เห็บหมัด กับโรคพยาธิเม็ดเลือดในสุนัข

โดย Pitbull Zone UPDATE 17-4-2564

เอฟวัน   สวัสดีค่ะ

คนเลี้ยงสุนัขทุกคนจะต้องเคยประสบพบเจอกับปัญหาโลกแตกอย่างเห็บหมัดในสุนัขมาดูดเลือดสุนัขของเราบ่อยๆ เจ้าของสุนัขที่มีเวลาดูแลเอาใจใส่สุนัขหมาก็จะพยายามหาวิธีกำจัดเจ้าเห็บหมัดที่มาดูดเลือดสุนัขออกไป แต่เจ้าของสุนัขที่ไม่เห็นความสำคัญของเรื่องนี้หรือไม่มีเวลาดูแลสุนัก มักจะปล่อยปะละเลย ไม่ได้หมั่นตรวจตราเรื่องนี้ ซึ่งหากสุนัขมีเห็บหมัดมาเกาะหรือดูดเลือด อาจจะส่งผลให้สุนัขเสียชีวิตก่อนวัยอันควรได้เลยทีเดียวนะคะ วันนี่ครูโจอี้จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับหนึ่งในโรคที่เกี่ยวข้องกับเห็บหมัดที่มาเกาะสุนัขของเรา นั่นก็คือ โรคพยาธิเม็ดเลือดในสุนัขนั่นเองค่ะ


เห็บหมัด กับ พยาธิเม็ดเลือดในสุนัข     

ปกติเห็บหมัดในสุนัขมีทั้งเห็บตัวผู้และเห็บตัวเมีย โดยเห็บที่โตเต็มวัยมี 8 ขา มีขนาดยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร และเห็บไม่มีหัว แต่มีส่วนปากยื่นออกมาให้เห็นเท่านั้น โดยเห็บจะใช้ส่วนปากของมันแทงเข้าไปใต้ผิวหนังเพื่อยึดเกาะบนตัวสุนัขและดูดกินเลือดของสุนัขเป็นอาหาร เมื่อเห็บตัวเมียได้รับการผสมพันธุ์จากเห็บตัวผู้ เห็บตัวเมียจะทำการดูดเลือดสุนัขจนตัวเป่ง (เห็บที่ขยายตัวโตเต็มที่อาจมีขนาดใหญ่ถึง 12 มิลลิเมตร) และเมื่อพร้อมวางไข่ เห็บตัวเมียจะถอดปากที่ยึดเกาะกับตัวสุนัขออกเพื่อไปหาที่วางไข่ หลังจากวางไข่เสร็จแล้วเห็บตัวเมียก็จะตาย เห็บรุ่นลูกที่เติบโตขึ้นก็จะกลับไปฝังตัวอยู่บนตัวสุนัขต่อไป วนเวียนแบบนี้ไปเรื่อยๆเป็นวัฎจักร

วงจรชีวิตของเห็บเหล่านี้นี่แหละค่ะที่ทำให้สุนัขของคุณมีโอาสเสียชีวิตได้ก่อนวันอันควร เพราะการที่เห็บจำนวนมากดูดเดือดสุนัขไป ทำให้สุนัขของคุณสูญเสียเลือดอย่างเรื้อรัง จนอาจทำให้เกิดสภาวะโลหิตจางได้ และที่สำคัญ เจ้าเห็บหมัดพวกนี้นี่เองที่เป็นพาหะทำให้สุนัขเกิดการติดเชื้อพยาธิในเม็ดเลือด หรือที่เราเรียกกันว่า โรคพยาธิเม็ดเลือดในสุนัขหรือ โรคไข้เห็บ นั่นเองค่ะ


อาการของโรคพยาธิเม็ดเลือดในสุนัข       

สุนัขที่ติดเชื้อโรคพยาธิเม็ดเลือดในสุนัข หรือ โรคไข้เห็บ จะแสดงอาการป่วยชนิดเฉียบพลันหรือเรื้อรัง โดยระยะฟักตัวของโรคและความรุนแรงของอาการในสุนัขแต่ละตัวจะแตกต่างกันตามชนิดของเชื้อ ปริมาณเชื้อที่มีในกระแสเลือด ภูมิต้านทาน การเลี้ยงดู รวมถึงช่วงอายุของสุนัข ซึ่งอาการป่วยของโรคพยาธิเม็ดเลือดในสุนัขหรือ โรคไข้เห็บเป็นโรคสังเกตอาการป่วยได้ยาก

การวินิจฉัยโรคพยาธิในเม็ดเลือดในสุนัข ทำได้โดยดูอาการทางคลินิกร่วมกับผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ ซึ่งอาการทางคลินิกของสุนัขที่ป่วยเป็นโรคพยาธิในเม็ดเลือดนั้นจะมีอาการคล้าย ๆ กัน คือ มีอาการไข้สูง, เซื่องซึม เบื่ออาหาร, เยื่อเมือกซีด, อาเจียน, น้ำหนักลด, เสียงปอดชื้น ในกรณีที่มีอาการแบบเฉียบพลัน สุนัขอาจจะมีไข้สูง เซื่องซึม เบื่ออาหาร มีอาการทางประสาท เช่น ชัก เกร็ง และอาจเสียชีวิตได้ภายใน 1-3 วัน


     


การรักษาโรคพยาธิเม็ดเลือดในสุนัข     

หากสัตว์แพทย์วินิฉัยและพบว่าสุนัขเป็นโรคพยาธิเม็ดเลือดในสุนัข หรือ โรคไข้เห็บ จะทำการรักษาตามอาการโดยการให้ยาฆ่าพยาธิในเม็ดเลือด เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 3-4 สัปดาห์ ร่วมกับตรวจเลือดเพื่อประเมินค่าเม็ดเลือดแดงและเกล็ดเลือดเป็นระยะ และต้องติดตามผลต่ออีก 6 เดือน ถึง 1 ปี


มากกว่าการรักษาคือการป้องกันโรคพยาธิเม็ดเลือดในสุนัข    


กรณีที่สุนัขแสดงอาการแบบเรื้อรัง คุณอาจจะมีพอมีเวลารักษา แต่ในกรณีที่สุนัขของคุณแสดงอาการของโรคพยาธิเม็ดเลือดในสุนัขแบบเฉียบพลัน น้อยครั้งที่สัตวแพทย์จะสามารถยื้อชีวิตของสุนัขไว้ได้ ฉะนั้นแล้วครูโจอี้คิดว่า เราอย่าปล่อยให้สุนัขของเราไปถึงขั้นของการแสดงอาการเลยดีกว่าค่ะ เพราะจริงๆแล้วเราทุกคนรู้แล้วว่า พาหะของโรคพยาธิเม็ดเลือดในสุนัขก็คือเจ้าเห็บหมัดตัวดีนี่เอง หากเราป้องกันสุนัขของเราจากเห็บหมัดได้ โอกาสที่สุนัขของเราจะเป็นโรคต่างๆที่เกิดจากเห็บหมัดก็จะลดน้อยลงไปด้วย นอกจากนี้ เรายังสามารถตรวจเช็คอาการของสุนัขว่าเสี่ยงที่จะเป็นโรคพยาธิเม็ดเลือดในสุนัขหรือไม่โดยการพาสุนัขไปตรวจเลือดเป็นประจำ ก็ถือเป็นการป้องกันอีกทางหนึ่งนะคะ

ขอบคุณข้อมูลจาก  คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์      และ    https://www.jojohouse.com/     


อาหารสุนัขเอฟวัน       ID Line f1extreme        Facebook  Dod food    
 


       




 

สาระน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง