ยินดีต้อนรับครับ

ขอแนะนำให้ทุกท่าน สมัครสมาชิก เพื่อป้องกันการแอบอ้างชื่อครับ

Mark Mafia

สอบถามเรื่องยาครับ
  • พอดีว่า สุนัขของผมเป็นโรคข้อสะโภคเสื่อมครับ เราควรใช้ยาตัวไหนบำรุงคับ ที่ทราบคือ. กลูโคซามีน. ครับ
    หรือท่านใดใช้อะไรยังไงก็แนะนำด้วยครับ

  • โรคข้อสะโพกเสื่อมในสุนัข (Canine Hip Dysplasia)

    โรคข้อสะโพกเสื่อม
    เป็นโรคกระดูกที่พบได้มากในสุนัขสายพันธุ์ใหญ่ (Giant and large breed dog) โดยพบมากถึง 1 ใน 3 ของความผิดปกติของกระดูกทั้งหมด โรคนี้จะมีพัฒนาการในช่วงที่มีการเจริญเติบโตของกระดูก จึงอาจพบได้ตั้งแต่อายุ 4-12 เดือน

    สาเหตุและปัจจัยโน้มนำ
    1. กรรมพันธุ์ ? มักเป็นสาเหตุเริ่มแรกของโรค และมักจะเกิดร่วมกับปัจจัยอื่นๆ ทำให้มีความรุนแรงมากขึ้น พบว่าลูกสุนัขที่เกิดจากพ่อแม่ที่ไม่แสดงอาการของโรค อาจป่วยด้วยโรคนี้ได้ ส่วนลูกสุนัขที่เกิดจากพ่อแม่ที่ป่วยด้วยโรคข้อสะโพกเสื่อมจะมีเพียง 7% เท่านั้นที่ปกติ

    2. โภชนาการ ? การให้อาหารเต็มที่ตลอดเวลา จะทำให้มีโอกาสเกิดโรคสูงขึ้น ควรให้ปริมาณอาหารเพียง 60-70% ของปริมาณอาหารที่สุนัขกินได้

    3. อัตราการเจริญเติบโตและขนาดตัวของสุนัข ? ลูกสุนัขที่มีอัตราการเจริญเติบโตเร็ว และมีน้ำหนักตัวมาก จะมีแนวโน้มเกิดปัญหาของกระดูกและข้อต่อได้มากกว่า

    4. สภาพแวดล้อม และการเลี้ยงดู ? กรณีที่ลูกสุนัขมีแนวโน้มเป็นโรคข้อสะโพกเสื่อม หากมีการออกกำลังกายที่มาก จะทำให้แนวโน้มการเกิดโรคสูงขึ้น นอกจากนี้สภาพพื้นผิวที่สุนัขเดิน หากเรียบและลื่น ก็จะทำให้สุนัขที่มีปัญหาอยู่แสดงอาการได้เร็วและรุนแรงขึ้น

    อาการที่พบ
    1. ความสามารถในการออกกำลังกายลดลง
    2. การลุกยืนหรือนั่ง ทำได้ช้าหรือลำบากมากกว่าปกติ
    3. สุนัขไม่พยายามหรือไม่สามารถกระโดดก้าวขึ้น หรือลงบันไดหรือรถยนต์ได้
    4. บางครั้งอาจได้ยินเสียง ?คลิก? ที่บริเวณสะโพก เวลาสุนัขเดิน
    5. ลักษณะการวิ่ง สุนัขจะใช้สองขาหลังก้าวไปพร้อมๆ กัน
    6. มีอาการเจ็บขาเด่นชัดมากขึ้นหลังการออกกำลังกาย อาจแสดงอาการเจ็บขาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง
    7. สุนัขจะยืนในลักษณะหลังโก่งงอ กล้ามเนื้อบริเวณขาหลังและสะโพกลีบหรือมีขนาดเล็กลง บางครั้งสุนัขจะยืนลักษณะขาชิด แต่ปลายเท้าแบะหรือชี้ออกด้านนอก

    การวินิจฉัยโรค
    1. การถ่ายภาพรังสีเอ็กซ์เรย์ ? ใช้ประเมินความรุนแรงของโรคได้ในช่วงอายุ 12-18 เดือน สำหรับลูกสุนัขที่มีปัญหารุนแรงสามารถพบการเปลี่ยนแปลงของข้อต่อได้เร็วกว่านี้
    2. การตรวจข้อสะโพก ? เริ่มตรวจได้ตั้งแต่ลูกสุนัขอายุประมาณ 8 สัปดาห์ ซึ่งยังมองไม่เห็นความผิดปกติด้วยภาพถ่ายรังสี

    การรักษา
    1. การรักษาทางยา ? เป็นการรักษากรณีที่เริ่มมีอาการ โดยการใช้ยาลดอาการปวดและอักเสบ ร่วมกับการใช้สารเสริมอาหารพวกกลูโคซาไมด์ และคอนดรอยติน พร้อมกับการควบคุมปริมาณอาหาร เพื่อให้สุนัขมีน้ำหนักตัวที่เหมาะสม นอกจากนี้ควรให้สุนัขมีการออกกำลังกายด้วย

