ยินดีต้อนรับครับ

ขอแนะนำให้ทุกท่าน สมัครสมาชิก เพื่อป้องกันการแอบอ้างชื่อครับ

Mark Mafia

ผมมีปัณหาขอคำแนะนำครับ
  • ตอนนี้สุนัข 2 เดือนครึ่ง แต่ไม่ยอมเดินทั้งใส่สายจูงและไม่ใส่สายจูง ก็ไม่ยอมเดินเวลาอยู่ข้างหน้า ทำยังไงครับเพราะตอนนี้ผมกำลังฝึกให้นั่งให้สวัสดีไม่เอาซักอย่างกัดอย่างเดียว แนะนำยังไงได้บ้างครับ
  • ก่อนจะฝึกหมา ต้องแน่ใจว่าหมามันยอมรับเราว่าเป็นนายก่อน ไม่ใช่มาถึงก็ฝึกเลยครับ
  • พี่มาร์คครับพี่มีคำแนะนำไหมครับ
  • การฝึกคำสั่งขั้นพื้นฐาน (นั่ง หมอบ คอย) มีการฝึกอยู่ 2 step ต้องทำให้ได้ทั้งสองข้อ คำสั่งของเราถึงจะศักดิ์สิทธิ์
    คือ
    1 การสอนให้รู้จักท่าทาง การนั่ง การหมอบ การคอย จะใช้อาหารเป็นตัวล่อ เพื่อให้หมารู้จักการจัดท่าทางวางระเบียบร่างกาย ฝึกครั้งละไม่เกิน 5 นาที ฝึกช่ีวงเวลาที่น้องหมากระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ วันหนึ่งฝึกประมาณ 2-3 ครั้ง ฝึกทุกวัน ยิ่งฝึกบ่อย หมายิ่งจำท่าได้ไว

    เมื่อหมาเรียนรู้ท่าแล้ว รู้ว่า นั่ง ต้องทำท่าอย่างไร ยืนต้องทำอย่างไร เมื่อนั้นก็ขึ้น step ต่อไป

    2 การเอาคำสั่งพื้นฐาน นั่ง หมอบ คอย มาใช้ในชีวิตประจำวัน
    การ ฝึกขั้นนี้ จะไม่มีการใช้อาหารหรือของเล่นล่ออีกต่อไป เพื่อไม่ให้เป็นการติดสินบนสุนัข รางวัลที่สุนัขจะได้เมื่อทำตามสั่งก็คือ การได้รับความสะดวกสบายต่างๆเช่น นั่งแล้วได้กินน้ำ นั่งแล้วได้เข้าหอ้ง นั่งแล้วได้ผ่านประตู หมอบแล้วได้กินข้าว นั่งแล้วได้เข้ากรง นั่งแล้วได้การลูบหัว เป็นต้น

    ฝึกขั้นนี้ ฝึกบ่้อยๆได้ตลอดทั้งวัน เพราะเป็นคำสั่งที่สื่อสารกับสุนัขในการชีวิตประจำวันทั่วๆไป เมื่อออกคำสั่งแล้ว หมาต้องทำจนเสร็จสมบูรณ์ทุกครั้ง ไม่อนุญาตให้หมาไม่ทำตามสั่ง หรือ หูทวนลม ถ้าหมาไม่ทำ เราก็ต้องให้เขาทำจนเสร็จสมบูรณ์ อย่าไปยอมแพ้เด็ดขาด แล้วคำสั่งเราจะศักดิ์สิทธิ์
  • เล่นกับน้องหมา..อย่างไร
    การเล่นของคุณ จะมีอิทธิพลโดยตรงต่อพฤติกรรมของน้องหมา ขึ้นอยู่กับคุณเล่นกับน้องหมาอย่างไร และเล่นแบบไหน ปัญหาพฤติกรรมที่พบในน้องหมาโตๆ ล้วนเป็นผลมาจากการเล่นในวัยเด็ก ว่า.. การเล่นของคุณกระตุ้นให้น้องหมาชอบ แย่ง ไล่กวด กัด หรือไม่
    ดังเช่นที่ Sarah Wilson เขียนไว้ใน Good Owners, Great Pets ว่า "สิ่งสำคัญของการมีน้องหมาไว้ในความดูแล คือ การฝึกให้น้องหมารู้จักควบคุมตัวเอง สุนัขที่ดี และ ปลอดภัยต่อเด็กๆ ต้องนั่งลงได้แม้ใจอยากกระโดด อดทนอดกลั้นคอยได้แม้อยากจะไปเอามา ปล่อยของได้แม้อยากคาบอยู่ กิจกรรมทุกอย่างของน้องหมาถ้าเป็นการสนับสนุนการรู้จ ักควบคุมตัวเองของสุนัข ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีที่สุด ก่อนจะเล่นอะไรก็ตามกับน้องหมา ต้องแน่ใจว่าการเล่นของคุณจะสนับสนุนพฤติกรรม และทัศนคติที่คุณต้องการให้น้องหมาเป็น การเล่นที่ดีจะส่งเสริมให้น้องหมาควบคุมง่าย และยอมทำตามคำสั่ง"
    อย่าเอารางวัล (ของเล่น) มากระตุ้นน้องหมามากไป
    หลีกเลี่ยงการกระทำที่ไม่เหมาะสมที่เป็นการท้าทาย หรือแหย่น้องหมา เช่น อย่าเคลื่อนไหวไปมาและจู่โจมอย่างรวดเร็ว หลีกเลี่ยงการยั่วยุน้องหมาด้วยของเล่นก่อนที่จะปา ดึงและบิดของเล่นอย่างแรงจากปากน้องหมาหลังจากประเดี๋ยวเดียวจากที่เล่นเกมชักคะเย่อ และการแกว่งไปแกว่งมาของเล่นสุดเอื้อมหรือเอาไว้ข้าง หลังเพื่อไม่ให้น้องหมาแย่งไปจากคุณ การกระทำที่กล่าวมานี้จะทำให้เพิ่มความเป็นจ่าฝูงมีพฤติกรรมที่ ก้าวร้าว การกระทำเหล่านี้อาจจะช่วยกระตุ้นให้น้องหมาที่ขี้อายเล่น แต่ควรหลีกเลี่ยงในการกระตุ้นอย่างสูง ทำให้กลายเป็นน้องหมาที่กล้าเกินไป น้องหมาที่เคยเล่นแย่งของแบบที่กล่าวมากับผู้ใหญ่ เมื่อมีเด็กๆ สัก 5 ขวบเดินถือของแกว่งมาน้องหมาจะเข้าใจว่าต้องไปแย่งมา การเล่นแบบนี้จะเป็นอันตรายมาก ถ้าสุนัขโตไปไล่จักรยานของผู้คนที่ผ่านไปมา หรือไปไล่กัดเด็กที่กำลังวิ่งเล่น
    น้องหมาจะมีของเล่น 2 ชนิด
    1. ของเล่นที่ทำให้สงบ หรือของเล่นประเภทขบเคี้ยว มีไว้เพื่อทดแทนรองเท้าและเฟอร์นิเจอร์
    2. ของเล่นที่ใข้เล่นตอบโต้กัน เช่น บอล ของเล่นที่มีเสียง ของเล่นที่ใช้ดึงหรือลาก กลุ่มนี้น้องหมาเอาไว้เล่นสนุกกับคุณ
  • คุณไม่ใช่ของเล่น
    ห้ามใช้ร่างกายหรือเสื้อผ้าคุณเป็นอุปกรณ์การเล่น เพราะการทำเช่นนั้นเป็นการบอกให้น้องหมาทราบว่าคุณเป็นลูกหมาเล็กๆ ที่อ่อนแอกว่าเค้า คุณไม่ใช่สุนัขเพราะฉะนั้นไม่ควรคุกเข่าลงคลานแล้วทำ ท่าเห่าหรือขู่เลียนแบบน้องหมา อีกทั้งไม่ควรเล่นต่อสู้เพื่อกระตุ้นให้เค้ากัดด้วย

