ยินดีต้อนรับครับ

ขอแนะนำให้ทุกท่าน สมัครสมาชิก เพื่อป้องกันการแอบอ้างชื่อครับ

Mark Mafia

โลกของพิตบูล
  • บทที่ 3
    โลกของพิตบูล



    มีคนกล่าวถึง พิตบูลที่ทำร้ายคนถึงขั้นพิการ หรือเสียชีวิตบ่อยๆ ผู้เขียนให้ความเห็นว่ามีข้อควรพิจารณา คือ
    ประการแรก: พิตบูลบางตัวถูกฝึกให้เป็นสุนัขใช้งาน (working dog)หรือสุนัขอารักขา (guard dog) โดยตรง
    ประการที่สอง: ไม่เพียงเฉพาะพิตบุลเท่านั้น สุนัขทุกสายพันธุ์มีโอกาสที่จะเกิดลักษณะนิสัยที่บกพร่องได้เท่าๆกัน โดยปกติ พิตบูลจะทำร้ายคนน้อยกว่าสุนัขพันธุ์อื่น เพียงแต่ว่าถ้าหากมันทำร้ายคน จะเกิดอันตรายมากกว่าพันธุ์อื่นๆ เนื่องจากความทรงพลังของมัน แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูและสายเลือดของมันแต่ละตัวด้วย มีรายงานว่า มีสุนัขพันธุ์ปักกิ่งตัวเล็กๆ 3 ตัว รุมกัดเด็กทารกจนตายเหมือนกัน

    ความพร้อมในการ Start ของพิตบูลขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง และพิตบูลแต่ละตัวก็มีความพร้อมในการที่จะ Startไม่เท่ากัน โดยปกติอายุประมาณ 1 ปี แต่มีบางตัวที่เริ่ม Start เมื่อมีอายุ 3-5 ปี แทบไม่น่าเชื่อว่าความเกมส์ของมันไม่ได้ขึ้นอยู่กับอายุที่มันเริ่ม Start ว่าเร็วหรือช้า เพราะมีพิตบูลที่เก่งมากๆหลายตัวที่เริ่ม Start ตอนอายุมาก Dog man บางคนเฝ้ารอมันจนอายุได้ 2 ปี จึงเริ่ม Roll (แปลว่า ทดสอบกัด..ความหมายเดียวกับ เทส) แต่บางคนจะไม่ Roll จนกว่ามันจะมีความพร้อมเต็มที่ พิตบูลอายุน้อยที่มีความก้าวร้าวและพร้อมมากๆ อาจจะพิจารณา Roll เวลาสั้นๆ(3-5 นาที) ก่อนก็ได้ แล้วค่อยสังเกตความพร้อมของมันเรื่อยๆ ในระหว่างการ Roll แต่ละครั้งควรมีระยะเว้นแต่ละครั้งห่างกันอย่างน้อย 1 เดือนเสมอ เพื่อให้บาดแผลที่เกิดจากการ Roll ในแต่ละครั้งหายสนิทก่อน ควรมีการ Roll อีกครั้งโดยใช้เวลาในการ Roll สั้นกว่าเดิมและเมื่อครบเวลาที่เรากำหนด ให้นำคู่ต่อสู้ออกจากมันในขณะที่มันยังอยู่ในสังเวียน แล้วจึงชมเชยมัน เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจ เรียกระยะนี้ว่า ระยะสร้างความเชื่อมั่น

    จากนั้นจึงค่อยๆเพิ่มระยะเวลาในการ Roll ให้มากขึ้น ควรนำคู่ต่อสู้หลากหลายสไตล์และหลายรูปแบบมาทดสอบ จะเป็นการฝึกการเรียนรู้และพัฒนาความสามารถ พัฒนาสไตล์สำหรับตัวมันเอง เรียกระยะนี้ว่า ระยะการเรียนรู้ หลังจากระยะนี้ ขั้นต่อไปจึงเริ่ม GAMETEST ได้ โดยเริ่มเดิมพันที่ถูกๆก่อน มี Dog man บางคนที่ไม่เห็นด้วยกับวิธีนี้ โดยให้ความเห็นว่า ไม่ควร Roll หนักและบ่อยจนเกินไป เพราะผลจะได้ไม่คุ้มเสีย แต่ในความเห็นของผู้เขียน เห็นว่าวิธีนี้สามารถฝึกสุนัขได้ดีและเป็นการสร้างโอกาสและความแข็งแกร่งให้กับสุนัขได้เป็นอย่างดี
  • โลกของพิตบูล (ต่อ)