    2. การรักษาโดยการผ่าตัด มีจุดประสงค์เพื่อ
    - ลดอาการการเจ็บปวดบริเวณข้อต่อ
    - เพื่อให้สุนัขสามารถกลับมาใช้ขารับน้ำหนักได้
    - เพื่อลดการดำเนินไปของโรค
    แต่อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดในกรณีที่ป่วยมานาน จนกระทั่งกล้ามเนื้อขาเริ่มลีบ จะให้ผลการรักษาที่ไม่ค่อยดีนัก และต้องใช้เวลาในการฟื้นฟูกล้ามเนื้อที่นานขึ้น
  • วิธีทำกายภาพกรณีข้อสะโพกเสื่อม
    (In ?Physical rehabilitation in small-animal orthopedic patients? ? Veterinary Medicine 2001)

    สัปดาห์ที่ 1
    ใช้ถุงน้ำร้อนประคบบริเวณสะโพกนาน 15-20 นาที แล้วทำการยืด-หดขา 10-15 ครั้ง ทำ 2-3 ครั้งต่อวัน
    จูงสุนัขเดินนาน 10-20 นาที อย่างน้อย 2 ครั้ง และไม่ควรเกิน 3 ครั้งต่อวัน
    สังเกตการตอบสนองของสุนัขโดยไม่ให้ยา ถ้าสุนัขมีอาการเจ็บบริเวณข้อ ให้ลดกิจกรรมต่างๆ ลง 50% และให้ยาลดปวดก่อนทำการภาพบำบัดประมาณ 30-60 นาที
    พิจารณาประคบเย็นบริเวณข้อสะโพกหลังการทำกิจกรรมเสร็จ

    สัปดาห์ที่ 2-4
    1. ใช้ถุงน้ำร้อนประคบบริเวณสะโพกนาน 15-20 นาที
    2. ยืด-หดขาเหมือนสัปดาห์ที่ 1 และเพิ่มระยะเวลาการเดินให้นานขึ้น
    3. เริ่มให้สุนัขเดินขึ้นและลงในทางลาดชันหรือบันได
    4. เริ่มออกคำสั่งให้สุนัขลุก-นั่ง 2 ครั้งต่อวัน
    5. ให้ว่ายน้ำ 3-5 นาที 3 ครั้งต่อสัปดาห์ และให้เพิ่มระยะเวลา หากสุนัขมีการตอบสนองที่ดีขึ้น

    สัปดาห์ที่ 5-12
    1. ใช้ถุงน้ำร้อนประคบบริเวณสะโพกนาน 15-20 นาที
    2. ยืด-หดขา และจูงเดินเหมือนในสัปดาห์ที่ 2-4
    3. เริ่มให้สุนัขวิ่งเหยาะๆ และเล่นนาน 20-30 นาที 1-2 ครั้งต่อวัน
    4. ให้ว่ายน้ำนาน 10 นาที 3 ครั้งต่อวัน
  • อะไรคือ ปัจจัยเสี่ยง ที่ทำให้เกิดโรคนี้
    พันธุกรรมมีส่วนสำคัญกับโรคนี้ ถ้าพ่อแม่พันธุ์เป็นโรคนี้อยู่ ลูกสุนัขจะมีโอกาสสูงมากที่จะเป็น
    นักวิจัยบางคนคิดว่า พันธุกรรมมีส่วนแค่ 25% ความจริงในเรื่องนี้ยังค่อนข้างคลุมเคลือ แต่ถ้าไม่มีพาหะของโรคสุนัขก็จะไม่เป็นโรคนี้
    เราสามารถลดความเสี่ยงได้ โดยการพิจารณาการผสมพันธุ์ แต่ยังไรก็ตามไม่สามารถลดได้ 100%
    เพราะลูกสุนัขที่เกิดจากพ่อแม่พันธุ์ที่เป็นโรค จะไม่เป็นโรคนี้ครบทุกตัวในครอก แต่จะมีสุนัขบางตัวจากครอกนี้ เป็นพาหะต่อไปยังการผสมครั้งอื่นๆ

    โภชนาการ เป็นอีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยงของโรคนี้ นั่นก็คือ ความอ้วนผิดปกติ เพราะจะทำให้ข้อสะโพกทำงานหนักขึ้น ถือเป็นความเสี่ยงที่สูงมากในการเกิดโรค
    ยังมีการศึกษาถึง ระดับโปรตีนและแคลเซียม ถึงความสัมพันธ์ต่อโรคข้อสะโพก โดยพบว่า
    โอกาสในการเกิดโรคจะสูงขึ้น ถ้ามีปริมาณโปรตีน และแคลเซียมที่มาก
    แต่อย่างไรก็ตามยังไม่มีการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างอาหารสุนัขที่มี โปรตีน ไขมัน และแคลเซียมมากกับอาหารที่มีสารอาหารเหล่านี้อยู่น้อย
    รวมถึงอาหารสำหรับลูกสุนัขทั่วไปกับอาหารสำหรับลูกสุนัขพันธุ์ใหญ่เท่านั้น

