ยินดีต้อนรับครับ

ขอแนะนำให้ทุกท่าน สมัครสมาชิก เพื่อป้องกันการแอบอ้างชื่อครับ

Mark Mafia

  • :063::063::063::063:
  • เท่าที่ทราบมาบลูเทอเรียสมัยนั้นเป็นคู้ปรับตัวฉกาดของอเมริกันพิทบลู แต่ต่อมาไม่ได้ถูกพัฒนาต่อในเกมส์กัดสุนัขความเป็นเกมส์จิงน้อยลงและไม่นิยมใช่แข่งขันกัดสุนัขในที่สุด

    ปล.ถูกผิดอย่างไรผู้รู้ช้วยทีครับ
  • Pck เจ๋งมากครับ
    ผี ปรารถนาดี
  • ชอบรูปภาพที่เค้าเอาหมามาทดลองกับเด็กทารกครับ...:020:
  • พิทบูลเก่งสุดสู้ๆ

    กัดเก่งจริง เอารองเท้าที่ห้องพังไปหลายคู่หล่ะ :022:
  • ประวัติความเป็นมาของอเมริกันพิทบูลเทอร์เรีย

    ในประเทศอังกฤษสมัยโบราณ มีการนิยมเล่นกีฬา Bullbaiting ที่เป็นการใช้สุนัขสู้กับวัวกระทิงให้คนดู และสุนัขที่ใช้ในเกมกีฬานี้ จะต้องเป็นสุนัขที่ปากใหญ่แข็งแรงสามารถกัดวัวได้ไม่ปล่อยง่ายๆ มีจมูกสั้นแบนเพื่อให้หายใจได้ถนัดในเวลาที่กัด และร่างกายที่แข็งแรงพร้อมหนังที่เหนียวทนแรงกระแทกและการบาดเจ็บจากเขาที่ทิ่มแทงของวัวกระทิง ซึ่งสุนัขเหล่านี้เองที่เรียกว่าบูลด็อกในสมัยโบราณ สุนัขบลูด็อกเหล่านี้ถูกผสมเข้ากับสุนัขประเภทเทอร์เรียที่มีความดื้อด้านไม่ท้อถอย เพื่อให้ได้ลูกสุนัขที่มีเลือดนักสู้ที่สมบูรณ์ที่สุด ด้วยกล้ามเนื้อที่แข็งแรง ทนทาน หนังเหนียวไม่เป็นแผลง่ายๆ มีใบหูที่ถูกตัดจนสั้นเพื่อไม่ให้คู่ต่อสู้กัดดึงใบหูไว้ได้ มีฟันกรามที่มีพลังจึงสามารถกัดคู่ต่อสู้ได้นานโดยไม่ปล่อยและยังมีใจสู้ไม่ถอยของเทอร์เรีย อันเป็นที่มาของคำว่า บลู และ เทอร์เรีย ในชื่อสายพันธุ์ปัจจุบันนั่นเอง

    ในช่วงศตวรรษที่ 18-19 ได้กำเนิดสุนัขขึ้นหลายสายพันธุ์ด้วยกัน คือ สุนัขพันธุ์สแตฟฟอร์ดเชียร์บูลเทอร์เรีย Staffordshire Bull Terrier เป็นสุนัขที่เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างสุนัขบูลด็อกและเทอร์เรียของชาว Staffords ที่มีขนาดเล็กกว่า คือมีน้ำหนักที่ 30-45 ปอนด์ เท่านั้น สแตฟฟอร์ดเชียร์บูลเทอร์เรีย ได้รับการยอมรับให้เป็นสุนัขพันธุ์แท้โดยสมาคมของอังกฤษในปี 1938 และได้รับการยอมรับโดย AKC (American kennel club) ในปี 1975