    MAX COATS : ได้กล่าวถึงข้อเด่นของพิตบูลไว้ว่า
    1. มันฉลาดที่จะเรียนรู้และยอมเชื่อฟังคำสั่ง สามารถปฏิบัติงานที่มอบหมายได้
    2. มันอดทนต่อความเจ็บปวดสำหรับการเล่นที่รุนแรงกับเด็กที่เลี้ยงมัน และในเกมส์ได้
    3. ไม่มีปัญหาโรคทางพันธุกรรม ข้อสะโพกเสื่อม
    4. มันมีความห้าวหาญและไม่ลังเลที่จะโจมตีผู้บุกรุก จึงเป็น Guard dog ได้ดี
    5. ที่สำคัญที่สุดคือความเกมส์ (GAMENESS) ซึ่งความเกมส์ก็คือ ความตั้งใจที่จะสามารถอดทนต่อความเจ็บปวดในเกมส์ โดยที่ไม่ยอมแพ้ซึ่งเป็นที่ปรารถนาของ Dog man ทุกคน สุนัขตัวไหนที่ทิ้งการต่อสู้แม้ว่ามันกำลังจะชนะจะถูกปรับให้แพ้ทันที

    ด้วยคุณสมบัติความเกมส์ของพิตบูลนี้เอง มันจึงเหมาะสำหรับการเป็น Guard และ Defense dog เป็นอย่างยิ่ง มีการปรับปรุงพันธุ์ของพิตบูลบางส่วนโดย AKC คือลดความเกมส์ของมันลง เป็นความสวยงามของรูปร่าง ในขณะที่ยังคงคุณสมบัติ Guard และ Defense dog ไว้บางส่วน จึงเป็นทางเลือกสำหรับผู้เลี้ยงสุนัขที่ไม่ต้องการสุนัขที่มีความเกมส์ โดย AKC ได้ปรับปรุงเป็นสายพันธุ์ AKC STAFFORDSHIRE TERRIER (ไม่ใช่ STAFFORDSHIRE BULL TERRIER )

    มีคนพูดถึง TOSA ของญี่ปุ่นกันมาก TOSA เป็นสุนัขที่มีกำลังมาก รูปร่างสง่าและมีความเกมส์พอสมควร โดยอยู่ในกลุ่ม MASTIFF สืบสายพันธุ์มาจากสุนัขกลุ่ม MOLOSSUS ซึ่งเป็นสายพันธุ์ขนาดใหญ่ เคยเป็นสุนัขที่ใช้ในสงครามสมัยอียิปต์ มันมีความว่องไวคล้ายสุนัขพันธุ์ GREYHOUND

    TOSA เมื่อโตเต็มที่จะมีขนาดน้ำหนัก 90-180 ปอนด์ มีลักษณะคล้าย BULL MASTIFF ของอังกฤษ แต่ริมฝีปากของมันจะบางกว่ามาก การเลี้ยงดู TOSA พิถีพิถันกว่าพิตบูลมาก ต้องมีที่ให้มันอยู่อย่างดี และมีอาหารอย่างดีตามแบบฉบับของญี่ปุ่น การต่อสู้ระหว่างพิตบูลและTOSA ยังไม่มีกฎกติกาที่เป็นที่ยอมรับแน่นอน มีการคาดหมายว่าการต่อสู้ที่เกิดขึ้นระหว่างทั้งสองสายพันธุ์นั้น TOSA มักจะชนะภายใน 15-18 นาที แต่ถ้าเลยช่วงเวลาดังกล่าวแล้วชัยชนะจะเป็นของพิตบูลแทน
    การฝึกสุนัขสำหรับใช้ในการควบคุมสุนัขเบื้องต้น GUARD AND DEFENSE GOG

