไม่ควรเกิน25% ของน้ำหนักตัวสุนัข และให้สุนัขใส่ปลอกคอแบบทั่วไป ห้ามใช้สาย choke chene เด็ดขาด ผู้ฝึกอยู่ข้างๆตัวสุนัข มือหนึงจับตรงสายชุดลากฯที่อยู่ด้านหลังของสุนัข อีกมือจับปลอกคอหรือสายจูงในระยะที่พอดี กับมือข้างที่จับชุดลากฯ ออกคำสั่ง พร้อมกับออกแรงดึงทั้ง 2 มือ โดยมือที่จับสายจูงหรือปลอกคอให้ดึงหรือกระตุกเบาๆเท่านั้น พร้อมกับเดินช้าๆถ้าสุนัขเริ่มเดิน ให้ปล่อยมือข้างที่จับชุดลากฯ แต่ให้จับสายจูงไว้เช่นเดิม โดยจับแบบหย่อนๆ ถ้าสุนัขหยุดเดิน ให้กระตุกสายจูงเบาๆ พร้อมกับออกคำสั่งด้วย ถ้ายังไม่เดินอีกให้ใช้มืออีกข้างจับชุดลาก { ที่เดิมตรงด้านหลังสุนัข } ออกแรงดึงพร้อมกับออกคำสั่งไปด้วย โดยใช้ระยะทางสั้นๆ ประมาณ 4-5 เมตรต่อเที่ยว เมื่อลากเสร็จในแต่ละเที่ยวให้ชมสุนัขด้วย

    หมายเหตุ
    -คำสั่งลากฯต้องเป็นคนละคำสั่งที่เรียกมาหาในชีวิตประจำวัน เช่นการเรียกมาหาในเวลาปกติ ใช้ " มานี่ " แต่คำสั่งลากฯ ต้องเป็น " pull หรือ go " หรืออะไรก็ได้ ที่เป็นคำสั้นๆเพื่อไม่ให้สุนัขสับสนคำสั่ง
    - น้ำเสียง ต้องไม่แข็งกระด้าง ไม่กระโชก โฮกฮาก แบบที่ใช้ในการดุ หรือทำโทษ ให้ใช้คนละโทนเสียง
    - กริยาท่าทาง ต้องไม่เคร่งเครียด ขึงขัง เพราะลักษณะท่าทางแบบนี้ เราจะทำในขณะที่โมโหเท่านั้น ให้ใช้ท่าทางแบบสนุกสนาน ผ่อนคลาย
    - การชมเมื่อสุนัขทำได้ ให้ชมแบบสุดๆ ในลักษณะ over ไปเลย เพื่อสุนัขจะได้รู้ว่า ในสิ่งที่เขาทำไปนั้น เจ้าของพอใจมากๆ



    5.จำนวนเที่ยวและเวลาในการฝึก
    -ให้ฝึกในเวลาที่ไม่ร้อนมากเช่นเช้า-เย็น เพราะถ้าอากาศร้อนๆสุนัขจะเหนื่อยง่าย และไม่มีสมาธิ

    -ส่วนจำนวนเที่ยวให้สังเกตุดูว่าสุนัขเริ่มเหนื่อย เริ่มเดินช้า เริ่มไม่อยากเดินแล้ว ให้หยุดทันที ให้นึกอยู่ตลอดว่า ให้ฝึกเท่าที่สุนัขจะทำได้ ไม่ใช่ให้ได้อย่างใจของผู้ฝึก
    6.ความถี่ของวันที่ฝึก
    -การฝึกคือการสอนให้ลากฯเป็น โดยการใช้น้ำหนักน้อยๆ ซึ่งสามารถทำได้ทุกวัน
    -การซ้อม คือหลังจากที่ฝึกจนลากฯเป็นแล้ว จึงมาซ้อมโดยใช้น้ำ

    .การฟิตซ้อมและการเพิ่มน้ำหนัก
    -ในที่นี้จะกล่าวถึงการซ้อมกับล้อยางเท่านั้น ส่วนการซ้อมกับรถลากนั้นจะกล่าวถึงในบทต่อไป
    -หลังจากเตรียมอุปกรณ์ คือล้อยางกับขวดทรายแล้ว { รายละเอียดจะกล่าวถึงในบทต่อไป } ให้ชั่งน้ำหนัก แล้วจดไว้เป็นสถิติ
    -ในการซ้อมลากฯนั้นให้ใช้แบบขั้นบันได เช่น จะซ้อม 12 เที่ยว โดย ในเที่ยวที่1ยาง 2 เส้น เที่ยวที่2 เพิ่มขวดทราย 1 ขวด เที่ยวที่3 เพิ่มขวดทราย อีก1 ขวดโดยให้เพิ่มทีละขวดไปเรื่อยๆ จนถึงเที่ยวที่6 ซึ่งจะเป็นเที่ยวที่น้ำหนักสูงสุดที่ลากฯได้ ส่วนเที่ยวที่7 ก็ลดลง 1ขวด และลดลงเที่ยวละขวด จนครบ12เที่ยว
    -ในการลดน้ำหนักในแต่ละเที่ยว ก็เพื่อให้สุนัขได้เรียนรู้ว่าในการลากฯแต่ละครั้งนั้นไม่ใช่หนักขึ้นเรื่อยๆเพียงอย่างเดียว บางครั้งก็มีเบาบ้างเช่นกัน
    -การเพิ่มขวดทรายทีละขวด { ขวดละประมาณ2.5ก.ก.} นั้นก็เพื่อป้องกันการกระตุก กระชาก เพราะการเพิ่มยางแต่ละเส้น ซึ่งหนักไม่ต่ำกว่า 10 ก.ก. บางครั้งอาจจะเกินลิมิตที่สุนัขจะลากฯได้ แล้วโดยสัญชาตญาณของพิทบูลที่ไม่ยอมแพ้ ก็จะกระตุก ไปจนถึงกระชาก เพื่อจะเอาชนะให้ได้ แล้วก็จะติดนิสัยเหล่านี้ซึ่งแก้ยากมากๆ
    -ส่วนของโปรแกรมการฟิตซ้อม ก็แล้วต่เจ้าของจะเป็นคนวางโปรแกรม เช่น ซ้อมวันเว้นวัน หรือ 2 วัน พัก 1วัน เป็นต้น แต่ก็ต้องให้