    ใช้เสียงคุณอย่างมีประสิทธิผล
    ระดับเสียงสูง การร้องเสียงแหลม ทำเสียงคุณให้คล้ายของเล่นซึ่งร้องเสียงแหลม ซึ่งเหมือนเสียงสัตว์บาดเจ็บ ซึ่งเสียงเหล่านี้จะนำลักษณะผู้ล่าออกมาจากตัวสุนัข การส่งเสียงร้องเบาๆ เสียงคล้ายๆ ลูกสุนัขตัวอื่นๆ น้องหมาจะเข้าใจว่าคุณ คือ เพื่อนเล่น ไม่ใช่จ่าฝูง เสียงเด็กๆ และผู้หญิงส่วนใหญ่จะมีเสียงสูง เช่น ว๊ายยย ไม่ ...ต๊ายๆ...อย่านะ ถ้าออกคำสั่งหรือดุน้องหมาด้วยน้ำเสียงแบบนี้ ไม่ได้ผล คุณต้องใช้เสียงที่ต่ำๆ สงบ และคำสั่งชัดเจน เช่น ไม่ ซ้าย ขวา นั่ง คอย จึงจะเป็นการใช้เสียงที่มีผลต่อการสั่งน้องหมา

    ใช้ท่าทางให้มีประสิทธิภาพเหมือนเสียง
    ในการสั่งน้องหมาให้ยืนอยู่ข้างหน้าน้องหมาแล้วออกคำ สั่ง ถ้าน้องหมาแย่งขโมย ของเล่น หรืออาหาร ให้ใช้เสียงหรือท่าทางแสดงให้น้องหมารู้ว่าทำไม่ได้ อย่าร้องกรี๊ด....หรือส่งเสียงสูงเด็ดขาด ห้ามแย่งของจากปากน้องหมาแล้วยกขึ้นไปไว้เหนือศีรษะ เพราะจะเป็นการกระตุ้นให้เกิดนิสัยไล่กวด ให้ดึงของที่น้องหมาขโมยไปออกมาตรงๆ แล้วนำมาไว้ใกล้ๆ ตัวคุณ สบตาน้องหมาแล้วสั่งด้วยเสียงต่ำๆ ว่า "ไม่"

    คุณเป็นผู้คุมกฎ
    เก็บของเล่นที่ใข้เล่นตอบโต้กัน เช่น บอล ของเล่นที่มีเสียง ของเล่นที่ใช้ดึงไว้ให้มิดชิด ไม่ทิ้งไว้ตามพื้น คุณจะเป็นผู้เลือกของเล่น คุณเป็นคนตัดสินใจว่าจะเล่นอะไร มีกฎอย่างไร และหยุดเล่นเมื่อใด น้องหมาไม่มีสิทธิออกนอกทิศทางไปกับของเล่นเมื่อเกมจ บ ของเล่นเป็นของคุณ และคุณอนุญาตให้น้องหมาเล่นเมื่อคุณสั่ง
    การเล่นเป็นวิธีการที่สนุกสนานที่จะใช้ฝึกให้น้องหมา ให้เป็นจ่า ฝูง หรือฝึกเพื่อให้คุณควบคุมน้องหมาได้ ในที่นี้ได้รวบรวมการเล่นที่ดีที่มีผลดีต่อพฤติกรรมในอนาคตน้อง หมา กับการเล่นที่ไม่ควรเล่นจะส่งผลให้น้องหมาไม่สามารถควบคุมได้มา ไว้ดังนี้
    การเล่นที่แย่ : เล่นไล่จับ เล่นแย่งของ การเล่นโดยคุณกระทืบเท้า แล้วให้น้องหมาวิ่งหนี หรือแย่กว่านั้น คือ น้องหมากำลังคาบของอยู่แล้วคุณพยายามไล่จับเพื่อแย่ง ของ (การเล่นแบบนี้เป็นการกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมที่หวงข อง และเป็นการฝึกให้รู้จักวางแผนหลบหลีก เจ้าเล่ห์ ทำให้เราคุม(จับ)น้องหมาไม่ได้ ถ้าน้องหมาเคยเล่นแบบนี้)
  • การเล่นที่ดี : เล่นซ่อนหา
    การเล่นแบบนี้ให้คุณไปแอบแล้วให้น้องหมาหาคุณให้เจอ (การเล่นแบบนี้เป็นการฝึกสอนน้องหมาให้มาหาเมื่อคุณเ รียก และวิธีการที่น้องหมาจะหาคุณพบได้อย่างไร ถ้าไม่เห็นคุณ) หรืออาจจะเล่นโดย เอาของเล่นหรือขนมไปซ่อน แล้วกระตุ้นให้น้องหมาไปหา การเล่นแบบนี้เป็นเกมที่ดีมากในการฝึกดมกลิ่น

    การเล่นที่แย่ : เกมชักคะเย่อ เพื่อเก็บการที่น้องหมาต่อสู้แย่งของเล่นจากคุณ โดยในบางครั้งน้องหมามีการขู่คำราม แล้วชนะวิ่งคาบของเล่นหนีไปจากคุณ (การเล่นแบบนี้เป็นการผิดพลาดที่สร้างอำนาจ และสร้างความกล้าให้น้องหมา เลยเถิดไปถึงก่อให้เกิดพฤติกรรมที่หวงของ)

    การเล่นที่ดี : เกมชักคะเย่อ ตามคำสั่ง
    คุณนำของเล่นมาชักชวนให้น้องหมาเล่น คุณเป็นคนกำหนดกฎกติกาใช้คำสั่ง 3 คำสั่ง "เอาไป" "ดึง" "ปล่อย" การเล่นจะเริ่มต้นและจบเมื่อคุณสั่ง และเมื่อจบการเล่นคุณเป็นผู้เก็บของเล่น จนกว่าจะเริ่มเกมต่อไป (การเล่นแบบนี้เป็นการฝึกฝนความเป็นผู้นำ ในระดับพอประมาณไม่มากเกินไป ในกรณีที่มีการกระตุ้นมากเกินไป จนเกมจบอย่างกะทันหัน สอนการควบคุมตนเอง)

    การเล่นที่แย่ : ขว้างลูกบอล น้องหมาผลักลูกบอลมาที่คุณ จ้องมองอย่างมุ่งมั่น ให้คุณขว้างลูกบอล แล้วน้องหมาก็รีบแย่งบอล เมื่อคุณมาถึงบอล เมื่อน้องหมาอนุญาตให้คุณขว้างบอล น้องหมาก็จะมากระโดดโลดเต้นยั่วแหย่คุณแทนที่จะไปเก็บมาให้คุณ (การเล่นแบบนี้เป็นการสอนให้น้องหมารู้ว่าน้องหมาสามารถสั่งคุณ ได้)

    การเล่นที่ดี : เกมไปเก็บมา คุณนำบอลมาแล้วชักชวนให้น้องหมาเล่น โดยเริ่มจากบทเรียนให้น้องหมาทำตามลำดับคือ "นั่ง" "คอย" "ไปเก็บมา" "ปล่อย" คุณเป็นผู้เก็บบอลไว้ จนกว่าจะเริ่มเกมต่อไป (การเล่นแบบนี้สอนให้น้องหมารู้จักกติกาว่าเมื่อไรจะ ต้องทำอะไร และเกมจบเมื่อใด ควรหยุดเล่นเมื่อสุนัขไม่ต้องการเล่น เพื่อให้เค้าอยากเล่นต่อในครั้งต่อไป)

    การเล่นที่แย่ : การเล่นต่อสู้ อุ๊บ..การกระตุ้นน้องหมาให้กระโดดเกาะคุณ ขบ งับ กัด วิ่งไล่ และแสดงกำลังกับคุณเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้สุนัขรู้ว่า สุนัขมีอำนาจเหนือคุณ

    การเล่นที่ดี : อุบายต่างๆ การเล่นแบบนี้เป็นการฝึกจิตใจ(สมาธิ) น้องหมา ด้วยการสอนให้นั่งหวัดดี กลิ้ง ขอมือ เลี้ยงของไว้บนจมูกไม่ให้หล่น

    การเล่นที่ดีเยี่ยม : เกมฝึกใจ เป็นเกมที่ใช้ในการฝึกสมองน้องหมา โดยการสอนน้องหมาให้รู้จักชื่อสมาชิกในครอบครัว และของเล่นของเค้า เช่น บอล ... ต่อมาก็สอนให้รู้จักไปหาสิ่งของที่คุณต้องการฝึก เช่น กุญแจรถยนต์
  • สุนัข ที่ไม่ได้รับการฝึกอาจกลายเป็นสุนัขก้าวร้าวและเป็นอันตรายกับเจ้าของได้ เจ้าของควรเริ่มฝึกสุนัขตั้งแต่ยังเล็กๆจะง่ายกว่า โดยฝึกให้คุ้นเคยกับการรับคำสั่ง การเดินโดยใช้สายจูง การเล่นเกม สุนัขที่ได้รับการฝึกตั้งแต่เล็กถ้าพฤติกรรมที่ไม่ดีตอนโตจะแก้ไขได้ ง่ายกว่าสุนัขที่ไม่ได้รับการฝึกให้เชื่อฟังคำสั่ง
    เมื่อไหร่ที่ควรเริ่มฝึก
    คุณ ไม่ควรจริงจังกับการฝึกสุนัขมากนัก ถ้าสุนัขอายุยังไม่ถึง 7-8 เดือน นักจิตวิทยาสัตว์บางคนบอกว่า ลูกสุนัขบางตัวสามารถเริ่มฝึกได้เมื่ออายุตั้งแต่ 7 สัปดาห์ แล้วเทคนิคต่าง ๆ ค่อย ๆ สอนภายหลัง แต่ จริง ๆ แล้วเรื่องของเทคนิคต่าง ๆ ปล่อยให้นักฝึกสุนัขอาชีพเป็นผู้ฝึกดีกว่า ขณะที่ลูกสุนัขของคุณยังอยู่ในช่วงต้น ๆ ของความเป็นลูกสุนัข ตั้งใจเอาชนะใจมันให้ได้ มันจะรักและนับถือคุณ การฝึกพื้นฐานจะเริ่มได้เมื่ออายุ 3-4 เดือน ช่วงอายุนี้ควรฝึกให้เดินสวยขณะที่คุณจูง นั่ง นอน ตามคำสั่ง และเข้ามาหาคุณเวลาคุณเรียกมัน

    คุณมีส่วนในการฝึก
    คุณ ต้องมีความอดทนในการชี้แจงให้สุนัขเข้าใจว่าแต่ละคำที่คุณออกคำสั่งนั้นหมาย ถึงอะไร ทำมันด้วยมือหรือเชือกจูงสำหรับฝึกก่อน ทำให้มันแน่ใจในคำสั่งด้วยเสียงของคุณ สอนมันเป็นประจำทุกวันถึงสิ่งที่คุณต้องการจะให้มันรู้ ทบทวนคำสั่งพร้อมกับแสดงอาการประกอบ สาธิตให้มันดูซ้ำแล้วซ้ำอีก ให้สุนัขได้มีโอกาสรับรู้จดจำไว้
    เมื่อมันเริ่มเรียนรู้ให้ใช้เพียง คำพูดเป็นคำสั่งโดยไม่ต้องออกท่าทาง จ้ำจี้จ้ำไชกับมันบ่อย ๆ เมื่อมันทำผิดก็แก้ไขมันมันถูก แรก ๆ ก็ใจดีกับมันก่อน แล้วค่อย ๆ เข้มงวดขึ้นเรื่อย ๆ ตามความก้าวหน้าของการฝึก อย่าหมดความอดทนหรือฉุนเฉียวเสียก่อน อย่าตีมันด้วยมือหรือเชือกจูงขณะที่ฝึก เพียงแค่คุณดุมันหรือว่ามันก็รู้สึกผิดมากพอแล้ว
    เมื่อสุนัขทำใน สิ่งที่คุณต้องการ ชมเชยมันพร้อมกับลูบหลังมันไปด้วย อย่าตบรางวัลสุนัขด้วยขนมหรือปฏิบัติกับมันดีเกินไปขณะฝึก สุนัขที่ชินกับนิสัยการรับรางวัลเช่นนี้จะไว้ใจไม่ค่อยได้ เพราะว่ามันจะไม่ค่อยยอมทำอะไรถ้าไม่ได้กลิ่นขนมหรือของรางวัล ถ้าหากฝ่าฝืนคำสั่งหรือทำอย่างไม่ค่อยเต็มใจ (เหลวไหล) คุณควรจะพูดกับมันดี ๆ ต่อไปมันจะดีขึ้นเรื่อย ๆ

  • เสียงที่ใช้ฝึก
    เมื่อ คุณฝึกสุนัขให้ใช้เสียงในการออกคำสั่งที่แข็งขันและชัดเจน ครั้งแรกคุณออกคำสั่งไปแล้วต้องยืนกรานคำสั่งเดิมไปจนกระทั่งมันเชื่อฟัง หรือแม้แต่จะฉุดมันให้มาฟังคุณก็ตามที มันต้องเรียนรู้ว่าการฝึกนั้นต่างจากการเล่น เมื่อใดที่มีการออกคำสั่งมันต้องเชื่อฟังไม่ว่าจะมีอะไรมาทำให้วอกแวกก็แล้ว แต่ จงจำไว้ว่าน้ำเสียงและน้ำหนักเสียงของคุณ (ต้องไม่ดังลั่น) จะมีอิทธิพลต่อสุนัขเป็นส่วนใหญ่ ต้องพูดด้วยคำพูดที่เน้นหนักแน่น ในการใช้คำพูดระหว่างฝึกจำกัดคำสั่งของคุณให้ใช้คำเพียงแค่ 2-3 คำ ถ้าเป็นไปได้ก็อย่าเปลี่ยนคำสั่ง มันเป็นการดีที่สุดถ้าจะมีผู้ฝึกสุนัขเพียงคนเดียว คนอื่น ๆ อาจใช้คำสั่งแตกต่างกันออกไป วิธีฝึกก็ต่างไปซึ่งอาจทำให้สุนัขสับสนได้ สุนัขที่ได้ยินคำสั่งประเภท "มานี่" "มาหาหน่อย" "เร็ว ๆ เข้า" หรือคำสั่งทำนองนี้แต่มีความต้องการเดียวกันคือให้มันมาหา ถ้าคุณใช้คำสั่งมากมายขนาดนี้มันจะสับสนมาก ให้ใช้คำไหนคำนั้นดีที่สุด

    บทเรียนที่ใช้ฝึก
    การ ฝึกเป็นงานหนักทั้งสุนัขและผู้ฝึก สุนัขเล็ก ๆ ใช้เวลาฝึกในช่วงหนึ่งได้ไม่เกิน 10 นาที ก็จะไม่อยากฝึกต่อดังนั้นควรจำกัดอย่าให้บทเรียนบทแรกยาวเกินไปนัก แล้วจึงค่อย ๆ เพิ่มเวลาไปเป็นระยะจนกระทั่งถึง 30 นาที คุณเองก็อาจพบได้ว่าคุณก็เริ่มหมดความอดทนเหมือนกันเมื่อใกล้ ๆ จะหมดเวลาฝึก เมื่อคุณรู้สึกว่าคุณอารมณ์ไม่ดีให้หยุดฝึก ใช้เวลาที่เหลืออยู่ทบทวนบทเรียนเก่า ๆ ไปก่อน และก่อนหรือหลังบทเรียนควรมีช่วงเวลาพักเล่นด้วยไม่ใช่เล่นระหว่างเรียน แม้แต่สุนัขที่เด็กที่สุดก็จะเรียนรู้ได้เองว่าเวลาที่ต้องเรียนนั้นเป็น ช่วงที่ต้องเคร่งครัดจริงจัง ส่วนความสนุกจะตามมาหลังจากนี้
    อย่า ใช้เวลาในการฝึกช่วงแรก ๆ มากนัก มิฉะนั้นสุนัขก็จะเบื่อ พยายามจบบทเรียนในช่วงที่ดี ๆ ถ้าหากสุนัขไม่ได้ทำในสิ่งที่คุณต้องการนั้นเป็นเพราะคุณไม่สามารถทำให้มัน จดจำได้ดีพอ

    เครื่องมือในการฝึก
    1. เชือกที่ใช้จูงสุนัข ใช้เรียกกันอย่างแพร่หลายว่า "ตัวนำ" ดังนั้นเราจะใช้คำนี้แทน ตัวนำ ที่ดีที่สุดสำหรับฝึกนั้นเป็นผ้าทอหรือสาน ยาว 6 ฟุต ส่วนใหญ่ใช้สีทึม ๆ มอ ๆ หรือจะใช้เป็นหนังขนาดเท่ากัน หรือจะใช้แบบเป็นสีสันก็มีใช้กันอยู่บ้าง แล้วแต่คุณจะเลือก
    2. ต้องใช้ปลอกคอฝึกสุนัขควบคู่ไปด้วย ปลอกคอฝึกส่วนใหญ่ทำด้วยไนล่อนหรือ โซ่เหล็ก ซึ่งมีห่วงติดอยู่ที่ปลายทั้งสองข้าง แล้วใช้ตัวนำคล้องกับปลายห่วงทั้งสอง ใช้ผ่อนหรือดึงบังคับสุนัข แม้ว่าจะฟังดูน่าตกใจ แต่มันก็ไม่ได้ทำให้สุนัขของคุณต้องเจ็บแต่อย่างใด และมันก็จะต้องใช้ในการฝึกด้วย ควรฝึกวิธีการใช้ปลอกคอให้ถูก ปลอกคอฝึกควรจะใส่รอบคอสุนัข เพื่อคุณจะสามารถล่ามตัวนำกับห่วงตรงปลายปลอกคอ อย่าใส่ห่วงใต้คอ มันเป็นสิ่งสำคัญในการใส่ปลอกคอฝึกให้ถูก มันจะได้แน่นเวลาคุณดังตัวนำ และง่ายเวลาคุณผ่อนหรือไม่ได้รั้งตัวนำ
    3. วิธีในการจับตัวนำก็เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะปลอกคอควรจะหย่อนอยู่ตลอดเวลา นอกจากเวลาดึง จับวงเชือกไว้ด้วยมือขวา ไขว้มือไปด้านข้าง ส่วนมือซ้ายจับตัวนำไว้ให้ใกล้ปลอกคอฝึกมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ส่วนที่เหลือของตัวนำก็จะขมวดเป็นวงได้ (ที่คุณถือด้วยมือขวา) แนบแขนข้างนี้กับลำตัว การผ่อน ดึง หรือคลาย ทุกอย่างทำด้วยมือซ้าย ด้วยการกระตุก
  • การฝึกให้ตาม
    "การตาม" เป็นศัพท์สำหรับสุนัขที่หมายความว่า ให้สุนัขเดินไปด้านข้างของคุณชิดกับขาคุณ มีตัวนำด้วยหรือไม่มีก็ได้ ถ้าคุณอดทนและพยายามพอ คุณสามารถฝึกสุนัขให้เดินเคียงข้างคุณได้ในถนนอันแออัด หรือผ่านสุนัขตัวอื่น ๆ ได้อย่างดี ถึงตอนนี้คุณก็ได้เรียนรู้ถึงวิธีการใส่ปลอกคอ การใช้ตัวนำแล้วคุณก็พร้อมที่จะเริ่มบทเรียนแรกในการฝึกการตาม ให้สุนัขนั่งอยู่ด้านซ้าย เรียกชื่อ และใช้คำสั่ง "ตาม" เริ่มก้าวเท้าซ้ายของคุณ ดึงตัวนำเล็กน้อย เพื่อให้สุนัขได้เริ่ม ต้องเรียกชื่อมันก่อนเสมอ แล้วตามด้วยคำสั่ง เช่น "แดงตาม" การเอ่ยชื่อจะช่วยให้มันสนใจมากขึ้น ทำให้มันได้รู้ว่าคุณกำลังออกคำสั่งให้มัน (แดง คือชื่อสมมุติของสุนัขในที่นี้)
    ให้เดินอย่างกระฉับกระเฉงแต่ละก้าว เดินวนเป็นวงกลมใหญ่ หรือเดินไปเป็นสี่เหลี่ยม หรือเส้นตรงก็ได้ ขณะที่เดินแน่ใจว่าสุนัขของคุณอยู่ข้างซ้ายและชิดขาของคุณเสมอ ถ้ามันเดินล้าหลังคุณให้กระตุกตัวนำเบา ๆ ให้มันเดินให้ทันคุณ แล้วก็ชมมันว่าดีแล้วที่ทำอย่างนี้ ถ้ามันเดินนำหน้าคุณหรือออกห่างไป ให้คุณหยุดพร้อมกับกระตุกตัวนำอย่างแรง ดึงมันกลับมาอยู่ตรงที่ที่ถูก ควรชมมันทุกครั้งที่มันเดินถูกที่ถูกทาง ทันทีที่คุณกระตุกตัวนำเพื่อให้สุนัขคุณอยู่ถูกที่ก็ให้ผ่อนสายตัวนำไปด้วย อย่างลากสุนัขหรือดึงตัวนำเพราะจะเกิดการดึงกันไปดังกันมา ซึ่งไม่เป็นผลดีเลย
    เพื่อให้สุนัขตั้งอกตั้งใจฝึก ต้องพูดกับมันขณะที่คุณให้มันกลับมาถูกที่คุณควรจะฝึกการเดินหันหลังกลับ ด้วยการกระตุกตัวนำเบา ๆ ขณะที่คุณหมุนตัวด้วย มันจะเรียนรู้ไปทีละนิดละหน่อยว่ามันต้องตั้งอกตั้งใจ หรือจะถูกกระตุกให้กลับมาอยู่ข้างตัวคุณ และคุณสามารถเปลี่ยนวิธีการไปได้เรื่อย ๆ โดยการเปลี่ยนความเร็วบ้าง หันหลังกลับ เดินตรง หรือว่าเดินซิกแซกข้ามสนามที่ใช้ฝึก เป็นต้น
    "ตาม" หมายถึง "นั่ง" ด้วย สำหรับสุนัขแล้วคำสั่งว่า "ตาม" จะหมายถึงมันต้องนั่งอยู่ข้างซ้ายของคุณด้วย เมื่อคุณหยุดโดยไม่มีคำสั่งอะไรเพิ่มขณะที่คุณฝึกให้ตาม ทำให้มันนั่งเมื่อคุณหยุด ครั้งแรกใช้คำสั่งว่า "นั่ง" แต่ต่อไปไม่ต้องออกคำสั่งอีก มันจะนึกรู้และจะนั่งได้เองเมื่อคุณหยุด และจะคอยคำสั่ง "ตาม" ใหม่ เพื่อจะลุกเดินอีกครั้ง

  • การฝึกให้นั่ง
    การ ฝึกสุนัขให้นั่งค่อนข้างง่าย โดยให้มันยืนอยู่ข้างซ้ายมือ ให้ถือตัวนำสั้น ๆ แล้วออกคำสั่งว่า "นั่ง" ขณะออกคำสั่งให้ดึงตัวนำขึ้นพร้อมกับกดช่วงหลังของสุนัขลง แต่อย่าให้มันลงไปหมอบหรือยืนขึ้น ถ้ามันลงหมอบให้กระตุกตัวนำขึ้นจนกระทั่งมันลุกขึ้นแล้วนั่ง ถ้าหากมันทำตามคำสั่งช้า ๆ ให้ดังมันอย่างแรงจนกระทั่งมันทำตามความต้องการของเรา ให้มันอยู่ในท่านั่งสักชั่วขณะหนึ่ง แล้วค่อยผ่อนความตึงของตัวนำพร้อมกับชมมันด้วย ทวนคำสั่งอย่างหนักแน่นในขณะที่คุณจูงมันในท่านั่ง ย้ำเพื่อให้มันจำคำสั่งได้ขึ้นใจ ถ้าหากมันเคลื่อนที่ละก้อให้ทวนคำสั่งอีกครั้งแล้วให้มันนั่งลง หลังจากนี้มันก็จะนึกรู้และนั่งลงไปเองโดยไม่ต้องกดหลังมันอีก เมื่อมาถึงขั้นนี้แล้วแสดงว่ามันจะนั่งเองได้ ชมเชยมันบ่อย ๆ ให้รางวัลโดยการกระทำกับมันอย่างอ่อนโยน และชมเชยมันบ่อย ๆ ด้วยคำพูดที่นุ่มนวล

    การฝึกให้หมอบลงหรือหมอบ
    จุด ประสงค์ขั้นตอนนี้คือ ทำให้สุนัขหมอบลงกับคำสั่ง "หมอบ" หรือเมื่อออกคำสั่งด้วยมือ ให้คุณยกมือมาข้างหน้าพลิกโบกฝ่ามือลง อย่างไรก็ตาม คุณต้องทำไปจนกว่าสุนัขจะเข้าใจความหมายของคำสั่งและจะทำเองได้โดยไม่มี ปฏิกิริยากึ่งบังคับจากคุณ สัญญาณมือควรจะทำควบคู่ไปกับการออกคำสั่ง คำสั่งนี้อาจจะยากไปหน่อยในช่วงแรก เพราะมันรู้สึกเหมือนคุณยกมือเพื่อจะทำร้ายมันและมันป้องกันตัวเองไม่ได้ อาจจะวิ่งเตลิดไปก็ได้ ให้เอาใจมันด้วยคำชมหรือทำกับมันดี ๆ เมื่อมันทำตามคำสั่งแล้วมันจะเรียนรู้ไปเองว่าไม่มีอะไรที่เลวร้ายเกิดขึ้น ในทางกลับกันมันจะรู้จักคำสั่งว่า "หมอบ" แล้วถ้ามันทำตามนายจะพอใจ
    อย่า เริ่มฝึกสุนัขหมอบลงจนกระทั่งมันเข้าใจคำสั่งนั่งได้เป็นอย่างดีเสียก่อน ให้สุนัขอยู่ในท่านั่งและคุณคุกเข่าอยู่ตรงหน้า ยกขาหน้าของมันด้วยมือแต่ละข้างของคุณ จับตรงเหนือข้อศอก ยกขามันขึ้นแล้วดึงลงมาที่พื้นข้างหน้า ในขณะเดียวกันก็ออกคำสั่งว่า "หมอบ" แล้วดึงขาหน้ามันลงมาติดพื้น
    ดึงมันลงมาที่พื้นและทำให้มันรู้ว่า ท่านี้เป็นท่าที่ต้องการให้มันทำ วิธีนี้ดีกว่าจะไปบังคับให้มันทำ มิฉะนั้นจะทำให้มันรู้สึกตกใจและเริ่มจะไม่ชอบการฝึกใด ๆ เลย หมั่นพูดคุยกันมัน บอกมันให้รู้ว่าคุณดีใจ พอใจ เวลาที่มันทำตามคำสั่ง แล้วคุณจะพบว่าคุณมีความสุขกับการฝึกสุนัข
    หลังจากที่มันเริ่มเรียน รู้ เลื่อนตัวนำไปอยู่ใต้เท้าซ้ายและออกคำสั่ง "หมอบ" ในขณะเดียวกันดึงตัวนำด้วยจะช่วยให้สุนัขหมอบลง ช่วงนี้ยกมือคุณแล้วโบกลงให้สัญญาณมืออีกครั้ง อย่าหวังว่ามันจะสามารถทำได้ด้วยคำสั่งเพียงครั้งเดียว จงอดทนฝึกกับมันไปเรื่อย ๆ มันก็จะร่วมมือด้วย ถ้าคุณแสดงให้มันเห็นว่าอะไรบ้างที่คุณอยากให้มันทำ

  • การฝึกให้อยู่นิ่ง ๆ
    ขั้น ต่อไปคือการฝึกสุนัขให้อยู่นิ่ง ๆ ในท่านั่งหรือหมอบ เหมือนกับครั้งก่อนโดยใช้ตัวนำสอนคำสั่งนี้ จนกระทั่งสุนัขของคุณตอบรับคำสั่งด้วยการทำตามคำสั่ง แล้วจึงเอาตัวนำออก การฝึกเริ่มด้วยการนั่งนิ่ง ๆ จัดให้สุนัขอยู่ในท่านั่งข้างคุณในท่านั่งแนบขาโดยอัตโนมัติ ถือเชือกในมือข้างหนึ่ง (ส่วนใหญ่ผู้ฝึกชอบถือมือซ้าย) ก้าวไปข้างหน้าแล้วหันหน้ามาหามัน ยื่นมือออกไป นิ้วชี้ไปที่ช่วงจมูกของมันแล้วสั่งว่า "อยู่นิ่ง" ถ้ามันทำท่าจะเดินตามคุณเนื่องจากเป็นธรรมชาติของมันที่จะทำ เพราะมันอยู่ในท่าที่จะตาม ให้กระตุกตัวนำ เพื่อให้มันกลับมานั่งก่อน ยกมือมาไว้ข้างหน้ามันแล้วทวนคำสั่งอย่างหนักแน่นอีกรั้ง ให้มันอยู่ในท่านั่งนั้นสัก 2-3 วินาที ก่อนจะให้ลงมือปฏิบัติการอย่างอื่น แต่ละครั้งที่มันทำสำเร็จคุณต้องกล่าวชมมันเรื่อย ๆ แสดงให้มันเห็นว่าคุณพอใจกับมันด้วย
    ทวนวิธีนี้อีกครั้งจนกระทั่ง สุนัขของคุณทำเหมือนกับว่ามันเข้าใจว่าคุณจะให้มันทำอะไร เมื่อมันได้เรียนรู้ตลอดกระบวนการแล้ว เดินออกมาทางขวาของสุนัขอ้อมไปข้างหลัง ก้าวอีก 2 ก้าวไปข้างหน้า อีกสัก 2-3 ก้าวไปด้านข้าง ทำไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งคุณไปจนสุดสายเชือก ครั้งใดที่สุนัขจะออกตามคุณ สะบัดเชือกยื่นแขนออกโบกมือลงแล้วออกคำสั่งอย่างเฉียบขาด เมื่อมันแสดงให้เห็นถึงความเต็มใจที่อยู่ในท่าที่ถูกต้อง ขณะที่คุณเดินออกไปสุดเชือกนั่นหมายถึงคุณพร้อมที่จะฝึกมันต่อไปอีก ให้อยู่ในท่าเดิมโดยใช้เชือกยาวกว่าเดิม (ราว ๆ 25-30 ฟุต) แล้วท้ายสุดให้ฝึกโดยการเอาเชือกออก

    ครั้งแรก ๆ ที่เรียนรู้การนั่งนิ่ง ๆ คุณสามารถจะสอน "หมอบนิ่ง ๆ" โดยเริ่มคำสั่งด้วยคำว่า "หมอบ" ก่อน แล้วฝึกโดยใช้วิธีเดียวกับฝึกนั่งนิ่ง ๆ



  • การฝึกให้คำสั่ง "มานี่"
    คุณสามารถฝึกสุนัขให้ มาหาคุณเมื่อคุณเรียกได้ ถ้าเริ่มต้นกับมันตั้งแต่มันเด็ก ๆ แรกเริ่ม ฝึกสอนล่ามตัวนำอยู่ในสุนัขนั่ง แล้วย้อนเชือกกลับมาพร้อมเรียกชื่อมัน ให้เรียกด้วยน้ำเสียงที่อ่อนโยนมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ดึงตัวนำนิดหน่อยเพื่อให้มันเริ่ม เมื่อมันเดินมาให้ส่งเสียงชมมันดัง ๆ หรืออาจใช้อีกวิธีโดยการให้ขนมสำหรับสุนัขหรือผลไม้เป็นรางวัล มันจะนึกรู้ทันที คุณอาจจะเดินออกมาจนสุดตัวนำแล้วเรียกมัน เช่น "แดงมานี่" วิ่งไปสองสามก้าวแล้ว, หยุดให้มันมาอยู่ตรงหน้า (แดงคือชื่อของมัน)
    ไม่ ต้องอยากฝึกคำสั่งนี้โดยไม่มีตัวนำ เพราะแรก ๆ มันอาจจะคิดว่ามันไม่ต้องเชื่อฟังคำสั่งคุณอีกแล้วก็ได้ และมันก็จะวิ่งหนีไป โปรแกรมการฝึกของคุณก็ต้องล้มเหลว ระลึกไว้ว่าชีวิตสุนัของคุณนั้นอาจจะขึ้นอยู่กับการสนองตอบต่อคำสั่งให้มาหา โดยทันทีเมื่อถูกเรียก ถ้ามันไม่เชื่อฟังเวลาไม่ได้ล่ามไว้ ให้ล่ามมันอีก แล้วแก้ไขให้กลับมาเชื่อฟังโดยการใช้ตัวนำ

    การฝึกให้มานี่ เพื่อจะตามมา
    หัว เรื่องนี้ คือสำหรับคุณเมื่อยืนอยู่ สั่งว่า "ตามมา" สุนัขของคุณเดินตามอ้อมทางขวาแล้วนั่งอยู่ข้างเข่าซ้ายของคุณในท่านั่ง ถ้าหากสุนัขของคุณไม่ได้ถูกฝึกให้นั่งโดยไม่มีคำสั่งทุก ๆ ครั้งที่คุณหยุด มันก็ผ่านสำหรับขั้นนี้ให้มันนั่งอยู่หน้าคุณ มองหน้ามันแล้วถอยหลังไปหนึ่งก้าว เคลื่อนเฉพาะเท้าซ้าย ดึงสุนัขมาอยู่ด้านหลังคุณและก้าวตรงไปรวมทั้งดึงมันไปรอบ ๆ จนกระทั่งมันอยู่ในท่าตาม คุณอาจทำให้สุนัขเดินไปรอบ ๆ ได้โดยอ้อมตัวนำไปข้างหลัง ใช้ส้นเท้าซ้ายดันมันออกถ้ามันเริ่มจะนั่งหรือค้อมตัวลง การฝึกนี้อาจต้องได้เหงื่อนิดหน่อย แต่มันจะเรียนรู้ไปเรื่อย ๆ ถ้าทำให้มันรู้ว่าคุณอยากให้มันทำอะไร