    ขั้นตอนแรก : ซึ่งสำคัญที่สุดคือการเลือกสุนัข
    ควรเลือกคอกสุนัขที่ประสบความสำเร็จในเกมส์ และเลือกพ่อแม่พันธุ์ที่มีคุณภาพ จากนั้นจึงพิจารณาดังต่อไปนี้คือ
    1. ดูลักษณะอุปนิสัยของพ่อแม่สุนัข และดูปฏิกิริยาของพ่อแม่สุนัขเมื่อเราเดินผ่านมัน โดยมีเจ้าของคอกเดินไปเป็นเพื่อน ควรพิจารณาพ่อแม่สุนัขที่ไม่ก้าวร้าว และเป็นมิตรกับเราขณะเราเดินไปกับเจ้าของคอก (แสดงว่ามันรู้จักแยกแยะว่าเราเป็นผู้บุรุกหรือไม่)
    2. ขออนุญาตเจ้าของคอกว่าเราสามารถเดินไปหาลูกสุนัขด้วยตนเองได้หรือไม่ ลูกสุนัขที่ดีจะมีปฏิกิริยาโต้ตอบอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ คือ เห่าหรือเงยหน้าและกระตือรือร้นที่จะมองและสนใจเรา ไม่ควรเลือกตัวที่วิ่งหนีไปซ่อน เนื่องจากมันแสดงให้เห็นว่าขี้อายหรือขี้ขลาดจนเกินไป
    3. รูปร่างของพ่อและแม่สุนัขควรได้มาตรฐาน ADBA มีสภาพจิตใจที่มั่นคงและไม่ดื้อรั้นมาก
    4. ขนาดของสุนัข : ไม่มีข้อแตกต่างสำหรับการพิจารณา เพียงแต่ว่าข้อดีของการเลี้ยงสุนัขตัวใหญ่นั้นจะเป็นที่น่าเกรงขามต่อผู้ที่ไม่ประสงค์ดีต่อเรามากกว่าสุนัขตัวเล็ก
    5. การเลือกลูกสุนัขจากกลุ่มของมัน ควรเลือกตัวที่กล้าหาญที่สุด คือตัวที่กล้าออกมาจากกลุ่มมากที่สุด หรือนำลูกสุนัขตัวที่หมายตาไว้แล้วนำมันออกมาจากฝูงไปไว้ที่อื่นแล้ววางมันลง ถ้ามันเดินรอบตัวเราและแสดงอาการหวาดกลัวแสดงว่ามันเป็นลูกสุนัขที่ดี
    เมื่อได้ลูกสุนัขที่ต้องการแล้วสิ่งสำคัญที่สุดคือต้อง มีเวลาให้มัน ให้เรียกชื่อและพูดกับมันบ่อยๆแล้วพามันไปทุกที่ที่เราไป เมื่อเราไม่อยู่บ้านควรขังมันให้อยู่ในที่ที่เป็นสัดส่วน จากนั้นเริ่มสอนการเชื่อฟังคำสั่ง เมื่ออายุได้ 6-8 เดือน ( เนื่องจากระยะนี้เป็นระยะที่มันกำลังเรียนรู้การเข้าสังคมได้ดีและยังไม่เริ่ม START ) โดยสอนตามตำราฝึกสุนัข การฝึกสุนัขเบื้องต้น เมื่อมีใครมาเคาะประตูบ้าน ให้เราตะโกนถามผู้มาหา ถ้าลูกสุนัขเห่าให้ชมเชยมันจากนั้นให้นำมันไปอีกห้องหนึ่ง แล้วอนุญาตให้ผู้มาหาเข้ามาในบ้านได้ แล้วจึงนำมันกลับมาพบผู้มาหาอีกครั้งแล้วให้ผู้มาหาลูบตัวมัน ทำซ้ำหลายๆครั้ง และเจ้าของต้องชมเชยสุนัขทุกครั้ง เป็นการสอนให้มันรู้ว่านอกจากบุคคลในบ้านแล้ว ห้ามบุคคลอื่นเข้ามาในบ้าน และประการที่สอง ถ้าเราต้อนรับใครมันก็ต้องยอมรับเขาด้วย