    การออกกำลังกาย เป็นอีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยง โดยพบว่าสุนัขที่มีการออกกำลังกายหักโหม มากเกินไปมักจะเป็นโรคนี้ แต่ในทางกลับกันพบว่าสุนัขที่มีกล้ามเนื้อสมบูรณ์จะไม่ค่อยเป็น
    ดังนั้น การออกกำลังกายให้พอเหมาะ เพื่อให้เกิดกล้ามเนื้อ เช่น การเดิน การวิ่งเหยาะๆ หรือการว่ายน้ำ เป็นการออกกำลังกายที่เหมาะสมที่สุด
    ส่วนการออกกำลังกาย ที่มีผลกระทบกระเทือนต่อกระดูกข้อต่อต่างๆนั้น ควรจะหลีกเลี่ยง เช่น การกระโดด หรือการเล่น frisbee เป็นต้น
  • โรคข้อสะโพกสามารถรักษาโดยการใช้ยาได้หรือไม่
    ในช่วงหลายปีมานี้ได้มีการพัฒนาตัวยาสำหรับโรคข้อสะโพกขึ้นมามาก
    แต่สาเหตุของโรคนี้เกิดจากพันธุกรรมเป็นหลักไม่มีตัวยาใดป้องกันการเกิดโรคนี้ได้
    การออกกำลังกายที่เหมาะสม การโภชนาการที่ดี อาหารเสริมต่างๆ หรือยาบรรเทาอาการปวด อาจช่วยแค่ยืดเวลาของการเกิดโรคเท่านั้น
    ความนิยมในการนำยามารักษาเพียงเพราะว่าค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดมีราคาสูงมาก เจ้าของจึงมักเลือกวิธีนี้

    สัตว์แพทย์ส่วนใหญ่จะแนะนำวิธีต่างๆข้างล่างนี้ควบคู่ไปกับการใช้ยาเพื่อลดอาการปวดและไม่เพิ่มความรุนแรงของโรค

    1. การควบคุมน้ำหนัก ควรควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์ที่หมอแนะนำ
    2. การออกกำลังกาย จะช่วยสร้างกล้ามเนื้อและจำกัดการเสื่อมของข้อกระดูกได้ดี การเดิน การว่ายน้ำ การจ๊อกกิ้งเป็นวิธีการที่ดี แต่ควรจะขึ้นอยู่กับอาการของสุนัขแต่ละตัว
    จำไว้ว่าควรออกกำลังกายทุกวัน การออกกำลังกายเพียงอาทิตย์ละหน อาจจะเป็นอันตรายมากกว่าดี ควรปรึกษาหมอสำหรับรูปแบบการออกกำลังกายของสุนัขคุณ
    3. ควรจัดเตรียมที่นอนที่ดีและอบอุ่น อากาศเย็นจะทำให้สุนัขมีอาการที่แย่ลง ควรทำให้สุนัขอบอุ่นเช่น สวมเสื้อให้ หรือ ปรับอุณหภูมิในบ้านให้อบอุ่น ควรจัดหาฟูกนอนที่ดีเพื่อลดแรงกดที่มีต่อข้อกระดูกและยังช่วยให้สุนัขลุกขึ้นได้ง่าย
    4. การนวดและการบำบัดทางกายภาพ คุณหมอสามารถสอนการบำบัดและการนวดเพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดให้คุณได้ จำไว้ว่าสุนัขของคุณกำลังปวด ควรเริ่มนวดอย่างช้าๆนิ่มนวลเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับสุนัขของคุณ
    5. ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมหนักๆในแต่ละวัน เช่น สุนัขพันธุ์ใหญ่ควรหาแท่นวางชามข้าว ชามน้ำให้มีความสูงที่เหมาะสมเพื่อสุนัขไม่ต้องก้มลงไปกิน
    6. การให้อาหารเสริมต่างๆ ปรึกษาคุณหมอถึงอาหารเสริมในการรักษา

    [size=11pt]ป้องกันโรคข้อสะโพกได้อย่างไร[/size]

    มีอยู่สิ่งหนึ่งที่นักวิจัยลงความเห็นร่วมกันนั่นคือ การเลือกหรือการพิจารณาการผสมพันธุ์ที่ดี
    ยังมีอีกหลายข้อมูลที่ยังรอการศึกษาในอนาคต แต่ในขณะนี้เราต้องยึดกับสิ่งที่เรารู้และมั่นใจ
    นั่นคือการ เลือกพ่อแม่พันธุ์ ที่มีข้อสะโพกที่ดีในการผสมพันธุ์
    ถึงแม้จะไม่สามารถรับประกันได้ 100% แต่ก็ลดความเสี่ยงลงไปได้มาก

    รวมถึงผู้ที่กำลังเลือกซื้อลูกสุนัขต้องมีการพิจารณาถึงพ่อแม่พันธุ์ด้วย
  • คุณ Darkoao :063: :063: :063: