โรคไข้หัดสุนัขหรือดิสเทมเปอร์ (Canine Distemper)
พบมากในสุนัขแรกเกิดถึงอายุ 2 - 3 เดือน เกิดจากเชื้อไวรัส Paramyxoviridae
อาการ
หายใจลำบาก และมีอาการปอดบวม เบื่ออาหาร ซึม มีไข้ มีน้ำมูกสีเขียว มีขี้ตาสีเขียว มีตุ่มเกิดขึ้นใต้ท้องถ้าสุนัขทนอยู่ได้นาน จะแสดงอาการฝ่าเท้าแข็งและมีอาการทางระบบประสาท ริมฝีปากสั่น ชักกระตุก เป็นอัมพาต อาจมีอาการท้องเสียด้วย และตายในที่สุด ระยะเวลาตั้งแต่ได้รับเชื้อจนเริ่มแสดงอาการไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของสุนัขแต่ละตัว
การติดต่อ
ทางระบบการหายใจ และการสัมผัสกับสิ่งขับถ่าย เช่น อาหารที่ติดเชื้อ น้ำมูก ขี้ตา น้ำลาย ปัสสาวะ อุจจาระ
การรักษา
ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยประสบความสำเร็จ การทำวัคซีนจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด
การป้องกัน
ฉีดวัคซีนตั้งแต่อายุ 2 เดือน ฉีดซ้ำครั้งที่ 2 หลังจากครั้งแรก 2 อาทิตย์ถึง 1 เดือน และฉีดซ้ำทุกๆปี ปีละครั้ง
โรคลำไส้อักเสบติดต่อจากเชื้อไวรัส (Canine viral Enteritis)
พบมากในสุนัขอายุ 2 - 6 เดือน
สาเหตุ
เกิดจากเชื้อไวรัส Parvovirus , Coronavirus
อาการ
หลังจากรับเชื้อเข้าไป 7 - 10 วัน สุนัขจะเริ่มอาเจียนบ่อย มีไข้สูงต่ำสลับกัน เบื่ออาหาร ซึม อุจจาระเหลว ท้องร่วงอย่างรุนแรง อุจจาระเป็นน้ำ สีน้ำตาล หรือปนแดง กลิ่นเหม็นมาก ช็อคจากการสูญเสียน้ำ เลือด และ พลังงาน ลูกสุนัขจะเสียชีวิตอย่างรวดเร็วเนื่องมาจาก เชื้อไวรัสทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
การติดต่อ
ทางการสัมผัส หรือติดเชื้อจากอุจจาระของสุนัขที่ป่วย ไม่มียารักษาโดยตรง ต้องให้ยาช่วยตามอาการ แก้ไขภาวะขาดน้ำ ลดอาการแทรกซ้อน
การป้องกัน
ฉีดวัคซีนตั้งแต่อายุ 2 เดือน และฉีดซ้ำหลังจากครั้งแรก 1 เดือน หลังจากนั้นฉีดทุกๆปี ปีละครั้ง
โรคตับอักเสบติดต่อ (Infectious Hepatitis)
พบในสุนัขทุกวัย พบบ่อยในสุนัขอายุไม่เกิน 1 ปี
สาเหตุ
เกิดจากเชื้อไวรัส Canine adenovirus type 2
อาการ
ไข้สูง เบื่ออาหาร ซึม ท้องเสีย เยื่อเมือกต่างๆซีด มีจุดเลือดออกตามตัว ต่อมน้ำเหลืองบวม ต่อมทอนซิลขยายใหญ่ บวมน้ำใต้ผิวหนัง โดยเฉพาะบริเวณลำคอ กระจกตาขุ่น ในรายที่เป็นรุนแรง อาจตายภายใน 24 - 72 ชั่วโมง
การติดต่อ
ทางน้ำลาย และการสัมผัสกับสิ่งขับถ่าย เช่น ปัสสาวะ อุจจาระ
การรักษา
ไม่มียารักษา ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของสุนัข และความรุนแรงของเชื้อ
การป้องกัน