    สุนัขทุกสายพันธุ์มีความแตกต่างของสภาวะจิตใจของแต่ละตัวไม่เท่ากัน พิตบูลหลายตัวที่เป็นแชมเปี้ยน มีความขี้อายอยู่ในตัว แม้ว่า Dog man บางคนรู้สึกว่าความขี้อายเป็นสิ่งที่ไม่พึงปรารถนาก็ตาม ในความเห็นของผู้เขียนไม่รู้สึกว่าเป็นข้อด้อยแต่อย่างใด มีพิตบูลบางตัวที่มักกัดคน( Dog man รุ่นเก่าเรียกว่า Screw ball) ซึ่งเป็นอันตรายมาก ตัวอย่างสายเลือดดังกล่าวเช่น ? BULLYSON? และ ? PIT?GENERAL? โดย Dog man รุ่นเก่าถือว่าสายเลือดที่กัดคนนั้นไม่สามารถบอกได้ว่ามันมีความเกมส์หรือไม่ หรืออาจเป็นพันธุ์ผสม แต่ผู้ขียนไม่เห็นด้วย โดยเชื่อว่าเป็นสิ่งที่พบได้น้อยในพิตบูลส่วนใหญ่ พิตบูลส่วนใหญ่มักจะเป็นมิตรกับคนแต่จะก้าวร้าวกับสุนัขอื่น

    ข้อสรุปของผู้เขียน

    1. มีพิตบูลจำนวนน้อยมากที่กัดคน แต่มี Breeder บางคนไม่สนใจและยัง Breed สายเลือดดังกล่าวอยู่ ผู้เขียนพยายามผลักดันให้เลิก Breed สายเลือด BULLYSON และ PIT-GENERAL
    2. มีพิตบูลจำนวนหนึ่งที่ขี้อายกับคน แต่กับสุนัขมันไม่เคยเกรงกลัวและมักจะมีความเกมส์มากด้วยซิ
    3. พิตบูลส่วนมากที่สุด จะเป็นมิตรกับคน แต่ไม่เป็นมิตรกับสุนัขด้วยกัน

    Credit : นายแพทย์ประสิทธิ์ จ.ขอนแก่น (บทความลงที่ www.hardmouthkennel.com)
  • พิทบูลสายกัด บ้างคนเห็นหมาแสดงความก้าวร้าวกับหมาด้วยกันดีใจว่าหมาตัวเองต้องกัดเก่ง สิ่งนั้นไม่สามารถบอกได้เลย ผิดกับบ้างตัวเห็นหมาเดินผ่านวิ่งไปหลบตัวสั่น ยกตัวอย่าง ( กาแบคแมนสายเพคทิ๊ก ) 16.ก.ก สีน้ำตาลเข้ม เห็นเวทีเปลี่ยนไปจากที่กลัวกับหมาด้วยกันตอนนี้มันไม่ใช่แล้ว.......
    มีอีกหลายๆตัว คนที่เลี้ยงสายกัด ถึงจะเข้าใจ อาการบ่งบอกถึงอะไร
    ( แลกเปลี่ยนความคิดครับ ประสบการณ์หาซื้อไม่ได้ในท้องตลาด )

    ขอบคุณ
  • ช่วยกรุณาแปลความหมายของคำที่มักพบเห็นใช้กันบ่อยๆในพิทบูล ของคำว่า
    1.GAme
    2.Start
    ความเข้าใจในความหมายค่อนข้างสับสนสำหรับในฐานะผู้อ่านทั่วไป
    อยากได้ความหมายที่ชัดเจน เพื่อความเข้าใจในความหมายของบทความที่นำได้ถูกต้องสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
  • http://pitbullzone.com/community/comments.php?DiscussionID=1044
    ความเห็นที่ 12
  • 1. ความ Game ที่ใช้กับพิทบูล อ่านบทความข้างล้างจะเข้าใจลึกซึ่ง

    ความสำคัญของสไตล์การต่อสู้ (แปลจากแม็กกาซีนต่างประเทศ)

