ยินดีต้อนรับครับ

ขอแนะนำให้ทุกท่าน สมัครสมาชิก เพื่อป้องกันการแอบอ้างชื่อครับ

Mark Mafia

สอบถามท่านผู้รู้เกี่ยวกับโรคผิวหนังของน้องหมาน่อยค่ะ
  • เจ้าดินสอมีอาการขนร่วงบริเวณหน้าผากด้านซ้าย เริ่มจากเล็กน้อย แล้วเริ่มขยายใหญ่ขึ้น พาไปหาหมอเขาบอกว่าเป็นขี้เรื้อน ตกใจมากค่ะ เราดูแลเขาเป็นอย่างดี (เต็มความสามารถ) แต่ยังเกิดขึ้นได้อีก หมอฉีดยาไป 1 เข็ม ให้ยามากินอีก 3 อย่าง แล้วบอกว่าต้องไปฉีดอีกทุกอาทิตย์จนครบ 5 เข็ม ไม่ทราบว่ามีทางอื่นที่จะรักษาไมคะ เพราะตามที่หนูพาเขาไปหาหมอก่อนหน้านี้แล้ว ก็มักจะไดเข้าไปหาอีกเรื่อยๆ
  • ตามสูตร กำมะถัน น้ำมันมะพร้าว ผงไพร ผงขมิ้น คนให้เข้ากัน ทาเช้าเย็นหายชัวครับเจอมากับตัว
  • ส่วนใหญ่พิทบูลจะเจอปัญหานี้กันเยอะน๊ะค๊ะ ถ้าใครไม่เจอคงแปลก จีจ้าที่บ้านก็เคยเป็นค่ะ ..เริ่มจากขนร่วงเป็นวงเล็กๆ พาไปหาหมอ
    หอมบอกว่าเป็นไรใต้ผิวหนัง ก็ฉีดยา 1 เข็ม จ่ายยาแก้คัน มาให้เพื่อจะให้ไม่เกา ก้หายไป ....วันดีคืนดี...เป็นตุ่มนูนๆตามตัว หมอยอกว่าเป็นไรเปียก..ก็ฉีดยา ให้ยาแก้คันและยาแก้อักเสบ ก็ดีขึ้น แต่ตอนนี้ฉีดยาแก้ปรสิตที่ผิวหนังเองเลยเดือนละ 1 เข็ม ถ้าเลย 1 เดือน ก็เริ่มจะออกตุ่มอีกแล้ว..ให้กำลังใจน๊ะค๊ะ...อย่าเครียด...ตอนนี้จีจ้า เกือบ 3 ขวบแล้ว
  • หมาดิฉันก็เคยเป็นเรื้อนเปียก ตอนนั้น1 ขวบกว่าๆ งง มากๆ เหมือนกัน
    ขูดผิวตรวจ กินยา1เดือน ไม่ต้องฉีดยา หลังอาบน้ำควรช้ไดรเป่าตัวให้แห้ง อย่าปล่อยให้ผิวหนังชื้นนานๆ
    เพราะผิวหมาแต่ละตัวแข็งแรงบอบบางไม่เท่ากัน
    คุณหมอบอกว่า มีเรื้อนแห้ง เรื้อนเปียก ถ้าแบบแห้งรักษานานกว่า
    และติดคนได้ อย่าเพิ่งตกใจค่ะ กินยาให้ครบตามโดสให้ครบตรงเวลา
    ขอให้ลูกหายเร็วๆ
  • เวลาอาบน้ำเจ้าพวกผิวอ่อนแอ ระวังอย่าถูย้อนขน อย่าถูแรง
    ที่บ้านมีบลูเทอรเรียอยู่ ตัว อาบน้ำย้อนขน ตุ่มขึ้น ตอนแรกก็ไม่รู้ว่าเกิดจาก
    อะไร หาหมอเป็นนาน ตอนหลังเปลียนวิธีอาบ จากนั้นก็ไม่มีตุ่มเลย ค่ะ
  • ก็ลองใช้สูตรอย่างที่คุณ rutlovepit บอก ถ้าไม่เข้าใจโทร 0879205639
  • อาบน้ำพิทบลู
    พยายาม ล้างน้ำเปล่าให้นานๆ มากที่สุดครับ
    เรื่องนี้ ผม ประสพปัญหามาเหมือนกัน
    คล้ายๆ เราล้างสิ่งตกค้างพวกแชมพู หรือ สารเคมีออกไม่หมด
    ผิวหนัง อันบอบบาง เค้าก้จะเริ่ม เป็นตุ่ม เม็ด บวมขึ้นมา และ หมา ก้เริ่มเกา
    ยิ่งเกา มันก็ยิ่งมัน จนเริ่ม กลายเป็นขี้เรื้อน แบบต่างๆ

    สูตรสมุนไฟรแบบชาวบ้านก็ ดี แต่ทนกลิ่น กับความเลอะเทอะ นิดนึง เดี๋ยวก็ หาย
    ยาฉีดเยอะก้ ไม่ดี อันตรายต่อ ตับในระยะยาว เมื่อสุนัขสูงวัย ขึ้น
  • ของผมนี่ก็ตุ่มขึ้นมาเดือนกว่าดีขึ้นบ้างกลับมาเป็นบ้าง

    แต่ของผมยังไม่ถึงกับเป็น ขี้เลื้อน ^^ แค่เป็นตุ่มเฉยๆ

    ยังหาสาเหตุไม่ได้เช่นกันว่าเพราะอะไร แต่เท่าที่ดูน่าจะเป็นไปนอนทับที่แฉะๆ

    แล้วก็นอนทับน้ำลายตัวเอง ชอบเลียพื้นแล้วไปนอนทับ ทำให้เกิดการหมักหมม

    เพราะว่าตอนนี้พยายามไม่ให้ไปนอนที่ ที่มีสารเคมี เช่น น้ำยาถูพื้น แล้วก็หมั่นเช็ดให้แห้งไว้ตลอด

    อาบน้ำเสร็จหาแป้งทา ทายาม่วง ทำมานานเหมืนอกันยังหายขาด แต่ก็ดีขึ้นดีกว่าไม่ทำอะไรเลย ^^
  • โรคผิวหนังสุนัข


    การตรวจวินิจฉัยโรคผิวหนัง

    เช่นเดียวกับหลักการตรวจวินิจฉัยโรคทั่วไป กล่าวคือ จะต้องจัดระดับประกอบด้วยขั้นตอนสำคัญต่อไปนี้ คือ

    • การตรวจบันทึกประวัติ

    • การตรวจร่างกาย

    • Differential diagnosis

    • การตรวจในห้องปฏิบัติการเพื่อ Rule-in Rule-out ปัญหา

    • ได้ข้อวินิจฉัยอาจเพียงขั้นตอน (Tentative diagnosis) หรือโดยสรุปสุดท้าย (Definitive diagnosis)

    • แล้วจึงทำแผนการรักษาให้คำแนะนำแก่เจ้าของสัตว์และพยากรณ์โรคต่อไป ในแต่ละขั้นตอนดังกล่าว สัตวแพทย์จะต้องมีแนวทางในการปฏิบัติและพยายามให้ได้ ข้อมูลที่มีประโยชน์ให้มากที่สุดเพื่อมาประกอบการวินิจฉัยโรค

    • การตรวจร่างกาย สัตวแพทย์จะต้องรู้จักสภาพปกติของผิวหนังทั้งการดูด้วยตาเปล่าและสภาพทางฮีลโต เมื่อพิจารณาภาพของชั้นต่าง ๆ ที่ผิวหนังแล้ว จะเห็นได้ว่าส่วนของ Epidermis จะค่อนข้างบางประกอบด้วยชั้นย่อยต่าง ๆ 5 ชั้น โดยส่วนล่างสุดเรียกว่า Stratum basale ซึ่งจะมีการสร้างเซลใหม่เพิ่มจำนวนตลอดเวลา เคลื่อนตัวมาที่ผิวด้านนอกจนกลายเป็น Stratum corneum ซึ่งเป็นชั้นนอกสุดและลอกหลุดออกไป โดยปกติอัตราการสร้างเซลใหม่และอัตราที่ลอกหลุดจะเป็นไปตามสัดส่วนที่เท่ากัน แต่ถ้าเมื่อใดขาดความสมดุลย์ก็จะทำให้เกิดความผิดปกติที่ผิวหนังขึ้น นอกจากนี้ตำแหน่งการเกิดโรคที่ชั้นลึกหรือตื้นของผิว หนังยังอาจช่วยบ่งชี้ความยากง่ายในการรักษาได้ วิการที่ผิวหนังของสุนัขที่เป็นโรคมีหลายแบบโดยมีชื่อเรียกเฉพาะเพื่อเข้าใจง่าย อย่างไรก็ตามสัตวแพทย์จะต้องแยกให้ออกว่า วิการที่ตรวจพบนั้นเป็น Primary หรือ Secondary lesion • Primary lesion เป็นวิการที่เป็นสาเหตุเดิมของโรค เช่น Macule หรือ Patch คือการที่สีของผิวหนังเปลี่ยนไป มักเกี่ยวข้องกับโรคเกี่ยวกับฮอร์โมน หรือมีเม็ดสีมากหรือน้อย เกินไป Papule หรือ Plaque คือการมี inflammatory cell เข้าไปแทรกมักเกิดจากโรคเกี่ยวกับปรสิต เช่น Demodicosis หรือ Sarcoptic mange Vesicle หรือ Bulla คือวิการที่มีลักษณะผิวหนังพองมีของเหลวสีฟางข้าวภาย ใน มักเกี่ยวข้องกับโรคเกี่ยวกับไวรัส Autoimmune disease หรือระคายเคืองเรื้อรัง ส่วน Pustule จะคล้าย Vesicle แต่น้ำภายในมีลักษณะเป็นหนอง ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับโรคติดเชื้อแบคทีเรีย
    • Secondary lesion คือวิการที่มีการเปลี่ยนสภาพไปแล้ว เช่น Scale Crust Ulcer Excoriation Lichenification Hyperpigmentation Hyperkeratosis ฯลฯ
  • เวชภัณฑ์ที่มักใช้รักษาโรคผิวหนัง

