การแบ่งรุ่นเข้าร่วมกิจกรรมลากน้ำหนัก
กติกา Update 1 ธันวาคม 2565
กติกาการแข่งขันลากน้ำหนัก
แจ้งสมาชิก UDC ทุกท่านทราบอัปเดทการจัดรุ่นการแข่งขันและการเก็บแชมป์เปี้ยน UDC
UDC Weight Pulling Championship ธันวาคม 2565
จุดประสงค์หลักในการจัดการแข่งขันลากน้ำหนักของชมรม UDC
- เพื่อให้สุนัขได้ออกกำลังกาย และมีสุขภาพที่แข็งแรง
- เพื่อให้ผู้เลี้ยงสุนัข พิทบูลและบูลลี่ ได้ทำกิจกรรมร่วมกับสุนัข
- เพื่อให้สมาชิกทุกคนได้แลกเปลี่ยนความรู้ และวิธีการเลี้ยงสุนัขสายพันธุ์ดุ
* สุนัขที่ได้อันดับ 1 ของแต่ละรุ่น จะต้องลากน้ำหนักได้ มากกว่า รุ่นที่มีน้ำหนักน้อยกว่า *
ในรุ่นที่มีสุนัขลงแข่งขันน้อยกว่า 3 ตัว สุนัขที่ได้อันดับที่1 ของรุ่นนั้น จะต้องลากน้ำหนักได้มากกว่ารุ่นที่มีน้ำหนักน้อยกว่า สุนัขเก็บคะแนนแชมป์จะต้องลากน้ำหนักมากกว่ารุ่นที่มีน้ำหนักที่น้อยกว่า สุนัขที่เก็บคะแนนแชมป์และเป็นอันดับที่ 1 ในรุ่น แต่ลากน้ำหนักได้น้อยกว่า รุ่นที่มีน้ำหนักน้อยกว่า จะถูก ตัดสิทธิไม่ได้นับคะแนนในสนามนั้น แต่ไม่เสียสิทธิในการนับสนามเพื่อเป็นแชมป์ของ UDC
* การแข่งขันจะใช้วิธีการแข่งขันให้จบที่ละรุ่น โดยเริ่มจากที่น้ำหนักตัวน้อยที่ก่อน *
รางวัลพิเศษ
- Best In Show
- Max Weight
- Group of Death รางวัลสำหรับสุนัขที่ได้ที่ 1 ในรุ่นที่มีสุนัขเข้าร่วมแข่งขันจำนวนมากที่สุด กรณีที่มีจำนวนสุนัขเข้าแข่งขันจำนวนเท่ากันหลายรุ่น รุ่นที่น้ำหนักน้อยที่สุดจะได้รางวัลนี้
ตำแหน่งChampionของชมรม UDC
- Champion คือสุนัขที่ได้รางวัลชนะเลิศ 3 สนามติดต่อกัน
- Grand Champion คือสุนัขที่ได้รางวัลชนะเลิศ 5 สนามติดต่อกัน
- Double Grand Champion คือสุนัขที่ได้รางวัลชนะเลิศ 7 สนามติดต่อกัน
- Triple Grand Champion คือสุนัขที่ได้รางวัลชนะเลิศ 9 สนามติดต่อกัน
- Hall of Flame All Time Champion คือสุนัขที่ได้รางวัลชนะเลิศ 11 สนามติดต่อกัน
*หมายเหตุ
หากสุนัขที่กำลังเก็บแชมป์เปี้ยน มีการบาดเจ็บ เจ็บป่วย เป็นฮีท ต้องแจ้งกับทางชมรมก่อนถึงวันแข่งขัน 1 เดือน
พร้อมแนบเอกสารดังนี้
1. ใบรับรองแพทย์
2. ฟิล์มเอ็กซเรย์
3. รูปถ่ายสุนัขขณะพบแพทย์
กฎกติกาการแข่งขันลากน้ำหนัก ปรับปรุง มิถุนายน 2565
- แฮนด์เลอร์จะต้องนำสุนัขที่จะทำการแข่งขันมาลงทะเบียน+ชั่งน้ำหนักตามเวลาที่กำหนด แฮนด์เลอร์จะต้องแจ้งชื่อสุนัขตัวที่ทำการชั่งให้ถูกต้อง ชัดเจน