    .......โดยปกติแล้วสไตล์การต่อสู้ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ เพราะการแพ้หรือชนะในการแมทช์อาจจะขึ้นอยู่กับสไตล์การต่อสู้หรือจากสาเหตุอื่นก็ได้ จริงอยู่ที่ด็อกแมนส่วนใหญ่ชอบสไตล์โจมตีที่จมูกและหูแต่สไตล์อื่นๆก็สามารถประสบชัยชนะได้เช่นกัน เหตุผลก็คือการต่อสู้ในเกมส์นั้นจะมี 2 ระยะคือ ระยะเริ่มต้น(Hammer-and-tong) ซึ่งเป็นระยะที่สุนัขพุ่งเข้าต่อสู้กันอย่างรุนแรงหลังจากนั้นก็จะเข้าสู่ระยะผ่อนลง(Slowdown) ระยะนี้เป็นระยะที่ใช้ทดสอบความเกมส์ของสุนัขเป็นอย่างดีเนื่องจากเป็นระยะที่สุนัขทั้งสองฝ่ายเหนื่อยล้าจากระยะเริ่มต้นมาแล้ว มีสุนัขบางตัวยอมแพ้ในระยะนี้เมื่อตอนกลับมาทำแสคชอีกครั้ง ด้วยเหตุนี้สไตล์การต่อสู้อย่างเดียวจึงไม่ใช่ประเด็นสำคัญที่มีผลต่อการแข่งขัน

    ........อย่างไรก็ตามมีสุนัขบางตัวที่ด็อกแมนขนานนามมันว่า ยอดสุนัข(aces dog) สุนัขเหล่านี้มีความสามารถเหนือสุนัขทั่วๆไป มันสามารถปราบตัวอื่นได้อย่างรวดเร็วโดยก่อนที่จะถึงระยะผ่อนลง(Slowdown)โดยตัวมันเองแทบจะไม่เจ็บตัวเลยด้วยซ้ำ(น็อคคู่ต่อสู้อย่างรวดเร็ว) ด็อกแมนมีความเห็นว่าแม้ยอดสุนัขพวกนี้จะมีทักษะที่ดีเลิศ แต่ถ้าพบกับเกมส์ที่ยากและยืดเยื้อผลลัพท์ออกมาจะเป็นอย่างไร เพราะโอกาสที่มันจะเจอกับคู่ต่อสู้ที่มีฝีมือทัดเทียมกันนั้นหาได้ยากยิ่ง ดังนั้นความเกมส์ของพวกมันจึงยังเป็นที่น่ากังขาอยู่เช่นกัน ด็อกแมนที่มีประสบการณ์ให้ความสำคัญกับความเกมส์มากกว่าสิ่งอื่น เพราะเป็นสิ่งที่แสดงลักษณะที่สำคัญที่สุดสำหรับสุนัขสายพันธุ์นี้ ไม่มีอะไรที่จะเร้าใจและตื่นเต้นมากไปกว่า
    เกมส์ที่จะต้องต่อสู้กับคู่ต่อสู้อย่างดุเดือดจนกระทั่งเกมส์ดำเนินไปถึงระยะผ่อนลง(Slowdown)และในที่สุดก็จะมีการแพ้ชนะกันเกิดขึ้น ในยอดสุนัขบางตัวมีสไตล์การต่อสู้ที่หลากหลาย พวกมันมีความแข็งแรง ว่องไว และสามารถใช้สไตล์การต่อสู้ต่างๆนี้ได้ตามที่มันต้องการ