    • ไอเวอร์เมคติน ให้ผลดีในการรักษาขี้เรื้อน Sarcoptes และไรในช่องหู Otodectesส่วนการรักษาขี้เรื้อน Demodex โดยวิธีการฉีดสัปดาห์ละ 1 ครั้งนาน 6 สัปดาห์ ยังไม่มีข้อมูลยืนยันผลเพียงพอ แต่การให้กินขนาด 600 ไมโครกรัม/กก. ทุกวันนาน 6 สัปดาห์สามารถรักษา ขี้เรื้อน Demodex ได้ อย่างไรก็ตามยานี้ให้ผลในการขจัดพยาธิตัวกลมหลายชนิด และเห็บ ซึ่งจะช่วยให้สภาพของสุนัขดีขึ้น แต่ให้ผลน้อยในการขจัดหมัด ห้ามใช้กับสุนัขพันธุ์คอลลี่รวมทั้ง Old English Sheepdog สำหรับขนาด 6 ไมโครกรัม/กก. ใช้ป้องกันพยาธิหัวใจในสุนัขอายุ 6 สัปดาห์ขึ้นไป โดยให้กินทุก 1 เดือน แต่ถ้าให้กินในขนาด 50 ไมโครกรัม/กก. ป้องกันได้ 2 เดือน ระวังการฉีดขนาด 200 ไมโครกรัม/กก. ในสุนัขที่มี Microfilaria จำนวนมากอาจทำให้เกิดอาการแพ้ และพึงระลึกเสมอว่าผู้ผลิตไม่ได้แนะนำให้ใช้ยานี้สำหรับฉีดกับสุนัข

    • อะมิทราส (Amitraz) มีขายในท้องตลาดในชื่อการค้าต่าง ๆ ในความเข้มข้น 12.5% และ 19.9% ได้ผลในการรักษาดีโมเดกซ์ โดยใช้ 250-1000 พีพีเอ็ม เช็ดผิวหนังทุก 1-2 สัปดาห์ นาน 6-8 สัปดาห์ ขนาดเข้มข้น 12.5% 1 ส่วนผสมน้ำ 250 ส่วน จะให้ความเข้มข้น 500 พีพีเอ็ม แต่ถ้าใช้ขนาด 19.9% จะต้องละลาย 1: 400 ยานี้ให้ผลดีในการขจัดเห็บ แต่สำหรับหมัดได้ผลน้อย หลังจากชะโลมตัวแล้วควรเช็ดยาที่เปียกโชกที่ขนให้แห้ง ถ้าสัตว์แพ้ยาไม่มียาแก้ที่ให้ผลโดยตรง ยานี้ให้ผลดีในการรักษาขี้เรื้อนซาคอพติค

    • ยาขจัดเชื้อรา ยาขจัดเชื้อรามีหลายรูปแบบ อาจเป็นแบบครีมทาเฉพาะแห่ง เช่น คีโตโคนาโซลครีม ไมโคนาโซลครีม คลอไตรมาโซลครีม แบบชมพูสระอาจใช้คีโตโคนาโซลแชมพูหรือชนิดชะโลม เช่น Lime sulfur หรืออาจในรูปกินนิยมคีโตโคนาโซล และกรีสโซฟุลวิน แต่กรีสโซฟุลวินไม่ค่อยให้ผลในการขจัด Malassezia หรือให้กิน Lufenuron

