ยินดีต้อนรับครับ

ขอแนะนำให้ทุกท่าน สมัครสมาชิก เพื่อป้องกันการแอบอ้างชื่อครับ

Mark Mafia

สาระน่ารู้..ขณะสุนัขตั้งท้อง
  • สาระน่ารู้..ขณะสุนัขตั้งท้อง

    สัปดาห์ที่ 1

    พัฒนาการของลูกสุนัข
    • เกิดการปฏิสนธิระหว่างไข่ (Ovum) ของแม่สุนัขกับตัวอสุจิของพ่อสุนัข
    • ตัวอ่อนระยะเอ็มบริโอ (Embryo) แบ่งตัวเป็น 2 เซล บริเวณท่อนำไข่ (Oviduct)
    • ในระยะนี้ตัวอ่อนมีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมภายนอกที่เข้ามากระทบต่อตัวแม่สุนัขได้ไม่มากนัก

    การเปลี่ยนแปลงของแม่สุนัข
    • ในสุนัขบางตัวอาจพบอาการแปลกๆที่ไม่เคยพบมาก่อนเราเรียกอาการนี้ว่า “ อาการแพ้ท้อง ”

    การดูแลแม่สุนัข
    • การให้อาหารแก่แม่สุนัขจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง
    • สอบถามสัตวแพทย์เกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่ได้ให้แก่แม่สุนัขโดยเฉพาะยาต่างๆ ซึ่งอาจเกิดปัญหาแก่ลูกสุนัขในท้องได้
    • ห้ามใช้ยากำจัดแมลงเช่น ยากำจัดเห็บหรือหมัดในช่วงเวลานี้
    • ห้ามให้วัคซีนเชื้อเป็นแก่แม่สุนัขเด็ดขาด

    สัปดาห์ที่ 2 ( วันที่ 8-14)

    พัฒนาการของลูกสุนัข
    • ต้นสัปดาห์ ตัวอ่อนระยะเอ็มบริโอจะแบ่งตัวเป็น 4 เซลและช่วงท้ายสัปดาห์พบว่าเอ็มบริโอแบ่งตัวถึง 64 เซล
    • เอ็มบริโอเดินทางเข้ามาสู่มดลูก (uterus) ของแม่สุนัข

    การเปลี่ยนแปลงของแม่สุนัข
    • อาจพบอาการแพ้ท้องในสุนัขบางตัว

    การดูแลแม่สุนัข
    • ดูแลต่อเนื่องจากสัปดาห์แรก

    สัปดาห์ที่ 3 ( วันที่ 15-21)

    พัฒนาการของลูกสุนัข
    • เกิดการฝังตัวของเอ็มบริโอบริเวณมดลูกของแม่สุนัขในวันที่ 19

    การเปลี่ยนแปลงของแม่สุนัข
    • ไม่เปลี่ยนแปลงไปจากสัปดาห์ที่ก่อน

    การดูแลแม่สุนัข
    • ดูแลต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ 2

    สัปดาห์ที่ 4 ( วันที่ 22-28)

    พัฒนาการของลูกสุนัข
    • มีการเจริญของตาและไขสันหลัง ตัวอ่อนในระยะนี้เรียกว่า ฟีตัส (Fetus)
    • ลักษณะของตัวอ่อนมองดูคล้ายก้อนอุจจาระ
    • ฟีตัสมีขนาด 5-10 X 14-15 มม .
    • เกิดขบวนการสร้างอวัยวะต่างๆในช่วงนี้หากมีผลกระทบที่มีต่อฟีตัสอาจทำให้เกิดความผิดปกติหรือความพิการได้

    การเปลี่ยนแปลงของแม่สุนัข
    • อาจพบสิ่งคัดหลั่งสีใสไหลออกมาจากช่องคลอด
    • เต้านมเริ่มมีการพัฒนาขยายใหญ่ขึ้นในระยะนี้

    การดูแลแม่สุนัข
    • ตั้งแต่วันที่ 26 ขึ้นไป การคลำบริเวณช่องท้องของแม่สุนัขอาจจะทำนายผลการตั้งท้องว่าตั้งท้องหรือไม่ได้ หรืออาจให้สัตวแพทย์ยืนยันการตั้งท้องโดยใช้วิธีการอัลตร้าซาวด์ (ultrasound)
    • ในระยะนี้ระมัดระวังการกระทบกระแทกอันเนื่องมาจากการกระโดด การวิ่งเป็นระยะทางไกลๆหรือการเล่นที่รุนแรง
    • ควรเพิ่มเนยแข็ง (Cheese) หรือไข่ต้มสุกประมาณ 1/4 ถ้วย ในอาหารแม่สุนัขในแต่ละวัน



  • สัปดาห์ที่ 5 ( วันที่ 29-35)

    พัฒนาการของลูกสุนัข
    • ขบวนการสร้างอวัยวะ (Organogenesis) จะมีการสร้างจนมีอวัยวะครบในช่วงเวลานี้
    • ลักษณะของฟีตัสมองดูคล้ายสุนัขมากขึ้นมีขนาด 18-30 มม .