    ในช่วงเวลานั้นชาวอังกฤษเิริ่มอพยพเข้าไปอาศัยอยู่ในทวีปอเมริกาและผู้คนเหล่านี้ก็ได้นำสุนัขประเภทที่ใช้ในการกัดสุนัขเข้าไปด้วย เกมกีฬากัดสุนัขได้เข้าไประบาดในอเมริกา โดยคนเหล่านี้ได้นำสุนัขเข้าไปกัดกันในสังเวียน Pit และเล่นการพนันกับการกัดสุนัขนี้ ดังนั้นในอเมริกาจึงมีชื่อเรียกสุนัขต่างๆ เหล่านี้มากมายหลายชื่อตามประสาชาวบ้านตั้งแต่ Pitbull Terrier, Pitterier, Staffordshire Fighting Dgs, Yankee Terrier และในที่สุดก็ได้กลายมาเป็น อเมริกันพิทบูลเทอร์เรีย อเมริกันสแตฟฟอร์ดเชียเทอร์เรีย และอเมริกันบูลด็อก ในปัจจุบัน

    ยูไนเต็ดเคนเนลคลับ (United kennel Club หรือ UKC) ได้ถูกก่อตั้งขึ้นในอเมริกา ในปี 1898 เพื่อการขึ้นทะเบียนสุนัขอเมริกันพิทบูลเทอร์เรียโดยเฉพาะ สุนัขตัวแรกที่จดทะเบียนกับ UKC ล้วนเป็นสุนัขนักสู้ที่มีชื่อเสียงซึ่งปัจจุบันนี้ยังคงมีลูกหลานที่สามารถหาซื้อได้ ต่อมาเมื่อการกัดสุนัขถูกห้ามโดยกฎหมายในอเมริกา เจ้าของอเมริกันพิทบูลบางส่วนนั้นต้องการแยกสุนัขของเขาให้ห่างจากการเป็นสุนัขกัดให้มากที่สุด จึงได้ตั้งชื่อใหม่เป็นอเมริกันสแตฟฟอร์ดเชียร์เทอร์เรีย ที่ไม่มีคำว่า Pit และได้รับการยอมรับโดย AKC ในชื่อนี้

    ถ้าหากจะกล่าวสั้นๆ ก็คือ อเมริกันพิทบูล นั้นก็เป็นสุนัขพันธุ์เดียวกันที่มีการขึ้นทะเบียนเป็นสองชื่อ คือตาม UKC จะจดเป็นชื่ออเมริกันพิทบูล แต่ตาม AKC จะจดเป็นชื่ออเมริกันสแตฟฟอร์ดเชียร์ นั่นเอง อย่างไรก็ตามการขึ้นทะเบียนเป็นสองชื่อนั้นเป็นสิ่งที่ทำให้มีผลกระทบหลายอย่างด้วยกัน ฝ่ายที่ต้องการจดทะเบียนเป็นอเมริกันพิทบูลนั้นเชื่อว่า อเมริกันพิทบูลนั้นเป็นสุนัขที่ใช้กัด และถึงแม้ว่าจะไม่ได้มีการกัดสุนัขแล้วก็ตามการเพาะพันธุ์ก็ยังควรจะให้ความสำคัญกับลักษณะรูปร่างที่ช่วยให้ต่อสู้ได้ดีขึ้น ไม่ใช่เน้นให้สวยงามเพื่อการประกวดที่มักจะทำให้ความสามารถในการต่อสู้ด้อยลงไป ในขณะที่ฝ่ายอเมริกันสแตฟฟอร์ดเชียร์ นั้นเชื่อว่าสุนัขของตนไม่ได้สูญเสียความสามารถในการต่อสู้แต่อย่างใดและให้ความเห็นว่า อเมริกันสแตฟฟอร์ดเชียร์ นั้นที่จริงเป็นสุนัขที่มาจากพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ที่เป็นอเมริกันพิทบูลอยู่ดี ดังนั้นทั้งสองพันธุ์จึงไม่มีความแตกต่าง และเจ้าของอเมริกันสแตฟฟอร์ดเชียร์ ที่จดทะเบียนสุนัขตัวเดียวกันให้เป็นทั้งอเมริกันพิทบูลกับ UKC และอเมริกันสแตฟฟอร์ดเชียร์กับ AKC ก็มีอยู่มาก

    สรุปก็คือถ้ามองจากมุมมองที่ว่า อเมริกันสแตฟฟอร์ดเชียร์ นั้นก็เป็นสุนัขที่เป็นลูกหลานของอเมริกันพิทบูลทุกตัวอยู่แล้ว ถ้าจะพูดว่าเป็นพันธุ์เดียวกันก็ไม่ผิด แต่ถ้ามองจากมุมที่ว่า สุนัขถึงจะมีสายเลือดเดียวกันแต่เมื่อผู้เพาะพันธุ์ผสมโดยเน้นลักษณะจุดเด่นที่ต่างกันก็อาจจะเรียกว่าเป็นคนละสายพันธุ์ก็ได้ เหมือนกับบูลเทอร์เรียก็เป็นสุนัขที่สืบสายพันธุ์มาจากบูลด๊อกและเทอร์เรีย เช่นเดียวกันกับอเมริกันพิทบูล แต่เมื่อผู้เพาะพันธุ์เลือกที่จะเน้นจุดเด่นที่ต่างกันออกไปนานๆ เข้า บูลเทอร์เรียก็กลายเป็นสุนัขที่ไม่มีความคล้ายอเมริกันพิทบูลเลยและก็กลายเป็นคนละสายพันธุ์ไปในที่สุด ซึ่งถ้ามองจากมุมนี้การที่จะบอกว่า อเมริกันสแตฟฟอร์ดเชียร์ เป็นคนละสายพันธุ์กันกับอเมริกันพิทบูลจึงไม่ผิดเช่นกัน และสำหรับผู้ที่ไม่ได้อยู่ในวงการนี้ จะเป็นอเมริกันสแตฟฟอร์ดเชียร์ หรือ อเมริกันพิทบูล ถ้าเป็นสุนัขหน้าตาอย่างนี้ก็จะเรียกว่า พิทบูล นั่นเอง

    จากเวปนี้
    http://pitbullphrapradaeng.blogspot.com/p/blog-page_28.html
  • พิทบูลสายโชว์ เป็นคำจำกัดความเพื่อให้เรียกง่ายและง่ายต่อความเข้าใจว่า
    สายนี้เหมาะสำหรับการประกวด โดยจะเน้นไปที่ความนิ่ง โครงสร้าง และความสมบูรณ์
    ของสุนัขเป็นหลัก แล้วก็พัฒนากันไป......จนบางครั้งความเป็นนักสู้ก็อาจจะถูก
    ลืมเลือนไปเหมือนเอาน้ำเทลงไปในเลือด ยิ่งเทน้ำมากเท่าไหร่ก็ยิ่งเจือจาง
    มากเท่านั้น ไม่แน่อีกสัก 20 - 30 ปีข้างหน้าเราอาจจะเห็นพิทบูลโครงสร้างล่ำบึก
    แต่ใจเป็นพุดเดิ้ลก็ได้ กลายเป็นหมาที่สวยแต่ขาดเสน่ห์ไป

    .... พิทบูลสายกัด เป็นคำจำกัดความเพื่อให้เรียกง่ายและง่ายต่อความเข้าใจอีก
    นั่นแหละว่าสายนี้เหมาะสำหรับการต่อสู้ เท่าที่ดูจากแมกกาซีนของต่างประเทศ
    โครงสร้างก็ไม่ได้ต่างไปจากสายประกวดมากนักแต่ใจต่างหากที่ต่างกัน
    สายนี้จะมีจิตใจที่ฮึกเหิมมีความกระตือรือล้นที่จะต่อสู้ ยิ่งเจ็บยิ่งสู้ ดูแล้วเหมือน
    มันมีความสุขที่ได้ต่อสู้ ที่เห็นโดยทั่วไปว่าสุนัขสายกัดตัวต้องผอมๆนั้น
    ความจริงเป็นความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องรีดไขมันออกให้หมด ให้เหลือแต่
    กล้ามเนื้อ เพราะในการต่อสู้ ถ้าสุนัขอ้วนไปจะเหนื่อยง่าย และกัดได้ไม่นานอาจจะ
    ทำให้แพ้ได้ถ้าสุนัขฟิตมาดี ก็สามารถกัดได้เป็นชั่วโมง
    อย่างคู่ของบั๊ค VS แชนด์แมน บั๊คเป็นฝ่ายชนะไปด้วยเวลา 3 ชั่วโมง17 นาที
    นี่แหละผลของสายเลือด แต่อยากจะฝากไว้สักอย่าง สำหรับ Breeder (ผู้ผสมพันธุ์)
    ในบ้านเรา การอนุรักษ์สายเลือด...สายกัดไว้น่ะดีแล้วแต่อยากให้ทำควบคู่ไปกับ
    โครงสร้างด้วยเพราะตอนนี้สายในบ้านเรา หน้าตาเริ่มแหลมใกล้เคียงหมาไทย
    เข้าไปทุกที ทำให้ผู้ที่เริ่มสนใจและยังไม่รู้มองภาพโดยรวมว่า สายกัดต้องหน้า
    แหลมๆผอมๆ ซึ่งมันไม่ใช่ ที่เป็นเช่นนี้อาจจะเกิดจากการ inbreed (ผสมเลือดชิด)
    หลายชั้นเกินไป เพราะยีนที่เหมือนกันจับคู่กัน ซึ่งผลตามมาก็คือ โครงสร้างจะเล็กลง
    จิตใจแปรปรวน จะออกไปแนวสุนัข ป.ส.ด. มากกว่าสุนัขที่กัดดีและมีความเกมส์
    ทางแก้ก็คือ ควรหาสุนัขที่โครงสร้างดีและมีความเกมส์มาผสม crossbreedin
    (ผสมต่างสายเลือด)เข้าไปจะดีกว่า
  • ต่อไปคนที่รักหมา เกลียดการเทสหมา จะได้เลี้ยงพิทบูล
    ตัวล่ำ ๆ แต่ใจ ปอดแหก ก็ได้
  • ต่อไปจะมีไก่ชนพันธ์ไข่ วัวชนพันธ์นมไหมเอ๋ย และมาคุยกันว่ามันคือสุดยอดของการพัฒนาพันธ์
  • การทำ Temperament Test หรือทดสอบนิสัยลูกหมา ควรทำในสัปดาห์ที่ 7 โดยเฉพาะในวันที่ลูกหมามีอายุ 49 วัน เพราะช่วงก่อนครบ 7 สัปดาห์ ระบบประสาทของลูกหมาจะยังเชื่อมโยงกันไม่ครบถ้วน และพัฒนาไม่เต็มที่

    ในขณะที่หลังสัปดาห์ที่ 7 ลูกหมาจะเข้าสู่ช่วงที่กลัวอะไรง่าย และจะจดจำสิ่งที่กลัวไปอีกนาน บางตัวก็แทบตลอดชีวิต

    ดังนั้น จึงควรทำในช่วงวันที่อายุครบ 49 วัน

    ข้อแรก ทดสอบการเข้าสังคม
    ข้อ 2 ทดสอบการตาม
    ข้อ 3 ทดสอบบุคลิกว่าก้าวร้าวหรือนอบน้อม
    ข้อ 4 ทดสอบความเป็นผู้นำ
    ข้อ 5 ทดสอบความก้าวร้าวของลูกหมาในตำแหน่งที่ยืนไม่ถึง
    ข้อ 6 ทดสอบการเก็บของ
    ข้อ 7 ทดสอบความไวต่อการสัมผัส
    ข้อ 8 ทดสอบความไวต่อเสียง

    ทดสอบไอ้เนี่ยเหรอ แล้วมันก็งั้น ๆ ไม่เห็นจะเกี่ยวกะพิทบูล
    คุณจะเอาไปทำไรก็ต้องเลือกหมา ที่มันเหมาะอยู่แล้ว คงไม่เอาพิทไปดมกลิ่นยาเสพติดหรอก
  • เป็นข้อมูลที่ดีเลยครับ