    • ยาขจัดแบคทีเรีย ประมาณ 90% ของการติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนังสุนัขเกิดจาก Staphylococcus intermedius ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่สร้างเอ็นไซม์เพนนิซิลินเนส ดังนั้นการเลือกยาปฏิชีวนะมารักษาโรคผิวหนังที่ติดเชื้อแบคทีเรียจึงต้องเลือกที่ทนทานต่อเอนไซม์นี้ ซึ่งได้แก่ อ๊อกซาซิลลิน อีริโธรมัยซิน เซฟาเลกซิน เซฟาดร๊อกซิน ลินโคมัยซิน ไตรเมทโธพริมซัลฟา แอมม๊อกซีซิลลินคลาวูลาเนท เอนโรฟลอกซาซิน คลินดามัยซิน ส่วนจะเลือกใช้ยาตัวใดขึ้นต่อความเหมาะสมและพิจารณญาณของสัตวแพทย์ ส่วนยาอื่น เช่น เพนนิซิลลิน แอมม๊อกซีซิลลิน แอมพิซิลลิน ไม่ได้ผลในการรักษา

    • ยาลดอาการคัน หลักในการรักษาโรคผิวหนังส่วนหนึ่งคือการใช้ยาช่วยลด อาการคัน ซึ่งมี 3 กลุ่มที่ให้ผลในการลดอาการคัน ได้แก่

    กลุ่มสเตียรอยด์ ที่นิยมได้แก่ เพรดนิโซโลน แต่ต้องระวังผลข้างเคียง เช่น กดภูมิหรือทำให้บวมน้ำ ซึ่งสุนัขแต่ละตัวจะตอบสนองแตกต่างกัน อย่างไรก็ตามสัตวแพทย์อาจหลีกเลี่ยงปัญหาดังกล่าวได้ โดยให้ 0.5 มก./กก. ทุกวัน นาน 10 วัน แล้วเพิ่มยาเป็น 1 มก./กก. วันเว้นวันนาน 10 วัน แล้วลดยาลงเป็น 0.5 มก./กก. วันเว้นวันนาน 10 วัน แล้วให้ปรับขนาดยาลงให้มากที่สุดเท่าที่จะควบคุมอาการคันได้

    ยาในกลุ่มที่ 2 ได้แก่ยาในกลุ่ม แอนติฮีสตามีน ที่นิยมได้แก่ Hydroxyzine Astemisole Clemastine Diphenhydramine ซึ่งสุนัข แต่ละตัวจะตอบสนองต่อยาแต่ละชนิดไม่เหมือนกัน

    ส่วนกลุ่มที่ 3 ได้แก่ กรดไขมันพวกโอเมก้า 3 และโอเมก้า 6 อย่างไรก็ตามสุนัขแต่ละตัวจะตอบสนองต่อยาในแต่ละกลุ่มไม่เท่ากัน ดังนี้สัตวแพทย์ต้องพิจารณาเลือกใช้ยาเป็นกรณี ๆ ไปหรืออาจต้องใช้ยามากกว่า 1 ชนิด ในการควบคุมอาการคันก็ได้

    • ยากระตุ้นภูมิคุ้มกัน โรคผิวหนังบางชนิดรักษาหายขาดยาก ทั้งนี้เพราะภูมิต้านทานของร่างกายไม่ดีพอ บางคนแนะนำให้ใช้แบคเทอริน เช่น Staphoid-AB® Staphage Lysate® ช่วยในการรักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนังร่วมกั บยาปฏิชีวนะ รวมทั้งเลวาไมโซล ไธอาเบนดาโซล และไซเมทิดีน

    • ยากดภูมิคุ้มกันโรคผิวหนังบางชนิด เช่น Autoimmune skin diseases แบบต่าง ๆ เกิดจากร่างกายมีแอนติบอดีมากเกินไป ทำให้เกิดอาการแบบต่าง ๆ ที่ผิวหนัง กรณีแบบนี้เราต้องใช้ยากดภูมิในการรักษา ที่นิยมได้แก่ สเตียรอยด์ เช่น เพรดนิโซโลน Azathioprine Chlorambucil Aurothioglucose (Gold therapy)

    • แชมพูสำหรับโรคผิวหนัง แชมพูยานี้ที่ใช้ในการรักษาโรคผิวหนังสุนัข มักมีคุณสมบัติ 4-5 ประการสำคัญคือ Keraoplastic Keratolytic Degreasing Antimicrobial activity Antipruritic สำหรับตัวยาที่เป็นส่วนสำคัญในแชมพูสำหรับโรคผิวหนัง มักเป็นตัวใดตัวหนึ่งหรือร่วมกันไปนี้ คือ Ethyl lactate Benzoyl peroxide Tar Sulfur Salicylic acid Selenium sulfide หรือ Selenium disulfide ซึ่งตัวยาแต่ละตัวที่กล่าวมานี้มักมีคุณสมบัติข้างต้ นแตกต่างกันมากบ้างน้อยบ้าง เช่น บางตัวมีคุณสมบัติ Degreasing สูงก็ควรเลือกใช้กับสุนัขที่มีไขมันที่ผิวหนังมาก แต่ไม่ควรใช้กับสุนัขที่ผิวแห้งเป็นต้น ซึ่งสัตวแพทย์จะต้องใช้พิจารณญาณให้เหมาะสมเป็นกรณีไป