    การฝึกให้ยืน
    สุนัข ของคุณควรจะถูกฝึกให้ยืนในจุดเดียวโดยไม่มีการเคลื่อนไหว ยอมให้คนแปลกหน้าโบกมือไปมาอยู่เหนือใบหน้าและหัว หรือปัดไปมาแถวขาโดยไม่มีความกลัวหรือแสดงออกใด ๆ ทั้งสิ้น ใช้วิธีเดียวกับคุณที่เคยฝึกมันให้นั่งหรือหมอบขณะเดิน ยื่นมือซ้ายออกไป โบกอยู่ตรงแถว ๆ จมูก พร้อมกับออกคำสั่งให้มันอยู่นิ่ง ๆ ครั้งแรกมันจะคิดว่าคุณให้มันนั่ง แต่คุณต้องหยุดมันด้วยการเอามือสอดไปใต้ลำตัวมันใกล้กับช่วงท้องและจับไว้ จนกระทั่งมันนึกรู้ว่านี่ต่างจากการออกคำสั่งให้นั่ง ชมมันอีกเวลามันยืนเฉย ๆ แล้วคุณก็เดินไปจนสุดสายตัวนำ รีบแก้ไขอย่างรวดเร็วถ้าหากมันทำท่าจะเคลื่อนไหว โดยให้คนแปลกหน้าเข้ามา ใกล้ ๆ มัน แล้วก็โบกมือไปมาเหนือหลังหรือแถว ๆ ขา ให้มันยืนนิ่ง ๆ จนกระทั่งคุณกลับมาหามัน นี่เป็นการฝึกและออกกำลังที่มีค่าถ้าหากคุณมีแผนที่จะโชว์สุนัขของคุณ มันจะต้องเรียนรู้ที่จะยืนท่าโชว์ และลองให้กรรมการตัดสิน กรรมการก็จะโบกมือไปมาบนหลังและแถวขามัน ก็จะเป็นสิ่งสำคัญที่จะให้สุนัขยืนอย่างสุขุมและมั่นคง

  • การฝึกนิสัยและสังเกตพฤติกรรมสุนัข
    สุนัขเป็นสัตว์ที่สามารถสื่อสารกับมนุษย์หรือสุนัขอื่นๆ ผ่านการแสดงอากัปกิริยาต่างๆ นั่นรวมไปถึง การแสดงสีหน้าหลายๆแบบ การทำท่าหลายๆ อย่าง เช่นการส่งเสียง หรือวิธีการดมกลิ่นรับรู้ภาษามนุษย์ได้ สามารถฝึกสุนัขให้สื่อสารกับมนุษย์ได้ ช่วยงานมนุษย์ในด้านต่างๆมากมาย เช่น สุนัขตำรวจ สุนัขทหาร สุนัขนำทางคนตาบอด เป็นต้น
    การแสดงความเป็นใหญ่มีพละกำลังมากกว่าเหนือคู่ต่อสู้
    สุนัขจะยืนตัวตรงคอตั้ง ขาเหยียดตรง หางและหูตั้งขึ้น ทำอกตั้ง ขนรอบคอชูชัน และเป็นแนวยาวตลอดสันหลัง โบกหางไปมาอย่างช้าๆ พร้อมขู่คำราม ในทางกลับกันสุนัขตัวที่กำลังยอมแพ้ (หรือยอมจำนนต่อตัวที่เก่งกว่า) จะแสดงท่าว่า ข้านี้ตัวกระจ้อยร่อย หมดน้ำยาเหมือนลูกสุนัขตัวเล็กๆ และอาจจะนอนหงายท้อง หูรี่ ไม่สู้แต่อย่างไร พอถึงตรงนี้ต้องขออธิบายกันก่อนว่า สุนัขตัวโตมักจะสั่งสอนหรือดุลูกสุนัขตัวเล็กๆ แต่เขาจะไม่ทำร้ายเจ้าตัวน้อยอย่างแน่นอน

  • การแสดงการยอมแพ้
    สุนัขตัวที่ยอมแพ้ว่าอีกตัวนั้นเก่งกว่าหรือเหนือกว่า หรือยอมรับและเกรงกลัวคนผู้เป็นเจ้าของ จะแสดงอาการยำเกรง ด้วยการเข้าไปหาสุนัขตัวที่เหนือกว่าหรือเจ้าของ ทางด้านข้าง โดยหมอบคลานเตี้ยติดพื้น หางตกแต่แกว่งไปมา นอกจากนี้ คุณยังจะพบอีกว่าเค้าจะชอบเลียมือเลียไม้ เลียเท้าหรืออาจเลยไปถึงหน้า ของผู้เป็นเจ้าของ หรือสุนัขตัวที่เหนือกว่า ถ้ามันทำได้ แต่ถ้าเขายังเห็นว่าที่แสดงออกมานี้ยังแสดงอาการเอาใจได้ไม่มากพอ พวกเค้าอาจจะเพิ่มอาการให้มากขึ้นไปอีก โดยลงไป กลิ้งหงายท้อง ซึ่งบางตัวอาจจะมีฉี่ออกมาด้วย

    การแสดงความดีใจหรือเป็นมิตร
    สุนัขจะกะดิกหาง หรือแกว่งหาง อย่างแรงจนก้นสบัดเป็นการแสดงอาการยินดีและความเป็นมิตร และลูกฝูงก็จะทำอากับกริยาดีใจเช่นนี้เหมือนกันต่อฝูง

    การแสดงอาการโกรธ
    สุนัขที่แสดงว่ากำลังโกรธ จะขู่คำราม แยกเขี้ยว หางที่โบกอย่างช้าๆเกร็งๆ อยู่ในระดับเดียวกับ หลังของสุนัข

    การแสดงอาการกลัว
    สุนัขที่แสดงอาการกลัว มีความกังวลใจ กลุ้มใจ จะทำส่วนหางที่ห้อยตกอยู่ระหว่างก้นของสุนัข หรือแกว่งอย่างเกร็งๆตกอยู่ระหว่างก้น

    สุนัขที่ทำหูตั้ง
    สุนัขที่กำลังทำหูตั้ง ตัวตรง แสดงว่ากำลังอยู่ในอาการที่เตรียมพร้อม ที่จะทำอะไร บางอย่าง หรือฟังเสียงอย่างตั้งอกตั้งใจอย่างเฝ้าระวังตลอดเวลา

    สุนัขที่ทำหูลู่หรือตก
    สุนัขที่กำลังทำหูลู่หรือตกไปข้างหลังเสมอกับแนวศรีษะ ก็จะบ่งบอกถึงว่า สุนัขกำลังดีใจ ยอมแพ้ หรือกลัว

    สุนัขที่ทำตาหรี่
    สุนัขที่กำลังทำตาหรี่แปลความหมายได้สองอย่าง คือถ้าไม่ได้กำลังมีความสุข ก็แสดงว่ากำลังยอมแพ้

    สุนัขที่ทำตาเบิกกว้างและลุกโพลง
    สุนัขที่ทำตาโตเบิกกว้างและลุกโพลงแสดงว่าสุนัขกำลังจะแสดงอาการก้าวร้าว หรือกำลังเริ่มโมโห เหมือนอย่างเช่นในฝูงสัตว์ป่า หัวหน้าฝูงแสดงอาการเช่นนี้เพื่อควบคุมและดูแลบรรดาลูกฝูงที่ไม่เชื่อฟัง โดยการจ้อง ทั้งสอง ฝ่ายจะจ้องตากันจนกว่าจะมีฝ่ายใดเข้าท้าทายหรือมีฝ่ายใดก้มหัว ฝ่ายที่ยอมแพ้ก็จะลดหัวของตนให้ก้มต่ำลงแล้วหันกลับออกไป อย่างไรก็ดี หากการประจันหน้าของสุนัขที่เหนือกว่าและตัวที่ด้อยกว่ายังคงดำเนินอยู่ต่อ ไป แม้ว่าสุนัขตัวที่ด้อยกว่าจะหลีกทาง ไปแล้ว สุนัขที่ด้อยกว่านั้นอาจจะรู้สึกสับสนและแว้งกัดออกไปเพื่อเอาชนะความกลัวก็ ได้ และหากการทำสงครามทางสายตานี้ ไม่มีทีท่าว่าจะสิ้นสุด สุนัขตัวที่เหนือกว่าก็จะเข้าคุกคามและสั่งสอนอีกตัวด้วยการแยกเขี้ยวคำราม ขู่ หรือตรงเข้ากัดทันที