- หลังจากที่กรรมการสนามจัดเรียงน้ำหนักสุนัขทั้งหมดเรียบร้อยแล้ว แฮนด์เลอร์จะได้รับหมายเลขและคูปองลงน้ำหนักจำนวน 4 ใบ เพื่อรักษาสิทธิ์ในการลากของตน แฮนด์เลอร์จะต้องเรียงลำดับการส่งคูปองให้ถูกต้องตามรอบที่ตนเองลาก หากส่งคูปองผิดถือเป็นการข้ามรอบการลาก แฮนด์เลอร์ท่านใดทำคูปองหายจะไม่มีการออกคูปองให้ใหม่
- แฮนด์เลอร์สามารถมีผู้ช่วยได้ 1 ท่าน
- เมื่อนำสุนัขเข้าประจำที่ ชุดลากถูกล็อคเข้ากับรถเรียบร้อยแล้ว เจ้าหน้าที่จะนับ 1 2 3 และกดเวลา เมื่อแฮนด์เลอร์ปล่อยมือจากตัวสุนัขแล้ว ถือเป็นการเริ่มลาก หากแฮนด์เลอร์ถูกตัวสุนัขไม่ว่าจะกรณีใดก็ตาม ถือเป็นการฟาล์ว และจะถูกตัดออกจากการแข่งขันในการลากรอบต่อไป
- การปล่อยตัวสุนัข เป็นเทคนิคเฉพาะตัว ห้ามดึงคอสุนัขหรือดึงชุดลากช่วย ห้ามกระทำการใดๆที่แสดงให้เห็นถึงการทารุณสุนัข หรือเจตนาที่จะเอาเปรียบคู่ต่อสู้ โดยให้อยู่ในดุลพินิจของกรรมการ หากรถลากมีการเคลื่อนที่แล้วแฮนด์เลอร์ยังไม่ปล่อยมือจากตัวสุนัข กรรมการจะถือเป็นการฟาล์ว และไม่สามารถลงแข่งในรอบต่อไปได้
- ในกรณีที่สุนัขหมุนตัว เดินลงราง หรือขาคร่อมสายลาก แฮนด์เลอร์จะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของสุนัขเป็นสำคัญหากกรรมการพิจารณาแล้วว่าอาจก่อให้เกิดอันตรายกับสุนัข กรรมการสามารถสั่งยุติการลากทันที
- หากแฮนด์เลอร์ท่านใดเกิดข้อสงสัย หรือสังเกตเห็นความผิดปกติในสนาม ควรสอบถามกรรมการทันที (หากมีสุนัขกำลังทำการแข่งขันอยู่กรุณาให้เกียรติแฮนด์เลอร์ท่านนั้นให้ลากจนเสร็จสิ้นก่อน)
- แฮนด์เลอร์ทุกท่านจะต้องเตรียมความพร้อม วางแผนเรียกน้ำหนักเองตามความเหมาะสมและขอให้พึงระลึกอยู่เสมอว่า “การวางแผนก่อนการลงแข่ง เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของตัวท่านเอง” กรณีที่ท่านมีสุนัขหลายตัว หรือส่งสุนัขมากกว่า 1 ตัวแต่ลงแข่งน้ำหนักเดียวกัน ท่านควรมีผู้ช่วยนำสุนัขมาลงสนาม และเมื่อลากเสร็จแล้ว ผู้ช่วยจะต้องมารับสุนัขออกจากสนาม
- การปล่อยให้สุนัข ขับถ่ายในสนาม ถือเป็นความเลินเล่ออย่างร้ายแรง สุนัขตัวนั้นจะถูกตัดสิทธิ์จากการแข่งขันทันที
- หากกรรมการประกาศเรียกแล้วท่านไม่นำสุนัขมาลงสนาม จะถือว่าท่านสละการใช้สิทธิ์ในคูปองใบนั้น
- กรรมการเป็นผู้พิจารณาชี้ขาด และคำตัดสินของกรรมการถือเป็นข้อยุติ
ขอบคุณสำหรับคำแนะนำและแสดงความคิดเห็นของสมาชิกทุกท่านค่ะ