    ....... ด็อกแมนส่วนมากชอบสุนัขที่กัดบริเวณหัวคู่ต่อสู้ โดยเฉพาะจมูกหรือใบหู ซึ่งถ้ามันสามารถกัดและประชิดคู่ต่อสู้ได้ ก็จะมีข้อได้เปรียบคือ แม้ว่ามันเองอาจจะไม่ใช่สุนัขปากหนักแต่มันก็สามารถควบคุมเกมส์และทำให้คู่ต่อสู้เหนื่อยล้าได้ทั้งยังเป็นการป้องกันตัวมันเองจากความบอบช้ำอีกด้วย ยิ่งมันสร้างความรำคาญให้คู่ต่อสู้มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งจะทำให้คู่ต่อสู้เหน็ดเหนื่อยมากขึ้นเท่านั้น มันเหมือนผู้เชี่ยวชาญในการต่อสู้ที่สามารถใช้พละกำลังของคู่ต่อสู้มาใช้ให้เป็นประโยชน์กับตัวมันเองได้ แม้ด็อกแมนส่วนใหญ่จะชื่นชอบสไตล์การกัดที่หูและจมูก แต่ก็มีจำนวนไม่น้อยที่นิยมการกัดที่หนักหน่วงบริเวณหน้าอกและหัวไหล่ บางครั้งนอกจากกัดโดยตรงแล้วยังมีการหลอกล่อคู่ต่อสู้อีกด้วย แต่โดยมากแล้วสไตล์นี้มักจะกัดที่อกของคู่ต่อสู้อย่างรุนแรง สะบัดกระชากจนคู่ต่อสู้ลอยขึ้นและเสียการทรงตัวในที่สุด สุนัขสไตล์นี้ต้องมีพลังการกัดที่หนักหน่วงรุนแรงและต้องมีความทนทานมาก เพราะถ้ามันไม่สามารถพิชิตคู่ต่อสู้ได้อย่างรวดเร็ว ตัวมันเองก็มีโอกาสถูกคู่ต่อสู้เก็บได้เช่นกัน สำหรับสุนัขสไตล์กัดที่ขานั้น ถ้าจะให้มีประสิทธิภาพในการกัด เมื่อกัดแล้วจะต้องสะบัดอย่างแรงเพื่อให้คู่ต่อสู้เสียการทรงตัว แต่ตัวมันเองก็มีโอกาสที่จะถูกคู่ต่อสู้กัดเข้าที่บริเวณจมูกได้เหมือนกัน มียุทธวิธีบางอย่างสำหรับสุนัขที่มีสไตล์กัดขา ไม่ว่าจะกัดที่ขาหน้าหรือขาหลังก็ตามคือ

    1. ตัวมันเองจะต้องคอยโยกตัวหลบหลังคู่ต่อสู้อย่างรวดเร็วตลอดเวลา เพื่อไม่คู่ต่อสู้กัดที่จมูกมันได้
    2. ตำแหน่งที่กัดที่ขานั้น ต้องมุดตัวลงไปกัดให้ต่ำโดยเน้นตำแหน่งใกล้เท้าของคู่ต่อสู้เพื่อว่ามันจะไม่ถูกคู่ต่อสู้กัดที่บริเวณจมูกและไม่ถูกคู่ต่อสู้ยึดมันไว้ได้และการกัดนั้นจะต้องดันตัวมันเองไปอยู่ที่ตำแหน่งขาหลังของคู่ต่อสู้เพื่อให้พ้นคมเขี้ยวและทำให้คู่ต่อสู้เสียหลัก
  • ...... โดยปกติสุนัขสไตล์กัดที่ขาคู่ต่อสู้นั้นจะต้องใช้แรงและกำลังมากและมักจะต้องลุงทุนแลกชัยชนะของมันมาด้วยความเจ็บปวด เช่นเดียวกับสุนัขสไตล์กัดที่หน้าอก-หัวไหล่
    สุนัขสไตล์กัดขาหลัง( rear-leg dog )ส่วนใหญ่จะมีหลายสไตล์ในการเข้ากัดที่ขาหลังคู่ต่อสู้ โดยปกติมันมักจะเข้ากัดจากทางด้านหน้าคู่ต่อสู้ หรือบางครั้งอาจอ้อมด้านหลังคู่ต่อสู้มากัดที่ขาหลังก็ได้ บางตัวกัดที่อุ้งเชิงกรานคู่ต่อสู้ ปัญหาสำหรับสุนัขสไตล์นี้คือถ้ามันไม่มีความคล่องแคล่ว มันอาจถูกคู่ต่อสู้โจมตีอย่างรุนแรงได้ หรืออาจถูกจับฟาวล์ได้ถ้ากัดถูกอวัยวะเพศฝ่ายตรงข้าม ถึงแม้ว่ามันจะเป็นอุบัติเหตุก็ตาม ดังที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดเบื้องต้น สุนัขสไตล์นี้สามารถต่อสู้และยับยั้งสไตล์การกัดที่จมูกและใบหูได้เป็นอย่างดี
    มีสุนัขบางสไตล์ที่พบค่อนข้างน้อยคือ สุนัขที่คู่ต่อสู้ไม่สามารถทำลายมันได้(Indestructible style) สุนัขสไตล์นี้มักจะเป็นผู้พิชิตเสมอโดยที่ตัวมันเองแทบจะไม่มีรอยบอบช้ำเลย บางครั้งสุนัขสไตล์นี้ดูเหมือนมันจะระมัดระวังตัวอย่างดีในช่วงแรกของการต่อสู้จนกระทั่งครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมงผ่านไป เมื่อคู่ต่อสู้ของมันเริ่มอ่อนล้า มันก็จะโรมรันเข้าใส่และเผด็จศึกคู่ต่อสู้ทันที สุนัขสไตล์นี้ไม่จำเป็นต้องมีการกัดที่หนักหน่วงแต่มันต้องมีความทรหด อดทนและมีความเกมส์มาก สิ่งที่พึงมีในสไตล์นี้คือ มันต้องมีความแข็งแกร่งเกินตัว มันไม่จำเป็นต้องมีสไตล์ที่แน่นอน แต่มันต้องมีความแข็งแกร่งอดทน บางตัวสามารถกัดที่หลังของคู่ต่อสู้แล้วจับทุ่มลงกับพื้นได้ หรือบางตัวสามารถจับคู่ต่อสู้ที่มีขนาดเท่ากันหรือใหญ่กว่ามันให้ลอยขึ้นจากพื้นและจับโยนไปโยนมาได้เหมือนโยนตุ๊กตาเด็กเล่น

    สไตล์การต่อสู้ดังที่กล่าวมาแล้วมีหลากหลายสไตล์ ถึงแม้จะมีการสอนสุนัขเกี่ยวกับสไตล์การต่อสู้ เทคนิคในการโรล(เทส)ก็ตาม แต่ปัจจัยที่มีผลโดยตรงต่อสไตล์การต่อสู้ก็คือ ปัจจัยทางพันธุกรรมของสุนัข(สายเลือด บางครั้งสุนัขบางตัวก็มีคุณสมบัติพร้อมทุกประการสำหรับเกมส์คือ มีความทรหด ทนทาน กัดหนักหน่วง เฉลียวฉลาดในเกมส์ ประยุกต์การต่อสู้ได้เอง รู้จุดอ่อนในการเข้าโจมตี สุนัขดังกล่าวนี้คือสุดยอดสุนัขที่พบได้น้อยมากที่สุด

    ถ้าให้ผู้แต่งเลือกสไตล์สุนัข ผู้แต่งจะเลือกสไตล์กัดที่จมูกและใบหู แต่ก็มีปัจจัยอื่นที่มีผลในการพิจารณาร่วมเช่น ความเกมส์ ความทนทาน ทรหดอดทน

    ** สุนัขเก่งสามารถมีสไตล์การต่อสู้ได้หลากหลายสไตล์ แต่สุนัขชั้นยอดจะสามารถสู้กับสุนัขอื่นได้ทุกสไตล์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเฉลียวฉลาดของสุนัข สรุปแล้วความเฉลียวฉลาดของสุนัขต่อเกมส์มีความสำคัญเหนือสไตล์อย่างแน่นอน(เพราะความฉลาดของสุนัขต่อเกมส์ทำให้มันสามารถชนะสุนัขได้ทุกสไตล์)

    แปลและเรียบเรียงโดย LPBBP (18 เม.ย.2552)
    นำมาจาก บทความพิเศษในเวป http://www.hardmouthkennel.com/
  • 2. Start หมายความว่าการที่ตัวสุนัขพิตบูลแต่ละตัวจะช้าหรือจะเร็ว มันพบสัญชาติญาณนักฆ่าในตัวของมันเอง คือพร้อมที่จะฆ่าสุนัขทุกตัวที่อยู่ตรงหน้ามัน