    การเปลี่ยนแปลงของแม่สุนัข
    • พบการบวม - ขยายใหญ่บริเวณช่องท้องอย่างเห็นได้ชัด น้ำหนักตัวจะเพิ่มสูงขึ้น

    การดูแลแม่สุนัข
    • เพิ่มจำนวนอาหารที่ให้ขึ้นเล็กน้อยและควรเปลี่ยนเป็นอาหารสูตรที่ใช้เลี้ยงลูกสุนัข
    • หากให้อาหารวันละ 1 มื้อ ควรจะเพิ่มมื้อพิเศษให้อีก 1 มื้อ หากให้วันละ 2 มื้อ ควรเพิ่มจำนวนอาหารให้อีกเล็กน้อยในแต่ละมื้อ
    • ในแต่ละวันควรให้วิตามินรวมเสริม

    สัปดาห์ที่ 6 ( วันที่ 36-42)

    พัฒนาการของลูกสุนัข
    • ระยะนี้จะพบว่าเกิดการสร้างสีบริเวณผิวหนังขึ้น
    • เมื่อใช้หูฟัง (stethoscope) ฟังเสียงหัวใจจะพบเสียงเต้นของหัวใจของฟีตัส

    การเปลี่ยนแปลงของแม่สุนัข
    • หัวนมมีการขยายใหญ่และมีสีคล้ำขึ้น
    • ช่องท้องมีขนาดใหญ่ต่อเนื่องขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

    การดูแลแม่สุนัข
    • เพิ่มเนยแข็งหรือไข่ต้มสุกในอาหารแม่สุนัขทุกวัน
    • เพิ่มจำนวนอาหารให้แก่แม่สุนัขในมื้อพิเศษ
    • ฝึกให้แม่สุนัขอยู่ในบริเวณที่เตรียมไว้สำหรับการคลอด

    สัปดาห์ที่ 7 ( วันที่ 43-49)

    พัฒนาการของลูกสุนัข
    • การเจริญเติบโตและพัฒนาการจะมีอย่างต่อเนื่อง

    การเปลี่ยนแปลงของแม่สุนัข
    • ขนบริเวณส่วนท้องจะเริ่มมีการหลุดร่วง
    • แม่สุนัขจะเริ่มมองหาจุดที่จะทำการคลอด

    การดูแลแม่สุนัข
    • ในแม่สุนัขบางตัวควรระมัดระวังเรื่องการกระโดด
    • เพิ่มจำนวนอาหารอีกเล็กน้อยให้ทั้ง 2 มื้อ
    • พิจารณาการทำ X-ray เพื่อตรวจดูจำนวนและขนาดของลูกสุนัขในท้อง

    สัปดาห์ที่ 8 ( วันที่ 50-57)

    พัฒนาการของลูกสุนัข
    • สามารถตรวจพบการเคลื่อนไหวของฟีตัสในขณะที่แม่สุนัขนอนพักได้

    การเปลี่ยนแปลงของแม่สุนัข
    • เมื่อบีบบริเวณหัวนมอาจพบว่ามีน้ำนมไหลออกมา

    การดูแลแม่สุนัข
    • ให้อาหารเพิ่มอีกในระหว่างมื้อปกติ

    สัปดาห์ที่ 9 ( วันที่ 58-65)

    พัฒนาการของลูกสุนัข
    • การเจริญเติบโตและพัฒนาการจะมีอย่างต่อเนื่อง

    การเปลี่ยนแปลงของแม่สุนัข
    • พบพฤติกรรมการทำรังของแม่สุนัขให้เห็น
    • อุณหภูมิของร่างกายจะอยู่ที่ประมาณ 100.2-100.8 F หากอุณหภูมิลดลงไปอยู่ที่ 98-99.4 F คาดการณ์ได้ว่าลูกสุนัขจะออกมาภายใน 24 ชั่วโมง

    การดูแลแม่สุนัข

    • วัดอุณหภูมิและจดบันทึกวันละ 3 ครั้ง ร่วมกับการดูแลอย่างใกล้ชิด

    • ต้องให้ลูกสุนัขทุกตัวได้ดูดนมน้ำเหลืองที่ได้จากแม่สุนัขอย่างเต็มที่ภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด

    • สิ่งคัดหลั่งที่ออกมาจากช่องคลอดควรจะมีสีแดง - แดงน้ำตาล ( อาจพบมีสีเขียวในวันแรกหลังคลอดถือว่าปกติ ) ถ้าหากพบสีดำควรไปพบสัตวแพทย์โดยด่วน

    • 5-6 ชั่วโมงภายหลังที่ลูกตัวสุดท้ายเกิด ควรพาลูกสุนัขและแม่สุนัขไปพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพและตรวจสอบว่าไม่มีลูกสุนัขหรือรกค้างอยู่ในตัวแม่สุนัข
  • ดีครับได้ความรู้เพิ่มขึ้นอีกครับ
  • เป็นความรู้ที่เยี่ยมเลยและ เพราะหลายคนยังไม่ค่อยมีความรู้ทางด้านนี้ บ้างคนผสมหมาขายเป็นอาชืพ แต่ยังไม่รู้รายละเอียด วิธีการ และการดูแลรักษา อาหารต่างๆ เยี่ยมยอดเลย
  • ดีครับเป็นความรู้ที่ดี แต่ถ้าให้เครดิตจากที่ไปเอามาจะยิ่งดีกว่านี้ครับ
  • บทความนี้ผมเขียนเองครับ......แปลมาจากตำราที่ร่ำเรียนมาแล้วเรียบเรียงใหม่เพื่อให้อ่านง่ายขึ้นครับ....ผมเห็นว่าน่าจะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อยแก่ชาว PitbullZone........ก็เลยเอามาลงครับ.......แต่ถ้าอยากได้ reference ภาษาอังกฤษ....เดี๋ยวผมขอไปค้นดูก่อนครับ......จำไม่ได้แล้วว่าเอามาจากเล่มไหน.......เพราะบทความนี้เขียนทิ้งไว้มากว่า 5 ปีแล้วครับ......ขอบคุณสำหรับคำแนะนำครับ
  • ให้ความรู้มากค่ะ เพิ่งผ่านเหตุการณ์มาสดๆๆร้อนเลย