  • การจ้องตาสุนัข
    สุนัขที่จ้องตากับสุนัข หรือสุนัขกับคน มีสองอย่างคือจ้องตากันแบบแสดงความรักความอบอุ่นต่อกัน หรือจ้องตาท้าทายเพื่อการต่อสู้ที่กำลังจะเกิดขึ้นในไม่ช้า หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ยอมแพ้ คุณไม่ควรจ้องตากับสุนัขที่กำลังหงุดหงิดหรือโมโห เพราะจะเป็นการยั่วยุให้สุนัข เริ่มตรงเข้าทำร้ายคุณ
    สุนัขที่ว่าง่ายและสุนัขบางสายพันธุ์ที่เห็นชัดๆ อย่างเช่น ลาบราดอร์ ซึ่งเป็นสุนัขที่ทำหน้าเหมือนยิ้ม เวลาอ้าปาก เราจะเห็นฟันใต้กระพุ้งปากยานๆเผยอๆของเค้า อันนี้ดูเป็นมิตรดี แต่ในยามที่เค้าโมโห ปากของสุนัขลาบราดอร์ จะหุบเข้า เผยให้เห็นฟันขาวแวววาวทุกซี่ ซึ่งคุณจะได้ยินเสียงเค้าขู่ตามมา สำหรับสุนัขที่แสดงอาการอยากจะเล่น อาจจะแสดงพฤติกรรม ด้วยการเหยียดอุ้งเท้าตุ้มน้อยๆออกมาหา หรือชวนคุณเล่นผ้า และเค้าก็จะชอบเห่าเพื่อดึงดูดความสนใจ ส่วนกิริยาท่าทางอื่นๆ ของสุนัขที่สามารถสังเกตได้ก็อย่างเช่นชวนคุณเล่นของเล่น หรือไล่งับเพื่อนๆของเค้าเพื่อชวนให้เล่นวิ่งไล่กัน

    เราต้องเป็นเจ้านาย
    สุนัขเมื่อเข้าวัยหนุ่มสาวอายุได้ประมาณ 6 เดือน สุนัขเริ่มเป็นตัวของตัวเอง ไม่ทำตามคำสั่งที่เราเคยสอนให้ปฏิบัติตามอย่างคำสั่ง เช่น “นั่ง” , “หมอบ” หรือ “มานี่” ในช่วงนี้ สุนัขจะทดสอบสามารถของเจ้านาย ถ้าอ่อนแอหรือเขาแข็งแรงและมีพละกำลังมากกว่า สุนัขจะคิดว่าเขาจะเป็นผู้นำ แทนเราได้หรือไม่ ดังนั้นคุณมีหน้าที่ที่จะต้องสอน และฝึกฝน วินัยให้เขาและทำให้เค้ารู้ให้ได้ว่าสถานะของเค้านั้นอยู่ตรงไหน และแม้ว่าเขาจะโตเป็นผู้ใหญ่เต็มที่แล้ว คุณก็ควรจะฝึกวินัย ให้กับเขาเป็นระยะๆ และอย่าลืมว่าการชมเชยเป็นสิ่งสำคัญมากๆ(สุนัขทุกตัวชอบเหมือนกันหมด)
    เมื่อสุนัขแสดงความเป็นใหญ่เหมือนเป็นจ่าฝูง ให้คุณรีบกำจัดความอหังการของเค้าลงไปเช่นการที่ลูกสุนัขแสดงท่าทาง หวงกระดูก หรือของกินกับคุณ อย่าปล่อยให้เขาทำพฤติกรรมนี้กับคุณ หากปล่อยเนิ่นนานไปมันอาจจะสายเกินแก้ พฤติกรรมของเขาหรืออาจกลายเป็นอันตรายหากสุนัขของคุณ ตัวโตจนคุณไม่สามารถบังคับได้ วิธีแก้ไข เวลาที่เค้ากำลังกิน อาหารให้ดึงชามข้าวเค้าออกมาบ้าง สุนัขควรยินยอมคุณแต่โดยดี หากเค้าแยกเขี้ยวคำราม หรืออยากจะกัดเรา คุณต้องกำราบเขา

  • การเปลี่ยนพฤติกรรมที่ก้าวร้าว
    ถ้าลูกสุนัขแสดงความก้าวร้าว เช่น หวงอาหาร หวงของเล่น ขู่เวลาจับอาบน้ำ วิธีการสอนให้สุนัขรู้ว่าคุณคือเจ้านาย ก็คือการจับเค้านอนตะแคงราบไปกับพื้นแล้วใช้มือกดคอเค้าไว้ (เหมือนแม่งับคอลูกเพื่อสั่งสอน) ให้คุณกดไว้อย่างนี้จนกระทั่งเค้ายอมจำนน และคลายอารมณ์ลง (ให้ทำอย่างนี้หลายนาทีโดยเฉพาะที่ เป็นครั้งแรก) คุณจึงปล่อยมือออกมา แล้วอย่าลืมว่าให้พูดเรียกชื่อเค้าอย่างนุ่มนวลล่ะระหว่างเวลาที่คุณกดมือลง ไป วิธีการกำราบนี้ใช้ได้เฉพาะเวลาที่ลูกสุนัขของคุณประพฤติตนในทางที่ไม่ควร เท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น ที่เค้าแยกเขี้ยวยิงฟัน ใส่คุณเวลาที่คุณแต่งตัวให้เค้า ไม่ต้องกังวลว่าเขาจะเจ็บ เพราะวิธีการกำราบแบบนี้จะไม่ทำให้เค้าเจ็บ และนี่เป็นวิธเดียวกับที่สุนัขที่อยู่ในตำแหน่งที่เหนือกว่า แสดงออกและทำกับลูกฝูงตัวที่เด็กกว่าให้เจียมเนื้อเจียมตัว แต่อย่าลืมปล่อยมือออกจากคอเค้าก็แล้วกัน หากคุณเห็นว่าเค้ายอมคุณแล้ว แม้ว่าเค้าดิ้นตัวหนีคุณอย่างสุดกำลังก็ตาม

    วิธีการแสดงว่าเราเหนือกว่า
    ให้เราบีบปากสุนัขด้วยมือย่างระมัดระวังแล้วปล่อยมือ ก็เป็นอีกวิธีในการแสดงความเหนือกว่าของคุณต่อสุนัข และเป็นการเสริมความน่าเกรงขามให้กับตำแหน่งหัวหน้าฝูงให้คุณได้ดี ทุกคนในครอบครัวควรเข้าใจตรงกันว่า สุนัขอยู่ในสถานะที่เป็นน้องเล็กที่สุดของบ้าน ไม่ใช่เจ้านายและควรปฏิบัติกับเขาอย่างนั้น เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้สุนัขของคุณแสดงความเหิมเกริมและอยากเป็นใหญ่ ไม่ควรให้อนุญาตให้สุนัขขึ้นมานั่งบน โซฟาหรือนอนบนเตียงโดยที่คุณไม่ได้อนุญาตอย่างเด็ดขาด
    ส่วนการที่เค้าเห็นขาใครต่อใครในครอบครัวคุณ เป็น “สุนัขตัวเมีย” ก็เกิดขึ้นได้บ่อย แต่ไม่ได้แสดงว่าสุนัขของคุณ เค้ามีพฤติกรรมทางเพศที่ผิดๆหรอก แต่สำหรับเขามันคือการแสดงความ “มีอำนาจเหนือกว่า”ต่างหาก แม้แต่สุนัขตัวเมีย ก็ตามหากทำอย่างนี้จะถือว่าเป็นการกระทำที่แสดงออกต่อสุนัขตัวที่มีตำแหน่ง ต่ำกว่า ดังนั้นคุณอย่าไปปล่อยให้พฤติกรรม แบบนี้เกิดขึ้นกับเค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากสุนัขแสดงพฤติกรรมแบบนี้กับลูกๆของคุณ ให้พูดกับเค้าเสียงแข็งๆว่า “ไม่!” แต่หากยังเกิดพฤติกรรมแบบนี้ขึ้นอีก ก็ให้แสดงความเป็นเจ้านายหรือหัวหน้าฝูงของเค้าด้วยการจับเค้านอนตะแคง แล้วกดคอเค้าไว้ด้วยมืออย่างที่กล่าวมาข้างต้น
    คุณควรจะเริ่มวิธีการนี้เสียตั้งแต่แรกๆ สามารถเริ่มได้ทันทีที่เค้าเข้ามาอยู่ในบ้านคุณใหม่ๆ และเริ่มคุ้นเคยแล้ว เพื่อที่ลูกสุนัขเล็กๆที่น่ารักของคุณได้เติบโตขึ้นมา เป็นสุนัขที่มีเสน่ห์และนิสัยดีในอนาคต
    และแน่นอนว่าการแก้ไขความประพฤติที่ไม่ถูกต้องที่เค้าทำจนเคยชินแล้ว จะยากกว่าการสอนเค้าตั้งแต่ต้น เป็นไหนๆ สุนัขตัวที่ไม่ได้รับการสอนจากคุณมาตั้งแต่ต้นนั้นจะเป็นปัญหาแน่เมื่อเค้า อายุได้สักปีหรือสองปี ท้ายที่สุด พวกเค้าจะต้องลงเอยในสถานสงเคราะห์สัตว์หรือที่แย่กว่านั้น อาจต้องโดนกำจัดทิ้ง ถ้าเขากลายมาเป็นสุนัขที่จ้องจะ เข้าคุกคามและเป็นอันตรายต่อคน อย่างไรก็ดี สิ่งเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นหากคุณได้เริ่มฝึกฝนเค้าอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่เค้า ยังเล็กๆ