ฉีดวัคซีนตั้งแต่อายุ 2 เดือน ฉีดซ้ำครั้งที่ 2 หลังจากครั้งแรก 1 เดือน และฉีดซ้ำทุกๆปี ปีละครั้ง
เลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis)
พบในสุนัขทุกวัย และสามารถติดต่อถึงคนได้
สาเหตุ
เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Leptospira canicola , L. icterohaemorrhagiae
อาการ
ไข้สูง เบื่ออาหาร ซึม อาเจียน หายใจขัด กระหายน้ำ ตัวเหลือง ขาหลังสั่น และเกร็ง ไม่ยอมลุกเดินไปไหน เยื่อบุช่องปากอาจมีจุดเลือดออก ตายภายใน 5 - 10 วัน หลังจากแสดงอาการ
การติดต่อ
เชื้อปนเปื้อนกับปัสสาวะของสัตว์ป่วย มีหนูเป็นตัวนำโรค
การรักษา
ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของเชื้อ และการวินิจฉัยได้อย่างรวดเร็ว
การป้องกัน
ฉีดวัคซีนตั้งแต่อายุ 2 เดือน ฉีดซ้ำครั้งที่ 2 หลังจากครั้งแรก 1 เดือน และฉีดซ้ำทุกๆปี ปีละครั้ง
โรคหลอดลมอักเสบ (Kennel Cough)
พบมากในสุนัขอายุเดือนครึ่งถึง 6 เดือน
สาเหตุ
เกิดจากเชื้อไวรัส Canine Adenovirus type 1 และ Canine Parainfluenze Virus หรือเชื้อแบคทีเรีย Bordetella bronchiseptica
อาการ
ไอแห้งๆ เป็นเวลานาน เบื่ออาหาร มีไข้ ปอดบวม โอกาสเสียชีวิตด้วยโรคนี้น้อย แต่ต้องระวังไม่ให้ติดเชื้อแทรกซ้อน อาการอาจจะรุนแรงในลูกสุนัข
การติดต่อ
ทางระบบการหายใจ จากละอองน้ำมูก น้ำลาย ที่สุนัขป่วยไอออกมา
การรักษา
ส่วนใหญ่จะประสบความสำเร็จ ต้องรักษาตามอาการ เช่นให้ยา antibiotic แก้ไอ ลดน้ำมูก ลดไข้ เป็นต้น
การป้องกัน
ทำวัคซีนตั้งแต่อายุ 1 เดือน ซ้ำครั้งที่ 2 หลังจากครั้งแรก 2 - 3 อาทิตย์ วัคซีนมักเป็นลักษณะ หยอดจมุก
โรคพิษสุนัขบ้า (Rabies)
จัดเป็นโรคติดต่อร้ายแรง เป็นได้ทุกฤดูกาล ไม่เฉพาะแต่หน้าร้อน และสามารถติดต่อไปถึง สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด รวมทั้งคนด้วย
สาเหตุ
เกิดจากเชื้อไวรัส Rhabdo Virus
อาการ
แบ่งเป็น 2 แบบ คือแบบดุร้าย กับแบบเซื่องซึม
- แบบดุร้าย สุนัขจะวิ่งตัวแข็งทื่อ กัดทุกอย่างที่ขวางหน้า ตาวาว ขากรรไกรแข็ง ลิ้นห้อย น้ำลายไหลยืด ไม่สามารถกินน้ำ หรืออาหารได้
- แบบเซื่องซึม สุนัขจะหลบซ่อนตัวตามที่มืดในบ้าน ไม่กินน้ำหรืออาหาร อาจมีการขู่ หรือกัดเมื่อโดนรบกวน ขากรรไกรแข็ง ลิ้นห้อย น้ำลายไหลยืด
การติดต่อ
ทางน้ำลาย และบาดแผลจากการกัด
การรักษา
ไม่มีวิธีรักษา สุนัขที่รับเชื้อนี้จะตายภายในระยะเวลาไม่นาน แนะนำให้กำจัดสุนัขตัวนั้น เนื่องจากเป็นโรคติดต่อสู่คนได้
การป้องกัน
ฉีดวัคซีนตั้งแต่อายุ 3 เดือน ฉีดซ้ำทุกปี