    จากหนังสือโรคผิวหนังสุนัขที่สำคัญและวิธีจัดการในคลินิก โดย ณรงค์ กิจพาณิชย์
  • หมาผมก็เป็นแต่ไม่เยอะ เดี๋ยวผมลองทุกวิธีเลย มันจะได้หายซะที
    (อายหมาวัดบ้างตัวคนสวยกว่าพิตบูลผมซะอีก)
  • พยายามทำให้ตุ่มนั้นแห้ง ตกสะเก็ดให้เร็วที่สุด ผิวที่เป็นตุ่ม
    หมายถึงผิวที่กำลังอักเสบและอ่อนแอที่สุด พอมีเชื้อโรค
    เชื้อรา เชื้อต่างๆก็จะเข้าสู่ผิวโดยง่าย อย่างบลูเทอรเรียที่
    เลี้ยงไว้ พอเป็นตุ่มก็คิดว่าไม่นานคงจะหายเอง ไม่ใช่อย่าง
    ที่คิดค่ะ เป็นเชื้อราเลย คราวนั้นรักษาอีก2เดือน สงสารหมา
    น้ำตาไหล มันเอาเกาๆก็ไม่ถึงเพราะขามันสั้น เดินเอาตัวถู
    ผนังกำแพง กลิ้งไปมา ทั้งเลือดทั้งหนอง นี่ยังไม่ร่วมกลิ่น
    ตอนเป็นราจะมีกลิ่นด้วยค่ะ
    ส่วนยาที่ได้จากการรักษาผิวตุ่มหนอง ก็ได้จดไว้ หาซื้อได้
    ตามร้านขายยาคน อ่ะค่ะ
  • เข้าใจว่าที่คุณหมอนัดฉีดยาอาทิตย์จนครบ 5 เข็ม ตัวยาที่ฉีดเป็น "ไอเวอร์เมค" เป็นเรื้อนเปียกครับ ถึงต้องใช้เวลาหน่อย
    ใช้วิธีรักษาตามนั้นครับ ไม่ต้องไปคิดมากครับ เลี้ยงดีขนาดไหนก็เป็นได้ครับ

    ส่วนยาที่คุณหมอให้ทาน ผมเข้าใจว่าเป็นยาลดอาการขัน เเละเป็นยาบำรุงขนอะไรประมาณนี้
    ให้ดีขอชื้อตัวยาหน่อยจะดีมากครับ

    ฉีดยาให้ครบตามที่คุณหมอนัดนะครับดีเเล้ว ไม่ต้องไปเอาอะไรมาทาให้มันหายหลอก

    จากประสบการณ์ครับ โชคดีครับ
  • เมื่อวานเพิ่งได้เวลาพากิมจิไปหาหมอ
    หมอบอกว่าไม่ต้องห่วง พันธ์นี้เป็นทุกตัว ไม่ว่าจะเลี้ยงดี หรือซื้อมาแพงแค่ไหน ตามพันธุกรรมมันแล้ว ไม่เป็นโรคผิวหนังอะแปลก
    หมอขอถ่ายรูปด้วย จะได้ไปลงในเวป ว่าที่จริงแล้วเป็นแบบนี้เขาไม่ได้เรียกขี้เรื้อน แต่เป็นแค่โรคผิวหนังทางพันธุกรรม
    แต่ของเราหมอบอกมันเป็นเยอะ คือมันเป็นทั้งตัว แต่ยังดีที่มันไม่ักัดจนเป็นแผล หมอเลยให้ยามากิน 14 วัน แล้วให้กลับไปดูอาการอีกที
    ที่พาไปเพราะสงสารมัน ขนาดเราน้ำกัดเท้าเป็นแค่นิ้วโป้ง นิ้วเดียว เวลาคันขึ้นมายังแทบอยากหาอะไรมาเกา บางทีเกาจนได้เลือด แล้วนี่มันเป็นทั้งตัว ลูบขนมันที มันก็ขนลุกที สงสารมันจัง เมื่อวานกินยาแล้วก็ค่อยยังชั่ว