  • วิธีแบบโบราณที่จะให้สุนัขเชื่อฟังก็คือการเฆี่ยนตี แต่โชคดีที่การทารุณสัตว์แบบนี้ไม่มีให้เห็นแล้ว คุณทราบไหมว่า สุนัขที่ถูกตีนั้นจะอยู่อย่างเป็นทุกข์และจะสามารถกัดหรือทำร้ายคนได้เมื่อ เค้ารู้สึกกลัว พวกเค้าจะไม่มีความมั่นใจในมนุษย์ ดังนั้นสิ่งที่คุณควรกระทำต่อสุนัขของคุณนั้นก็คือการให้ความสนใจเค้า ชมเชยเค้า และรักเค้าอยู่เสมอ
    อย่าลืมว่าไม่เพียงสุนัขเท่านั้นที่ต้องเรียนรู้ ตัวคุณเองก็ต้องเรียนรู้เช่นกันว่าคุณควรต้องทำอะไร เพื่อใหสุนัขเข้าใจว่า เขาต้องปฏิบัติตัวอย่างไรจึงเป็นการเหมาะสม
    การเห่าของสุนัข
    1. เห่าเพื่อเป็นการเตือน การเห่าแบบนี้อาจจะเป็นที่ต้องการกับเจ้าของบางคนเพราะเป็นการเห่าเมื่อเจอ คนแปลกหน้าหรือผู้บุกรุกเข้ามาในอาณาเขตของเค้า
    2. เห่าเพื่อเรียกร้องความสนใจ ส่วนใหญ่จะพบในลูกสุนัขเพื่อจะทำให้เราสนใจ แต่เราควรจะทำตรงข้ามกันคืออย่าสนใจ
    3. เห่าเพราะตื่นเต้นหรือเล่น เสียงเห่าลักษณะนี้จะสั้นและแหลม
    4. เห่าเพื่อแสดงตัว เหมือนกับเป็นการเห่าตอบสุนัขตัวอื่นๆ คล้ายๆจะบอกว่า "ฉันอยู่ที่นี่ไง"
    5. เห่าเพราะเบื่อ หรือเพื่อเป็นการปลดปล่อยพลังงาน สุนัขหลายพันธุ์ต้องการการออกกำลังกาย ไม่งั้นจะอึดอัดและหาทางออกโดยการเห่าหรือทำนิสัยเสียอย่างอื่นแทน เช่น ขุดดิน กัดแทะ เป็นต้น
    6. เห่าเพราะเหงาหรือรู้สึกกังวลใจ น้องหมาบางตัวติดเจ้าของมากหรืออาจมีการเปลี่ยนที่อยู่หรือสิ่งแวดล้อมใหม่ จะเกิดความรู้สึกกังวลใจขึ้น
    7. เห่าเพราะตกใจ อาจเกิดจากการได้ยินเสียงแปลกๆ หรือเจออะไรที่ไม่คุ้นเคยอย่างหมาเห่าใบตองแห้ง นิสัยนี้เราควรจะต้องรีบแก้โดยเร็ว

    การฝึกนิสัยการเห่าของสุนัข
    สุนัข ที่เห่าเวลามีคนมาส่งจดหมาย คนวิ่งผ่านหน้าบ้าน หรือเด็กขี่จักรยานผ่าน พวกมันจะมีความคิดว่าตัวเองนี่เก่งจริงๆ เพราะสามารถเห่าจนคนเหล่านี้ผ่านไปและนี่คือปัญหาเพราะมันจะถูกพัฒนาจนกลาย เป็นนิสัย เราอาจจะแก้ไขโดยการป้องกันไม่ให้สุนัขเห็นคนภายนอกแต่นั้นไม่ใช่วิธีแก้ไข ทั้งหมด
    สิ่งแรกเราต้องไม่ให้รางวัลกับสุนัขที่กำลังเห่าไม่ว่ากรณี ใดๆ เช่นเห่าเพื่อขอของกินถ้าเราให้สุนัขก็จะเห่าทุกครั้งเพื่อขอของกิน เราต้องหาสัณญาณที่จะทำให้เค้ารู้ว่าควรจะหยุดได้แล้ว เช่นคำว่า "พอแล้ว" การฝึกทำโดยเมื่อสุนัขเริ่มเห่าได้ครั้งสองครั้งให้เราดึงความสนใจของสุนัข มาที่เราโดยเคาะประตู(ถ้าอยู่ที่ประตู)เมื่อสุนัขหยุดเห่าให้พูดคำว่า "พอแล้ว" และให้รางวัลกับเค้าเช่นขนมหรือคำชมต่างๆ ถ้ายังไม่หยุดเห่าเอาขนมไปให้ดมใกล้ๆจมูกเมื่อเค้าหยุดให้พูดคำว่า "พอแล้ว" รออีกสักพักถ้ายังเงียบอยู่ก็ให้กินขนมหรือให้คำชมอีกครั้ง ย้ำคุณต้องมั่นใจว่าเค้าหยุดเห่าจริงๆถึงค่อยให้ ใช้น้ำเสียงเรียบๆอย่าตะโกนเพราะถ้าคุณตะโกนเค้าจะคิดว่าคุณร่วมเชียร์ด้วย

    การออกกำลังกายเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดี สุนัขที่ได้รับการออกกำลังกายอย่างพอเหมาะมักจะไม่เห่า เพราะไม่เบื่อ หรือกระวนกระวายที่แน่ๆคือเหนื่อย ควรระลึกไว้เสมอว่าการฝึกทุกชนิดต้องใช้เวลาจะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับคุณและ ความอดทนของคุณ หลีกเลี่ยงการทำโทษทางร่างกายเพราะนั่นจะทำให้เค้ากลัวคุณมากกว่าการเปลี่ยน นิสัย แต่ว่ามีสนัขบางชนิด
    ขอบคุณมากค่ะที่อ่านและโพสอย่าอ่านฟรี
    ข้อมูลจาก http://www.expert2you.com/view_question2.php?q_id=16012
  • CREDIT: BY WWW.PITBULLZONE.COM :-D
  • ขอบคุณมาก ๆ เลยครับ
  • เยอะมากยังอ่านไม่ครบเลย เดี๋ยวจะเข้ามาอ่านเรื่อยๆ ตอนนี้ผมก็สั่ง นั่ง หมอบ ได้และ เหลือแต่ คอย :063:
  • เยี่ยมครับ :063:
  • โอ้ว!!! ครบเซ็ต... :006:
  • ส่งมานี้ม่ะ ............... :-))


    ตามพี่ๆๆ เขาแนะนำเลยครับ น้อง สุ้ๆๆ อดทน ใจเย็น อ่านหมาให้ออก .........
    ไม่นานก้อทำได้ครับ

  • ตอนนี้ทั้งซน ทั้งกัดทุกอย่างที่ขวางหน้าเลยครับ :012: แต่จะพยายามต่อไปครับ
  • จัดได้เต็มมากๆ. ขอบคระคุณท่านsuperkimมากๆเลยคัฟ :063:
  • ขอบคุณมากเลยครับผมอ่านหลายรอบเลย และนำไปทำกับสุนัข รู้สึกได้เลยว่าดีขึ้น

  • ให้เวลาเขาหน่อยครับ เขายังเด็ก... การฝึกหมาต้องใช้เวลาครับ ส่วนช้าหรือเร็ว อยู่ที่ไอคิวหมา กับไอคิวคนฝึกด้วยครับ...เรื่อยๆ เดี๋ยวก็ดีขึ้นเองครับ..
  • ขอบคุณที่แนะนำนะครับ จนถึงวันนี้น้องฟังมากขึ้นก็หวังว่าจะดีขึ้นเรื่อย ๆ